เตรตายุค
เตรตายุค (อักษรเทวนาครี: त्रेता युग) หรือ ไตรดายุค ในศาสนาฮินดู เป็นยุคที่ 2 และยุคที่ดีรองลงมาใน 4 ยุค (ยุคของโลก) ตามวัฏจักรยุค เกิดขึ้นหลังสัตย (กฤต) ยุคและก่อนทวาปรยุค[1][2] เตรตายุคมีระยะเวลาถึง 1,296,000 ปี (3,600 ปีเทวดา)[3][4][5]

ระยะเวลาและโครงสร้าง
แก้ตำราฮินดูกล่าวถึง 4 ยุค ในวัฏจักรยุคที่เริ่มต้นในยุคแรกของ กฤต (สัตย) ยุค แต่ละ ยุค มีความยาวลดลงหนึ่งในสี่ (25%) ทำให้แบ่งสัดส่วนได้เป็น 4:3:2:1 แต่ละยุคมีสมัยหลัก (หรือรู้จักกันในชื่อ yuga proper) ที่อยู่ระหว่างยุคสนธยา (รุ่งอรุณ) กับ yuga-sandhyāṃśa (พลบค่ำ) แต่ละช่วงสนธยา (รุ่งอรุณ/พลบค่ำ) กินเวลาของสมัยหลักไปหนึ่งส่วนสิบ (10%) ความยาวของยุคระบุเป็นปีของเทพเจ้า แต่ละยุคนานถึง 360 ปีสุริยะ (มนุษย์)[3][4][5]
เตรตายุค ยุคที่ 2 ในวัฎจักร มีระยะเวลา 1,296,000 ปี (3,600 ปีเทวดา) โดยยุคหลักกินระยะเวลา 1,080,000 ปี (3,000 ปีเทวดา) และช่วงพลบค่ำสองอันแต่ละครั้งกินระยะเวลา 108,000 ปี (300 ปีเทวดา) วัฏจักรปัจจุบันของเตรตายุคอิงจากกลียุค ยุคที่ 4 และยุคปัจจุบันที่เริ่มต้นเมื่อ 3102 ปีก่อน ค.ศ.:[3][4][5]
ช่วง | เริ่มต้น (– สิ้นสุด) | ความยาว |
---|---|---|
เตรตายุคสนธยา (รุ่งอรุณ) | 2,163,102 ปีก่อน ค.ศ. | 108,000 (300) |
เตรตายุค (แท้) | 2,055,102 ปีก่อน ค.ศ. | 1,080,000 (3,000) |
Treta-yuga-sandhyamsa (พลบค่ำ) | 975,102–867,102 ปีก่อน ค.ศ. | 108,000 (300) |
ปี: 1,296,000 ปี (3,600 ปีเทวดา) | ||
ปัจจุบัน: กลียุคสนธยา (รุ่งอรุณ) | [6][7] |
ลักษณะของเตรตายุค
แก้ผู้คน
แก้คนจะสูง 14 ศอก มีอายุอยู่ได้ถึง 10,000 ปี
ความสัมพันธ์ผู้คน
แก้คุณภาพชีวิตนั้น คนจะอยู่ในความดีสามส่วน มีความไม่ดีหนึ่งส่วน
พิธีกรรม
แก้ไม่มีการประกอบพิธีกรรม มนุษย์ปฏิบัติธรรมเพื่อหวังอานิสงส์จากการปฏิบัติธรรมนั้น
สภาพภูมิอากาศ
แก้ดีและเลวในอัตราเดียวกัน
หมายเหตุ
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ "yuga". Dictionary.com Unabridged. Random House. สืบค้นเมื่อ 2021-02-27.
- ↑ "treta yuga". Dictionary.com Unabridged. Random House. สืบค้นเมื่อ 2021-02-27.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 Godwin, Joscelyn (2011). Atlantis and the Cycles of Time: Prophecies, Traditions, and Occult Revelations. Inner Traditions. pp. 300–301. ISBN 9781594778575.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 Merriam-Webster (1999). "Merriam-Webster's Encyclopedia of World Religions". ใน Doniger, Wendy; Hawley, John Stratton (บ.ก.). Merriam-Webster. Merriam-Webster, Incorporated. pp. 445 (Hinduism), 1159 (Yuga). ISBN 0877790442.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 Gupta, S. V. (2010). "Ch. 1.2.4 Time Measurements". ใน Hull, Robert; Osgood, Richard M. Jr.; Parisi, Jurgen; Warlimont, Hans (บ.ก.). Units of Measurement: Past, Present and Future. International System of Units. Springer Series in Materials Science: 122. Springer. pp. 6–8. ISBN 9783642007378.
- ↑ Godwin 2011, p. 301: The Hindu astronomers agree that the [Dvapara Yuga ended and] Kali Yuga began at midnight between February 17 and 18, 3102 BCE. Consequently [Kali Yuga] is due to end about 427,000 CE, whereupon a new Golden Age will dawn.
- ↑ Burgess 1935, p. ix (Introduction): Calculated date of 2163102 B.C. for "the end of the Golden Age (Krta yuga)", the start of Treta yuga, mentioned in Surya Siddhanta 1.57.