เทวัญ ทรัพย์แสนยากร

เทวัญ ทรัพย์แสนยากร หรือ ต๋อง นักแซกโซโฟนแจ๊สชาวไทย มีชื่อเสียงในฐานะนักดนตรีที่นำทำนองเพลงไทยเดิม หรือเพลงลูกทุ่ง มาบรรเลงในแบบแจ๊ส และผสมผสานกับเครื่องดนตรีไทย

เทวัญ ทรัพย์แสนยากร
ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อเกิดเมธวัชร์ ทรัพย์แสนยากร
เกิด11 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 (77 ปี)
ที่เกิดจังหวัดนครราชสีมา
แนวเพลงแจ๊ส
อาชีพนักดนตรี, นักจัดรายการวิทยุ
เครื่องดนตรีแซกโซโฟน ไวโอลิน ขลุ่ย
ช่วงปี2520 - ปัจจุบัน
อดีตสมาชิกโอเรียลเต็ล ฟังก์
อินฟินิตี้

ประวัติ แก้

เทวัญเกิดที่อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา หัดเล่นดนตรีจากการเล่นในวงดุริยางค์ขณะเรียนชั้นมัธยมที่โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย โดยมีไวโอลินเป็นเครื่องดนตรีชิ้นแรกที่ได้ฝึกฝน และศึกษาทฤษฎีดนตรีเพิ่มเติมที่โรงเรียนดนตรีสยามกลการ [1] และได้เข้าวง Oriental Funk ที่มี เรวัติ พุทธินันทน์ เป็นแกนนำ และยังเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งวง อินฟินิตี้ ร่วมกับศรายุทธ สุปัญโญ ก่อนจะออกจากวงหลังจากอัลบั้ม วันและคืน และมีผลงานอัลบั้มเดี่ยวชุดแรกในปี 2535 คือ Novel Jazz และมีผลงานอื่นๆอีก เช่น อ้อน, เทวัญ โนเวล แจ๊ส 3, สองขั้วจั่วแจ๊ส, More Than Words ที่นำเพลงสุนทราภรณ์มาทำใหม่ในสไตล์แจ๊ส, Cool Ears ฟังสบาย ที่นำเพลงที่ประพันธ์โดยครูเพลงลูกกรุง มาทำใหม่เป็นสไตล์แจ๊สเช่นกัน (ภายหลังนำมารวมใหม่เป็นชุด Siam Gallery)

เทวัญ ทรัพย์แสนยากร ยังได้ก่อตั้งวงแจ๊สร่วมสมัย ในชื่อว่า "วงกังสดาล" (ปี 2534) ซึ่งใช้เครื่องดนตรีไทยปี่ ขลุ่ย ซอด้วง ซออู้ จะเข้ ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องวงใหญ่ ตะโพน เครื่องเปอร์คัทชัน บรรเลงร่วมกับโซปราโน อัลโตแซ็กโซโฟนโดยเป็นผู้สร้างสรรค์บทเพลงใหม่ และนำเพลงไทยของเดิมมาเรียบเรียงนำเสนอมุมมองใหม่ ในรูปแบบแจ๊ส อาทิ แหยม แว่วกังสดาล ชมสวน ครวญหา หนุ่งหนิง ลาวเจริญศรี ซึ่งแต่ละเพลงมีท่วงทีลีลาแตกต่างกันไปไม่ซ้ำกัน ทั้งรูปแบบเพลง สไตล์ ทั้งการใช้เทคนิคการเดี่ยวใหม่ ๆ การด้นImprovize และการประสานเสียงซึ่งไม่ต้องแก้ไขระบบเสียงของเครื่องดนตรีไทยแต่อย่างใด นับเป็นความอัจฉริยะและได้รับการชื่นชมตอบรับจากหลายหน่วยงาน เนื่องจากแนวเพลงโดดเด่นแปลกใหม่ในขณะนั้นสามารถรวบรวมนักดนตรีไทยที่มากฝีมือให้มารวมกันบรรเลง คิดค้นวิธีการบรรเลงเครื่องมือตนเองอย่างอิสระ อาทิ จำเนียร ศรีไทยพันธุ์ ( ขลุ่ย, ปี่)ณรงค์ฤทธิ์ โตสง่า (ระนาดทุ้ม) ชัยยุทธ์ โตสง่า (ระนาดเอก) วรยศ ศุขสายชล (ซอด้วง-ซออู้), สุธารณ์ บัวทั่ง (จะเข้) เล็ก ปานพุ่ม(กลอง-เปอรคัทชัน) ฯลฯ โดยมีเจ้าภาพสนใจร่วมแคมเปญนำแสดงหลายมุมทั่วโลก อาทิ อังกฤษ อเมริกา ญี่ปุ่น ไต้หวัน ฮ่องกง สิงคโปร์ ฯลฯ ซึ่งภายหลังนักดนตรีแยกตัวออกไปตามภาระหน้าที่ของตน ต่างไปก่อตั้งวงดนตรีร่วมสมัยในภายหลังอีกด้วย เช่น บอยไทย เป็นต้น

