เทศบาลตำบลเวียงสา

เทศบาลตำบลในจังหวัดน่าน ประเทศไทย

เวียงสา เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเภทเทศบาลตำบล ซึ่งมีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของหมู่ที่ 3–4 ตำบลกลางเวียง ในอำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน เดิมมีฐานะเป็นสุขาภิบาลกลางเวียงที่จัดตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2498[2] แล้วได้รับการจัดตั้งเป็นเทศบาลตำบลใน พ.ศ. 2542[3]

เทศบาลตำบลเวียงสา
วัดบุญยืน
ทต.เวียงสาตั้งอยู่ในจังหวัดน่าน
ทต.เวียงสา
ทต.เวียงสา
ที่ตั้งสำนักงานเทศบาลตำบลเวียงสา
พิกัด: 18°34′14.4″N 100°45′04.4″E / 18.570667°N 100.751222°E / 18.570667; 100.751222พิกัดภูมิศาสตร์: 18°34′14.4″N 100°45′04.4″E / 18.570667°N 100.751222°E / 18.570667; 100.751222
ประเทศ ไทย
จังหวัดน่าน
อำเภอเวียงสา
พื้นที่
 • ทั้งหมด1.01 ตร.กม. (0.39 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2565)[1]
 • ทั้งหมด2,769 คน
 • ความหนาแน่น2,741.58 คน/ตร.กม. (7,100.7 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.05550701
ที่อยู่
สำนักงาน
เลขที่ 636 หมู่ 4 ถนนเจ้าฟ้า ตำบลกลางเวียง อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน 55110
เว็บไซต์www.wiangsa.com
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ในวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2549 กระทรวงมหาดไทยให้เปลี่ยนแปลงชื่อเทศบาลตำบลกลางเวียง อำเภอเวียงสา เป็น เทศบาลตำบลเวียงสา[4] เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนกับชื่อขององค์การบริหารบริหารส่วนตำบลกลางเวียงที่อยู่ในเขตตำบลเดียวกัน เพื่อความเหมาะสมและสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของประชาชนในเขตเทศบาล อีกทั้งยังเปลี่ยนชื่อเพื่อให้ชื่อเทศบาลตรงกับชื่อของท้องที่ตั้งอำเภอตามสภาพความเป็นจริง

พื้นที่เทศบาลเป็นศูนย์กลางของอำเภอเวียงสา อยู่ห่างจากที่ศาลากลางจังหวัดน่านประมาณ 30.1 กิโลเมตร อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 646 กิโลเมตร มีพื้นที่รับผิดชอบ 1.01 ตารางกิโลเมตร หรือคิดเป็นพื้นที่ประมาณ 631.25 ไร่ ปัจจุบันในเขตเทศบาลมีประชากร 2,769 คน แบ่งเป็นประชากรในเขตหมู่ 3 บ้านกลางเวียง 1,305 คนและเขตหมู่ 4 บ้านบุญยืน 1,464 คน ชุมชนหนาแน่นบริเวณทางหลวงแผ่นดินตัดผ่าน คือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1026 (ถนนสา–นาน้อย) และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101 (ถนนยันตรกิจโกศล) เป็นย่านการค้าขายและเป็นย่านชุมชนหนาแน่นตลอดสองข้างทาง

อ้างอิง แก้

  1. ประชากรในเขตท้องถิ่นเทศบาลตำบลเวียงสา อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน พ.ศ. 2565 โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
  2. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลกลางเวียง อำเภอสา จังหวัดน่าน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 72 (74 ง): (ฉบับพิเศษ) 82–83. วันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2498
  3. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4 – โดยทาง ให้บรรดาสุขาภิบาลตามกฎหมายว่าด้วยสุขาภิบาลที่มีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีฐานะเป็นเทศบาลตำบลตามกฎหมายว่าด้วยเทศบาลในพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ. วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542
  4. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่อเทศบาล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 123 (-): 1.[ลิงก์เสีย] วันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2549

แหล่งข้อมูลอื่น แก้