เทศบาลตำบลปรางค์กู่

เทศบาลตำบลในจังหวัดศรีสะเกษ ประเทศไทย

เทศบาลตำบลปรางค์กู่ เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเภทเทศบาลตำบล ขนาดเล็ก [2] อยู่ในเขตพื้นที่อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ สำนักงานตั้งอยู่ถนนวัชรพล 3 หมู่ที่ 4 ตำบลพิมาย อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ เป็น 1 ในจำนวนเทศบาลตำบล 23 แห่งในปัจจุบันของจังหวัดศรีสะเกษ เขตเทศบาลตั้งอยู่ในบริเวณตอนกลาง ด้านตะวันตกของจังหวัดศรีสะเกษ ห่างจากตัวจังหวัดไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้โดยทางรถยนต์ประมาณ 60 กิโลเมตร เป็นที่ตั้งของที่ว่าการอำเภอและหน่วยงานการบริหารราชการระดับภูมิภาคอื่นๆ ของอำเภอปรางค์กู่ รวมทั้งเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การคมนาคมขนส่ง และการสื่อสารของอำเภอ

เทศบาลตำบลปรางค์กู่
สำนักงานเทศบาลตำบลปรางค์กู่
สำนักงานเทศบาลตำบลปรางค์กู่
ตราอย่างเป็นทางการของเทศบาลตำบลปรางค์กู่
ตรา
ประเทศ ไทย
จังหวัดศรีสะเกษ
อำเภอปรางค์กู่
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีชวาลย์ ทองสังข์
พื้นที่
 • ทั้งหมด2.82 ตร.กม. (1.09 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2554)[1]
 • ทั้งหมด2,848 คน
 • ความหนาแน่น1,009.92 คน/ตร.กม. (2,615.7 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.05330701
ที่อยู่
สำนักงาน
สำนักงานเทศบาลตำบลปรางค์กู่ ตั้งอยู่ ถนนวัชรพล 3 หมู่ที่ 4 ตำบลพิมาย อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ 33170
โทรศัพท์0 4569 7381
โทรสาร0 4569 7265
เว็บไซต์www.prangkucity.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ประวัติ แก้

เทศบาลตำบลปรางค์กู่ เดิมมีฐานะเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบสุขาภิบาลมาก่อน ชื่อ"สุขาภิบาลปรางค์กู่" ต่อมามีพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พุทธศักราช 2542 จัดตั้งเทศบาลตำบลทั่วประเทศ เป็นผลให้"สุขาภิบาลปรางค์กู่" เปลี่ยนแปลงฐานะเป็น"เทศบาลตำบลปรางค์กู่" ตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2542เป็นต้นมา [3] ในปัจจุบันเทศบาลตำบลปรางค์กู่มีอาคารสำนักงานเป็นของตนเองแยกออกมาจากที่ว่าการอำเภอ เพื่อให้ประชาชนในเขตเทศบาลมาติดต่อราชการและขอรับบริการด้านต่างๆ ได้สะดวก

ภูมิศาสตร์ แก้

เขตเทศบาลตำบลปรางค์กู่เป็นพื้นที่ราบลุ่ม ไม่มีภูเขาพื้นดินส่วนใหญ่เหมาะแก่การทำนา ลักษณะดินเป็นดินปนทราย ไม่มีแม่น้ำไหลผ่านมีเพียงลำห้วยสาขาของแม่น้ำมูล และ หนองเท่านั้น ลำห้วยที่สำคัญคือ "ลำห้วยสำราญ" เป็นลำห้วยที่สำคัญที่สุดของอำเภอ ไหลจากท้องที่อำเภอขุขันธ์ เข้าสู่อำเภอปรางค์กู่, "ลำห้วยฆ้อง" เป็นลำห้วยที่ไหลมาจากท้องที่อำเภอขุขันธ์สู่อำเภอปรางค์กู่ที่บ้านกอกหวาน ตำบลโพธิ์ศรี ผ่านตำบลพิมาย ตำบลตูม เป็นลำห้วยที่ไหลผ่านใจกลางของอำเภอปรางค์กู่และเขตเทศบาลตำบลปรางค์กู่

อาณาเขต แก้

ครอบคลุมบางส่วนของตำบลพิมาย และบางส่วนของตำบลพิมายเหนือ ของอำเภอปรางค์กู่ โดยมีอาณาเขตติดต่อกับท้องที่ต่าง ๆ ดังนี้

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลพิมายเหนือ อำเภอปรางค์กู่
  • ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลตำบลพิมาย อำเภอปรางค์กู่
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลพิมาย อำเภอปรางค์กู่
  • ทิศตะวันตกติดต่อกับตำบลพิมาย อำเภอปรางค์กู่

