ตำบลชะรัด
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
ชะรัด เป็นตำบลหนึ่งของอำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง อยู่ในภาคใต้ของประเทศไทย พื้นที่ทั้งหมดอยู่ในความรับผิดชอบของเทศบาลตำบลชะรัด ตำบลชะรัดเป็นตำบลดั้งเดิมของอำเภอกงหรา มีตำนานการสร้างเมืองชะรัด มีทวดมรโหม ซึ่งเป็นผู้ก่อกำเนิดชุมชน อิสลามครั้งแรกที่ชุมชนบ้านชะรัด ชุมชนบ้านชะรัดเป็นชุมชนใหญ่ มีประเพณีวัฒนธรรมที่ถือแบบอย่างมาจากเมืองปัตตานี และได้ขยายออกเป็นชุมชนหลายชุมชนในเวลาต่อมา
ตำบลชะรัด | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Tambon Charat |
พิกัด: 7°28′17″N 99°58′45″E / 7.47139°N 99.97917°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | พัทลุง |
อำเภอ | กงหรา |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 26.82 ตร.กม. (10.36 ตร.ไมล์) |
ประชากร (31 ธันวาคม 2561) | |
• ทั้งหมด | 7,239 คน |
• ความหนาแน่น | 269.91 คน/ตร.กม. (699.1 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 93000 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 930202 |
เว็บไซต์ | www (เทศบาลตำบลชะรัด) |
![]() |
อาณาเขต
แก้ตำบลชะรัด มีอาณาเขตติดต่อกับตำบลต่าง ๆ ดังนี้
- ทิศเหนือ จดตำบลสมหวัง อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง
- ทิศใต้ จดตำบลคลองเฉลิม อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง
- ทิศตะวันออก จดตำบลนาโหนด อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง
- ทิศตะวันตก จดตำบลคลองทรายขาว อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง
หมู่บ้าน
แก้ตำบลชะรัดมีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 26.82 ตารางกิโลเมตร มีทั้งหมด 9 หมู่บ้าน ดังนี้
- หมู่ที่ 1 บ้านควนท้อน
- หมู่ที่ 2 บ้านวังปริง
- หมู่ที่ 3 บ้านหัวหรั่ง
- หมู่ที่ 4 บ้านท่ายาง
- หมู่ที่ 5 บ้านชะรัด
- หมู่ที่ 6 บ้านนามะพร้าว
- หมู่ที่ 7 บ้านควนขี้แรด
- หมู่ที่ 8 บ้านหูเล่
- หมู่ที่ 9 บ้านสะพานแต้ว
เศรษฐกิจ
แก้ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพหลัก คือ ทำสวน ทำนา รองลงมา คือ ค้าขาย รับจ้างทั่วไป และเลี้ยงสัตว์
ประชากรในตำบลชะรัด มีการประกอบอาชีพในภาคการเกษตรกรรม และนอกภาคเกษตรกรรมควบคู่กันไปอาชีพหลักของประชากรในตำบลชะรัด ได้แก่ การเกษตรกรรม นับได้ว่าเป็น สาขาการผลิตหลักที่สำคัญของตำบล ซึ่งการเกษตรกรรมประกอบด้วย การกสิกรรม การประมง การปศุสัตว์ ทางด้านกสิกรรมพบว่าพื้นที่ส่วนใหญ่ในตำบลเป็นการทำสวนยางพารา ปลูกข้าว การปลูกไม้ผล พืชไร่ และพืชผัก อาทิเช่น ถั่วลิสง ถั่วหรั่ง พริกขี้หนู ขมิ้น ตะไคร้ มังคุด เงาะ ทุเรียน สะเดาเทียม เป็นต้น สำหรับการปศุสัตว์นั้น ส่วนใหญ่เลี้ยงโค แพะ หมู เป็ด และไก่ ทางด้านการประมงมีการเลี้ยงปลาในบ่อเพาะเลี้ยง กระชัง และตามแหล่งน้ำธรรมชาติ ได้แก่ ปลาดุก ปลานิล ปลาตะเพียน เป็นต้น
สำหรับอาชีพนอกภาคเกษตรกรรม ได้แก่ การประกอบอุตสาหกรรมภายในครัวเรือน เช่น อุตสาหกรรมแปรรูปไม้ยางพารา น้ำยางพารา นอกจากนี้ มีอาชีพรับจ้าง และค้าขาย ซึ่งการรับจ้างเป็นการรับจ้างแรงงานในตำบล และตำบลใกล้เคียง รวมถึงในเขตเทศบาลเมืองพัทลุง และจังหวัดใกล้เคียง เป็นแหล่งจ้างงานที่สำคัญ สำหรับการค้าขายของเบ็ดเตล็ดในหมู่บ้าน หรือเป็นพ่อค้าคนกลางรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรในตำบลเพื่อจำหน่าย