เทวสถานแห่งอันโตนินัสและฟาอัสตินา

เทวสถานแห่งอันโตนินัสและฟาอัสตินา (อังกฤษ: Temple of Antoninus and Faustina) เป็นเทวสถาน (Roman temple) โรมันโบราณที่ตั้งอยู่ในกรุงโรมภายในบริเวณที่เรียกว่าฟอรุมโรมัน (Roman Forum) บนถนนซากรา (Via Sacra) ตรงกันข้ามกับเรเจีย (Regia) เทวสถานแห่งอันโตนินัสและฟาอัสตินาสร้างในปี ค.ศ. 141 ต่อมาวัดซานลอเรนโซอินมิรานดาก็มาสร้างบนซากที่เหลือของเทวสถาน

เทวสถาน
แห่งอันโตนินัสและฟาอัสตินา
วัดซานลอเรนโซอินมิรานดาสร้างในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ภายในซากของเทวสถานที่ยังใช้คอลัมน์ของซุ้มทางเข้าของเทวสถานเดิม
เทวสถานแห่งอันโตนินัสและฟาอัสตินาตั้งอยู่ในโรม
เทวสถานแห่งอันโตนินัสและฟาอัสตินา
เทวสถานแห่งอันโตนินัสและฟาอัสตินา
แสดงที่ตั้งภายในโรม
แผนที่
Click on the map for a fullscreen view
ที่ตั้งบริเวณที่ 8 ของจตุรัสโรมัน
พิกัด41°53′31.70″N 12°29′12.08″E / 41.8921389°N 12.4866889°E / 41.8921389; 12.4866889
ประเภทเทวสถาน
ความเป็นมา
ผู้สร้างอันโตนินัส ไพอัสสร้างให้แก่
ฟาอัสตินาผู้อาวุโส
สร้างค.ศ. 141
หมายเหตุเกี่ยวกับสถานที่
สถาปัตยกรรมโรมัน

เทวสถาน แก้

จักรพรรดิอันโตนินัส ไพอัสทรงเริ่มสร้างเทวสถานนี้ในปี ค.ศ. 141 ก่อนคริสต์ศักราช โดยทรงตั้งพระทัยที่จะอุทิศให้แก่พระอัครมเหสีฟาอัสตินาผู้อาวุโสผู้สิ้นพระชนม์ไปแล้วผู้ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเทพ เมื่ออันโตนินัส ไพอัสเองได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเทพหลังจากที่เสียชีวิตไปแล้วในปี ค.ศ. 161 มาร์คัส ออเรลิอัสจักรพรรดิองค์ต่อมาก็อุทิศเทวสถานใหม่ให้แก่ทั้งอันโตนินัส ไพอัสและฟาอัสตินา

ตัวเทวสถานตั้งอยู่บนฐานสูงบนหินบล็อกใหญ่เพเพอริโน ด้านหน้ามีคำจารึกว่า “Divo Antonino et Divae Faustinae Ex S.C.” ที่แปลว่า “อุทิศให้แก่เทพอันโตนิโนและเทพฟาอัสติแนโดยการประกาศของวุฒิสภา”

ด้านหน้าซุ้มทางเข้าของเทวสถานเป็นคอลัมน์โครินเธียนสิบคอลัมน์แต่ละคอลัมน์สูง 17 เมตร บนบัวตกแต่งด้วยลายสลักนูนเป็นมาลัยกริฟฟอนและเชิงเทียน ที่มักจะก็อปปีมาใช้ในงานตกแต่งสถาปัตยกรรมตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 มาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 19

คริสต์ศาสนสถาน แก้

เทวสถานมาเปลี่ยนเป็นคริสต์ศาสนสถานชื่อวัดซานลอเรนโซอินมิรานดาอาจจะตั้งแต่ราวคริสต์ศตวรรษที่ 7 แต่ก็มีหลักฐานกล่าวถึงจากคริสต์ศตวรรษที่ 11 เท่านั้นที่กล่าวถึงในหนังสือ “สถานที่อันสวยงามของกรุงโรม” (Mirabilia Urbis Romae)[1] “มิรานดา” ในชื่อวัดอาจจะมาจากชื่อของผู้บริจาคทุนทรัพย์ในการสร้างวัด[2] กล่าวกันว่าที่ตั้งของวัดเป็นสถานที่ที่นักบุญลอว์เรนซ์ถูกประหารชีวิต