การปกครอง แก้

 
สำนักงานเทศบาลตำบลปรางค์กู่
  • ฝ่ายบริหาร ได้แก่ คณะเทศมนตรี ประกอบด้วยนายกเทศมนตรี 1 คน (ปัจจุบันคือ นายชิษณุพงศ์ รตนะกมลเศรษฐ์ ), รองนายกเทศมนตรี 2 คน
  • ฝ่ายนิติบัญญัติ (ควบคุมฝ่ายบริหาร) ได้แก่ สภาเทศบาล และควบคุมฝ่ายบริหาร ประกอบด้วยสมาชิกสภาเทศบาลที่มาจากการเลือกตั้งจำนวน 12 คน ดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี มีประธานสภา 1 คน, รองประธานสภา 1 คน
  • การปฏิบัติราชการ มีปลัดเทศบาล เป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานเทศบาลและพนักงานจ้างเทศบาล มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการควบคุมดูแลราชการประจำของเทศบาลให้เป็นไปตามนโยบาย ประกอบด้วยส่วนการบริหาร ดังนี้ สำนักงานปลัดเทศบาล กองการศึกษา กองคลัง กองช่าง กองวิชาการและแผนงาน กองสวัสดิการสังคม กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

ตราสัญลักษณ์ แก้

รูปปรางค์ 3 หลัง อยู่ภายในวงรี 2 ชั้น

กรอบวงรีวงนอก ครึ่งบนของกรอบวงรีนอกเขียนข้อความ "เทศบาลตำบลปรางค์กู่" ครึ่งล่างของกรอบวงรีเขียนข้อความ "จังหวัดศรีสะเกษ"

ปรางค์ 3 หลัง หมายถึง ปราสาทหินในท้องที่อำเภอปรางค์กู่ ที่สร้างขึ้นในสมัยขอม จำนวน 3 หลังติดต่อกัน ปัจจุบันยังคงเหลือให้เห็นอยู่ในสภาพเดิม ประชาชนเรียกว่า "ปรางค์กู่" ตั้งอยู่ที่ตำบลกู่ ห่างจากเขตเทศบาล และตัวอำเภอปรางค์กู่ ประมาณ 5 กิโลเมตร

ประชากรและกลุ่มชาติพันธุ์ แก้

ในเขตเทศบาลประกอบด้วยประชากร จำนวนทั้งสิ้น 2,848 คน จำแนกเป็นเพศชาย 1,381 คน เพศหญิง 1,467 คน มีครัวเรือนทั้งสิ้น 890 ครัวเรือน [4] กลุ่มชาติพันธุ์หลักดั้งเดิมในเขตเทศบาลได้แก่กลุ่มชาติพันธุ์ชาวเขมร ซึ่งพูดภาษาเขมรถิ่นไทย (เขมรสูงหรือขแมร์เลอ) และกลุ่มชาติพันธุ์ชาวกูย (หรือกวยหรือส่วย) ซึ่งพูดภาษากูย กลุ่มชาติพันธุ์รองคือกลุ่มชาติพันธุ์ชาวลาวซึ่งพูดภาษาลาว ซึ่งมีอยู่ในสัดส่วนที่น้อยกว่าชาวเขมรและชาวกูย [5]

เขตการปกครอง แก้

เขตการปกครองภายในพื้นที่เขตเทศบาลตำบลปรางค์กู่ 3 ชุมชน ครอบคลุมพื้นที่ต่างๆ ได้แก่

  • หมู่ที่ 1 ตำบลพิมาย (เต็มทั้งพื้นที่)
  • หมู่ที่ 4 ตำบลพิมาย (เต็มทั้งพื้นที่)
  • หมู่ที่ 5 ตำบลพิมาย (บางส่วน)
  • หมู่ที่ 4 ตำบลพิมายเหนือ (บางส่วน) [6]