เคยเปิดร้านอาหารดนตรีแจ๊สที่ชื่อ "เทวัญ แจ๊สเตอรองค์" อยู่แถวเมืองทองธานี พักหนึ่ง แต่ก็ปิดตัวลงไป

เทวัญได้รับการยอมรับให้เป็นมือแซ็กโซโฟนอันดับ 1 ของประเทศไทย [1] ปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อตัว จาก "เทวัญ" เป็น "เมธวัชร์"

ปัจจุบันเทวัญ ทรัพย์แสนยากร มีบริษัทเพลงเป็นของตนเอง ชื่อ เทวัญ เร็คคอร์ด และจัดรายการวิทยุอยู่ที่ Modern Radio 96.5 FM ชื่อรายการ Music @Night วันพุธ เที่ยงคืนครึ่ง ถึงตีหนึ่งครึ่ง[2] (แต่หลังจากเดือนตุลาเป็นต้นไป รายการนี้ก็ถูกถอดออกจากผัง) กับรายการวิทยุที่ม.สุโขทัยธรรมาธิราซ ชื่อ เพลงร่วมสมัยกับดนตรืไทยแบบเทวัญ วันจันทร์ บ่ายสองถึงบ่ายสาม และมีผลงานใหม่ออกมาอีก

ผลงานเดี่ยว แก้

  • Novel Jazz (พ.ศ. 2535)
  • อ้อน (พ.ศ. 2536)
  • เทวัญ โนเวล แจ๊ส 3 (พ.ศ. 2543)
  • เทวัญ และ ลินเดอแมนน์ สองขั้วจั่วแจ๊ส (พ.ศ. 2544)
  • It's Possible (พ.ศ. 2552)
  • Unseen Melodies (มีกำหนดวางแผงในปีหน้า)

ผลงานที่นำเพลงเก่ามาทำใหม่ทั้งหมด แก้

  • Cool Ears ฟังสบาย 1-5 (พ.ศ. 2545)
  • More Than Words 1-5 (พ.ศ. 2548-2549)
  • ก้าวใหม่ (พ.ศ. 2552) (ใช้ชื่อว่าต๋อง อาละดิน)

ผลงานการแต่งเพลง แก้

ผลงานที่ถูกนำมารีแพ็กเกจใหม่ แก้

  • Siam Gallery 1-3 (พ.ศ. 2550) เป็นการคัดเพลงจากอัลบั้ม Cool Ears ฟังสบาย มารวมฮิตใหม่
  • สมานไทย (พ.ศ. 2552) เป็นการนำอัลบั้ม เทวัญ โนเวล แจ๊ส 3 มารีมิกซ์เสียงใหม่ และเพิ่มเพลงใหม่อีกสามเพลง
  • Two Worlds Jazz Jam (พ.ศ. 2552) เป็นการนำอัลบั้มสองขั้วจั่วแจ๊ส มารีมิกซ์เสียงใหม่

ผลงานการแสดง แก้

ละครโทรทัศน์ แก้

ภาพยนตร์ แก้

อ้างอิง แก้