รอยบากลึกบนคอลัมน์กล่าวกันว่ามีมาตั้งแต่ยุคกลางเมื่อมีการพยายามที่จะรื้อซุ้มทางเข้าอาจจะเพื่อนำไปสร้างสิ่งก่อสร้างอื่นหรืออาจจะเป็นการจงใจที่จะทำลายเพราะถือว่าเป็นเทวสถานของผู้นอกศาสนา นอกจากนั้นก็มีการสร้างบันไดทางด้านข้างในยุคกลางแต่ในปัจจุบันไม่สามารถใช้ได้เพราะกลายเป็นช่องกว้างราวหกเมตรระหว่างตอนบนของบันไดกับประตูเพราะขณะที่สร้างบริเวณฟอรุมยังไม่ได้ขุด ฉะนั้นบริเวณที่สร้างบันไดจึงสูงกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เมื่อขุดดินออกจึงเหลือแต่บันไดลอย การขุดค้นทางโบราณคดีทางด้านหน้าของเทวสถานทำกันครั้งแรกในปี ค.ศ. 1546, ครั้งที่สองในปี ค.ศ. 1810 และอีกเป็นระยะ ๆ มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1876[3]

 
ซุ้มทางเข้ามองจากอีกด้านหนึ่ง

ในปี ค.ศ. 1429/1430, สมเด็จพระสันตะปาปามาร์ตินที่ 5 ทรงยกวัดให้กับคณะนักเคมีและเครื่องยา (College of Chemists and Herbalists) ของมหาวิทยาลัยอโรมาโตเรียม (Universitas Aromatorium)[4] มหาวิทยาลัยยังคงใช้ห้องที่ติดกันเป็นพิพิธภัณฑ์เล็ก ๆ ที่ยังมีใบซื้อยาที่ลงชื่อราฟาเอล หลังจากนั้นก็มีการสร้างชาเปลข้างเพื่อที่จะบูรณปฏิสังขรณ์ตัวสิ่งก่อสร้างเดิมในการเตรียมการต้อนรับสมเด็จพระจักรพรรดิคาร์ลที่ 5 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ตัววัดปัจจุบันจึงอยู่ภายในโครงของเทวสถานเดิม และได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์และขยับขยายอีกครั้งในปี ค.ศ. 1602 โดยโอราซิโอ ทอร์ริอานิ (Orazio Torriani) โดยเป็นช่องทางเดินกลางช่องเดียวและมีชาเปลข้างใหม่สามชาเปล แท่นบูชาเอกมีงานเขียน “การพลีชีพของนักบุญลอว์เรนซ์” โดยเปียโตร ดา คอร์โทนา (Pietro da Cortona) ที่เขียนในปี ค.ศ. 1646 ชาเปลแรกทางขวาเป็นภาพ “พระแม่มารีและพระบุตรกับนักบุญ” ที่เขียนในปี ค.ศ. 1626 โดยโดเม็นนิโค แซมเปียริ

การเปลี่ยนเป็นคริสต์ศาสนสถานยังคงรักษาครรภมณฑล (Cella) และและซุ้มทางเข้าด้านหน้า (portico) และแถบหินอ่อนของโถงภายในเทวสถานถูกรื้อทิ้ง และอันที่จริงแล้วก็ขาดมุขตะวันออกซึ่งไม่มีการเพิ่มเติมเมื่อมาเปลี่ยนแปลงเป็นคริสต์ศาสนสถานเพื่อเป็นการรักษารูปทรงที่ได้สัดส่วนของเทวสถานเดิม

อ้างอิง แก้

  1. Christian Hülsen, Le Chiese di Roma nel Medio Evo (Florence: Olschki) 1927
  2. A fanciful derivation from the Latin mirare, to admire, imagined as referring to the excellent panorama of the Forum from the church's steps, diachronically attributes to the medieval public an eighteenth-century appreciation for the picturesque.
  3. Platner and Ashby 1929.
  4. Filippo Titi, Descrizione delle Pitture, Sculture e Architetture esposte in Roma, 1763.
  • Platner, Samuel Ball, (revised by Thomas Ashby), A Topographical Dictionary of Ancient Rome, (London: Oxford University Press), 1929. (On-line text)
  • Touring Club Italiano (TCI) Roma e Dintorni 1965:133.

ดูเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ เทวสถานแห่งอันโตนินัสและฟาอัสตินา

ระเบียงภาพ แก้