โครงสร้างสังคม แก้

การศึกษา แก้

  • โรงเรียนประถมศึกษา 1 แห่ง
  • โรงเรียนมัธยมศึกษา 1 แห่ง

การศาสนาและวัฒนธรรมท้องถิ่น แก้

  • วัด / สำนักสงฆ์ 2 แห่ง
  • เทศกาลและงานประเพณีท้องถิ่นที่สำคัญ
    • เทศกาลปลาดุกเผาสะเดาหวาน ช่วงวันที่ 31 ธันวาคม - 2 มกราคม ของทุกปี บริเวณสนามหน้าที่ว่าการอำเภอปรางค์กู่
    • ประเพณีสงกรานต์ ช่วงวันที่ 13-15 เมษายน ของทุกปี บริเวณสนามหน้าที่ว่าการอำเภอปรางค์กู่
    • ประเพณีบุญพระเวส- เทศน์มหาชาติ ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ (วันสุดท้าย ถือว่าเป็นวันสำคัญที่สุดของการจัดงาน) ของทุกปี ณ วัดระกา
    • ประเพณีบุญบ้องไฟ ระหว่างวันที่ 6 -7 พฤษภาคม ของทุกปี วันที่ 6 เป็นวันแห่ ถือว่าเป็นวันสำคัญที่สุดของการจัดงาน ณ วัดระกา
    • ประเพณีเข้าพรรษา ใน แรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี ณ วัดระกา และวัดพิมาย
    • ประเพณีแซนโฎนตา หรือประเพณีการทำบุญวันสารทของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเขมร จัดในวัน ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 10 ของทุกปี ณ วัดระกา และ วัดพิมาย
    • ประเพณีลอยกระทง ในวัน ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ของทุกปี ณ เกาะกลางน้ำบ้านกู่

การแพทย์และสาธารณสุข แก้

ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน แก้

  • สถานีตำรวจ 1 แห่ง (สถานีตำรวจภูธรปรางค์กู่)
  • งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เทศบาลตำบลปรางค์กู่
    • รถดับเพลิง 1 คัน
    • รถยนต์บรรทุกน้ำ 1 คัน
    • รถกระเช้า 1 คัน
    • เครื่องดับเพลิงชนิดหาบหาม 30 เครื่อง

การดูแลสิ่งแวดล้อม แก้

อัตรากำลังและเครื่องมือเครื่องใช้ของเทศบาลในด้านสิ่งแวดล้อม มีรถเก็บขยะ 2 คัน

เศรษฐกิจ แก้

พื้นฐานหลักทางเศรษฐกิจ แก้

ประชากรในเขตเทศบาลตำบลห้วยทับทัน ร้อยละ 70 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 8 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 20 ประกอบอาชีพอื่นๆ โดยมีปรชากรว่างงานคิดเป็นร้อยละ 2 ประชาชนมีรายได้เฉลี่ย 41,000 บาท/คน/ปี พืชเศรษฐกิจของเกษตรกรในเขตเทศบาล ได้แก่ ข้าว มะม่วง กล้วย และพืชสวนครัว

หน่วยธุรกิจในเขตเทศบาล แก้

โครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภค แก้

การคมนาคมและขนส่ง แก้

  • สถานีขนส่งผู้โดยสารเทศบาลตำบลปรางค์กู่ 1 แห่ง
  • ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2167 (อำเภอปรางค์กู่-ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 220) เส้นทางดังกล่าวนี้เชื่อมระหว่างเขตเทศบาลตำบลปรางค์กู่ (ตัวอำเภอห้วยทับทัน) กับตัวจังหวัดศรีสะเก โดยทางรถยนต์ระยะทางประมาณ 60 กิโลเมตร และระหว่างเขตเทศบาลตำบลปรางค์กู่กับตัวอำเภอขุขันธ์ เป็นระยะทางประมาณ 40 กิโลเมตร ทั้งนี้ มีรถโดยสารประจำทางให้บริการคือในเส้นทางปรางค์กู่-ศรีสะเกษ
  • ถนนในความรับผิดชอบของเทศบาลมี ทั้งสิ้น 51 สาย
    • ถนนลาดยาง จำนวน 3 สาย ระยะทางรวม 3 กิโลเมตร
    • ถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก (ค.ส.ล.) จำนวน 24 สาย ระยะทางรวม 10.85 กิโลเมตร
    • ถนนลูกรัง จำนวน 1 สาย ระยะทางรวม 2.0 กิโลเมตร
    • ถนนดิน จำนวน 1 สาย ระยะทางรวม 0.85 กิโลเมตร
    • ถนนทางหลวงแผ่นดิน ที่โอนให้เทศบาลดูเล จำนวน 2 สาย ระยะทางรวม 3.20 กิโลเมตร

ระบบโทรคมนาคมและการสื่อสาร แก้

  • บ้านที่มีโทรศัพท์พื้นฐาน ใช้งาน 325 หลังคาเรือน (คิดเป็นร้อยละ 40 ของหลังคาเรือนทั้งหมดในเขตเทศบาล)
  • ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข 1 แห่ง (ไปรษณีย์ปรางค์กู่ 33170)
  • ตู้โทรศัพท์สาธารณะ 13 เครื่อง
  • ชุมสายโทรศัพท์ 1 ชุมสาย
  • สถานที่ให้บริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ต 8 แห่ง
  • พื้นที่รับสัญญาณเครื่องส่งวิทยุโทรทัศน์ (ไม่รวมสัญญาณจากจานดาวเทียมและเคบิ้ล) คิดเป็นร้อยละ 70 ของพื้นที่เขตเทศบาลทั้งหมด
  • พื้นที่รับสัญญาณเครื่องส่งวิทยุกระจายเสียง (ทั้งระบบ AM และ FM) คิดเป็นร้อยละ 80 ของพื้นที่เขตเทศบาลทั้งหมด

