เทศบาลตำบลปากนคร

เทศบาลตำบลในจังหวัดนครศรีธรรมราช ประเทศไทย

ปากนคร เป็นเทศบาลตำบลที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช ห่างจากตัวเมืองนครศรีธรรมราช 9 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 1.902 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 1,189 ไร่ครอบคลุม 2 ตำบล 3 หมู่บ้าน คือ พื้นที่หมู่ที่ 1 และบางส่วนของหมู่ที่ 6 ตำบลปากนคร และพื้นที่หมู่ที่ 4 ตำบลท่าไร่

เทศบาลตำบลปากนคร
ตราอย่างเป็นทางการของเทศบาลตำบลปากนคร
ตรา
คำขวัญ: 
ปากนครเมืองที่สภาพแวดล้อมสะอาด  ปราศจากมลพิษ เศรษฐกิจชุมชนเข้มแข็ง มีแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงาม
ทต.ปากนครตั้งอยู่ในจังหวัดนครศรีธรรมราช
ทต.ปากนคร
ทต.ปากนคร
พิกัด: 8°28′13″N 100°2′48″E / 8.47028°N 100.04667°E / 8.47028; 100.04667
ประเทศ ไทย
จังหวัดนครศรีธรรมราช
อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีปรีชา แก้วกระจ่าง
พื้นที่
 • ทั้งหมด1.902 ตร.กม. (0.734 ตร.ไมล์)
ประชากร
 • ทั้งหมด6,321 คน
 • ความหนาแน่น3,323.34 คน/ตร.กม. (8,607.4 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.05800108
ที่อยู่
สำนักงาน
สำนักงานเทศบาลตำบลปากนคร
ถนนปากนคร หมู่ที่ 1 ตำบลปากนคร อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช 80000
โทรศัพท์0 7535 7909
เว็บไซต์www.paknakhoncity.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ประวัติ แก้

บ้านปากนครเดิมนั้น ตามประวัติศาสตร์ในสมัยโบราณ ที่มีผู้บอกกล่าวเล่าตามความเป็นมานั้น เขาเรียกกันว่า “บ้านทับเคย” ประชากรส่วนใหญ่ในอดีตนั้นประกอบอาชีพประมง เช่น ยอปีก วางอวน ดักซั่ง ราวเบ็ด เป็นต้น สาเหตุที่เรียกว่าบ้านทับเคยนั้น ก็คือมีการนำเอาลูกกุ้งตัวเล็กที่จับมาผสมกับเกลือ คนให้เข้ากันนำมาตากแดดให้แห้งแล้วนำมาบด ซึ่งตามภาษาในสมัยโบราณจะเรียกว่า “เชเคย” โดยการใช้ครกที่ทำด้วยไม้ขนาดใหญ่แล้วมีสาก ลักษณะคล้ายกับกระบอกใช้ตำหรือเชกุ้งตัวเล็กๆ ที่ผสมไว้นั้นให้ละเอียด จึงเรียกว่าการ “เชเคย” ในสมัยต่อมาใช้เครื่องบด จึงเปลี่ยนมารียกว่า “บดเคย” เมื่อมีประชากรเข้ามาอาศัยอยู่เพิ่มมากขึ้น จึงตั้งเป็นหมู่บ้าน และใช้ชื่อว่า “บ้านปากน้ำปากนคร” ซึ่งตั้งอยู่บริเวณหมู่ที่ 1 ต.ปากนคร อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช จากเหตุการณ์ที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ว่าลุ่มน้ำปากนครสายนี้ตลอดจนบ้านทับเคยหรือบ้านปากนคร มีความเป็นมาทางประวัติศาสตร์อันยาวนาน ที่พวกเราควรศึกษาเรียนรู้ถึงความเป็นมา และต่อมาได้มีการปกครองแบบสภาท้องถิ่น เรียกว่า “สุขาภิบาลปากนคร” ต่อมาได้ยกฐานะเป็น “เทศบาลตำบลปากนคร” เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ตามพระราชบัญญัติการเปลี่ยนแปลงฐานะสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. 2542 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2542

สภาพทั่วไป แก้

ลักษณะภูมิประเทศ สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่ของเทศบาลตำบลปากนคร เป็นพื้นที่ราบลุ่มและป่าชายเลน มีคลองปากนครกั้นกลางระหว่างหมู่ที่ 1 ตำบลปากนคร กับหมู่ที่ 4 ตำบลท่าไร่ มีคลองเล็กๆ ระบายน้ำลงสู่คลองปากนครอีกหลายสายและพื้นที่บางส่วนติดกับทะเลอ่าวไทย สภาพพื้นที่ของเทศบาลตำบลปากนคร จะมีสภาพภูมิอากาศค่อนข้างร้อน ในระหว่างเดือน มกราคม – พฤษภาคม ซึ่งเป็นฤดูร้อน โดยมีอุณหภูมิเฉลี่ย 26 – 28 องศาเซลเซียส และมีฤดูฝนระหว่างเดือน กรกฎาคม – ธันวาคม ของทุกปี

อาณาเขตติดต่อ แก้

เทศบาลตำบลปากนคร ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกขอตัวเมืองนครศรีธรรมราช

ชุมชน แก้

เทศบาลตำบลปากนครประกอบด้วยชุมชน 13 ชุมชน

  1. ชุมชนหัวถนน
  2. ชุมชนบางหัวแตก
  3. ชุมชนบางลุงสง
  4. ชุมชนบางลุงต้ม
  5. ชุมชนบางบางรังนก
  6. ชุมชนบางตาจุ้ย
  7. ชุมชนชายทะเล
  8. ชุมชนคลองขุด
  9. ชุมชนบางตาจันทร์
  10. ชุมชนสุวรรณวัตร
  11. ชุมชนบางหน้าบ้าน
  12. ชุมชนอนามัย
  13. ชุมชนสันติสุข

สาธารณสุข แก้

  • สถานีอนามัยวัดมุขธารา
  • สถานีอนามัยปากนคร

สถานศึกษา แก้

  • โรงเรียนวัดมุขธารา
  • โรงเรียนวัดนารีประดิษฐ์

วัด แก้

จำนวนวัดในเขตเทศบาลตำบลปากนคร มีทั้งหมด 2 วัด คือ

  • วัดมุขธารา
  • วัดนารีประดิษฐ์

สถานที่สำคัญ แก้

  • สถานีตำรวจภูธรตำบลปากนคร
  • สำนักงานพัฒนาลุ่มน้ำปากพนัง สาขาปากนคร

แหล่งข้อมูลอื่น แก้