เทศกาลลิ้นจี่และเนื้อหมา
เทศกาลลิ้นจี่และเนื้อหมา โดยทั่วไปเรียก เทศกาลเนื้อหมายฺวี่หลิน เป็นการเฉลิมฉลองประจำปีจัดในยฺวี่หลิน เขตปกครองตนเองกว่างซี ประเทศจีน ระหว่างครีษมายันซึ่งผู้เข้าร่วมเทศกาลกินเนื้อหมาและลิ้นจี่ เทศกาลนี้กินเวลาประมาณสิบวัน โดยระหว่างนั้นประมาณว่ามีการบริโภคหมา 10,000–15,000 ตัว เทศกาลดังกล่าวถูกผู้สนับสนุนสวัสดิภาพสัตว์วิจารณ์
เทศกาลลิ้นจี่และเนื้อหมา 玉林荔枝狗肉节 | |
---|---|
สถานะ | ยังจัดอยู่ |
ประเภท | เทศกาล |
เริ่มต้น | 21 มิถุนายน |
สิ้นสุด | 30 มิถุนายน |
ความถี่ | เป็นประจำทุกปี |
ที่ตั้ง | ยฺวี่หลิน เขตปกครองตนเองกว่างซี |
พิกัดภูมิศาสตร์ | 22°38′N 110°09′E / 22.633°N 110.150°E |
ประเทศ | สาธารณรัฐประชาชนจีน |
ประเดิม | 21 มิถุนายน ค.ศ. 2009[1] |
ล่าสุด | 21 มิถุนายน ค.ศ. 2022 |
เหตุการณ์ก่อนหน้า | 21 มิถุนายน ค.ศ. 2020 |
ภูมิหลัง
แก้เทศกาลนี้จัดขึ้นประจำปีในยฺวี่หลิน เขตปกครองตนเองกว่างซี ประเทศจีน ระหว่างครีษมายันในเดือนมิถุนายน โดยการกินเนื้อหมาและลิ้นจี่ เชื่อว่ากิจกรรมนี้ต้านฤทธิ์ความร้อนแห่งฤดูร้อน[2] มีการบริโภคหมาประมาณ 10,000 ถึง 15,000 ตัวระหว่างเทศกาลสิบวัน[2][3]
ในถ้อยแถลงที่ออกต่อสำนักข่าวซินหัว รัฐบาลท้องถิ่นของยฺวี่หลินปฏิเสธความเกี่ยวข้องหรือการสนับสนุนอย่างเป็นทางการใด ๆ ต่อเทศกาล โดยอธิบายว่าเป็นประเพณีท้องถิ่นโดย "ผู้อยู่อาศัยส่วนน้อยของยฺวี่หลิน" และโทษเหตุการณ์นี้ต่อธุรกิจและผู้อยู่อาศัยท้องถิ่น[4]
ความกังวลด้านสวัสดิภาพสัตว์
แก้ผู้จัดเทศกาลอ้างว่าหมาถูกฆ่าอย่างมีมนุษยธรรม และ "การกินหมาไม่ต่างจากการกินเนื้อหมูหรือวัว"[5] ทว่า ผู้รณรงค์อ้างว่าสัตว์ถูก "ปฏิบัติอย่างต่ำช้า"[6] ศาสตราจารย์ พีเตอร์ เจ. ลี อ้างว่า หมาที่ถูกกินบางส่วนเป็นสัตว์เลี้ยงในครัวเรือนที่ถูกขโมย[7]
อ้างอิง
แก้- ↑ "Friend or food? Dog meat trade divides China". CNN. 19 June 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 June 2015. สืบค้นเมื่อ 19 June 2015.
- ↑ 2.0 2.1 "China Yulin dog meat festival under way despite outrage". BBC News. สืบค้นเมื่อ 22 June 2015.
- ↑ "Tasteless? Food festival in Yulin, China celebrates canine culinary culture – with 15,000 dogs on the menu". Daily Mail. London. 28 June 2011. สืบค้นเมื่อ 30 June 2011.
- ↑ "玉林市政府就网络上所谓"夏至荔枝狗肉节"作出回应". China Daily. 7 June 2014. สืบค้นเมื่อ 24 June 2015.
- ↑ "Dog Meat Festival Faces Social Media Backlash". Sky News. 22 June 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 June 2015. สืบค้นเมื่อ 23 June 2015.
- ↑ "Dog-lovers v dog-eaters: Pet food". The Economist. 20 June 2015. สืบค้นเมื่อ 21 June 2015.
- ↑ O'Neil, Lauren (22 June 2015). "Dog meat festival in China takes place despite massive online protest". CBC News. สืบค้นเมื่อ 25 June 2015.