พลังงานไฟฟ้า แก้

  • ได้รับบริการจากสำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และสถานีไฟฟ้าจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิต ในเขตเทศบาลมีไฟฟ้าสาธารณะใช้ทั่วถึงครบทั้ง 7 ชุมชน
    • พื้นที่เขตเทศบาลที่ได้รับกระแสไฟฟ้า คิดเป็นร้อยละ 95 ของพื้นที่
    • ครัวเรือนที่มีไฟฟ้าใช้ 881 ครัวเรือน
    • ไฟฟ้าสาธารณะ 120 จุด

การประปาและแหล่งน้ำธรรมชาติ แก้

  • ห้วย หนอง คลอง บึง ธรรมชาติ 11 แห่ง
  • สำนักงานการประปา 1 แห่ง (การประปาเทศบาลตำบลปรางค์กู่)
    • ครัวเรือนในเขตเทศบาลที่มีน้ำประปาใช้ 890 ครัวเรือน (คิดเป็นร้อยละ 100)
    • ปริมาณการผลิตน้ำประปา 6,000 ลูกบาศก์เมตร/วัน
    • ปริมาณการใช้น้ำประปาจริง 4,000 ลูกบาศก์เมตร/วัน
    • แหล่งน้ำดิบสำหรับการผลิตน้ำประปา 1 แหล่ง
    • ระบบประปาใช้การได้ตลอดทั้งปี

การใช้ที่ดิน แก้

เทศบาลตำบลปรางกู่มีพื้นที่รวมประมาณ 6,125 ไร่ แยกตามประเภทการใช้ประโยชน์และขนาดพื้นที่โดยประมาณเฉลี่ยต่อไร่ ดังนี้

  • พื้นที่เกษตรกรรม ประมาณ 1,035 ไร่
  • พื้นที่ที่พักอาศัย ประมาณ 505 ไร่
  • พื้นที่หน่วยงานของรัฐ 10 แห่ง
  • พื้นที่สวนสาธารณะ/สันทนาการ 7 แห่ง
  • พื้นที่พาณิชยกรรม 15 แห่ง
  • พื้นที่สาธารณะ ประมาณ 50 ไร่

อ้างอิง แก้

  1. ข้อมูลสรุปเทศบาลตำบลปรางค์กู่ อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ ณ วันที่ 20 มิถุนายน 2554 รวบรวมโดยกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย เข้าถึงออนไลน์ทาง http://www.thailocaladmin.go.th/work/apt/apt.jsp
  2. ข้อมูลสรุปเทศบาลตำบลห้วยปรางค์กู่ อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ ณ วันที่ 20 มิถุนายน 2554 รวบรวมโดยกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย เข้าถึงออนไลน์ทาง http://www.thailocaladmin.go.th/work/apt/apt.jsp เก็บถาวร 2011-11-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  3. พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. 2542 โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116 ตอนที่ 9ก วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2542 โดยมีผลใช้บังคับวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2542
  4. ข้อมูลสรุปจำนวนประชากรและครัวเรือนในเขตเทศบาลตำบลปรางค์กู่ จัดทำโดยเทศบาลตำบลปรางค์กู่ เข้าถึงออนไลน์ทาง http://www.nmt.or.th/sisaket/prangku/Lists/List22/AllItems.aspx[ลิงก์เสีย]
  5. กรมศิลปากร,วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดศรีสะเกษ, หนังสือเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ. (ปรุงศรี วัลลิโภดม : บรรณาธิการ). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว,2544.
  6. ข้อมูลสรุปพื้นที่การปกครองเขตเทศบาลตำบลปรางค์กู่ จัดทำโดยเทศบาลตำบลปรางค์กู่ เข้าถึงออนไลน์ทาง http://www.nmt.or.th/sisaket/prangku/Lists/List22/AllItems.aspx[ลิงก์เสีย]
  • กรมศิลปากร,วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดศรีสะเกษ, หนังสือเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ. (ปรุงศรี วัลลิโภดม : บรรณาธิการ). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว,2544.
  • เทศบาลตำบลปรางค์กู่.รายงานผลการปฏิบัติงาน เทศบาลตำบลปรางค์กู่ ปี 2553.จัดทำโดยเทศบาลตำบลปรางค์กู่

แหล่งข้อมูลอื่น แก้