เตนจ้ามี่นคอง (พม่า: တိမ်ကြားမင်းခေါင်) เป็นแม่ทัพที่พระเจ้ามังระยกย่องให้เป็นผู้นำการรบแบบพิเศษ (รบแบบกองโจร) ที่เก่งกาจที่สุดคนหนึ่งในยุคของพระองค์ โดยให้สมญานามว่า "ดุจดั่งเมฆ" ความหมายคือเคลื่อนที่อย่างรวดเร็วไม่เป็นที่สังเกต ยากแก่การทำลาย และหายไปอย่างไร้ร่องรอย[1]

เตนจ้ามี่นคอง
เกิดหุบเขามู่, อาณาจักรตองอู
รับใช้อาณาจักรโก้นบอง
แผนก/สังกัดกองทัพอาณาจักรพม่า
ประจำการ(พ.ศ. 2295–2312)
ชั้นยศแม่ทัพ (พ.ศ. 2295–2311)
บังคับบัญชาผู้ช่วยเสนาบดีกลาโหม
การยุทธ์สงครามโก้นบอง–หงสาวดี (พ.ศ. 2295–2300),
สงครามจีน–พม่า (พ.ศ. 2309–2312)

กองกำลังพิเศษแห่งอังวะ แก้

ในการบุกครั้งที่ 3 ของจีนนั้นสร้างความลำบากให้แก่กองทัพพม่าเป็นอย่างมาก เนื่องจากหมิงรุ่ยเป็นผู้เจนจบในพิชัยสงครามเขาเคลื่อนกองทัพอย่างระมัดระวังตลอดการทำศึก นั้นทำให้แม้แต่อะแซหวุ่นกี้เองก็ยากที่จะใช้กลอุบายเอาชนะเขาได้ ในขณะนั้นเองพระเจ้ามังระได้ตัดสินใจส่งกองกำลังพิเศษของพระองค์ออกไปทัพหนึ่ง นำโดยเตนจ้ามี่นคองมีจุดประสงค์เพื่อทำสงครามกองโจรกับหมิงรุ่ย ซึ่งเตนจ้ามี่นคองก็สามารถทำผลงานได้อย่างน่าทึ่ง แม้เขาจะมีกองทัพไม่ถึงหนึ่งพันนาย แต่ก็สามารถปั่นป่วนกองทัพนับหมื่นของหมิ่งรุ่ยจนไม่สามารถเคลื่อนที่ได้สะดวก อีกทั้งยังสามารถตัดกำลังบำรุงของฝ่ายจีนที่ส่งมากจากแสนหวีได้อย่างมีประสิทธิภาพ จนกองทัพของหมิงรุ่ยที่บุกลึกเข้ามาเริ่มอดอาหาร นั้นทำให้ผลของสงครามเริ่มเปลี่ยนไป ชื่อเสียงของเตนจ้ามี่นคองและพระเจ้ามังระที่พลิกสถานการณ์ให้ฝ่ายอังวะในครั้งนั้น จึงเป็นที่เลื่องลือขึ้นมา[2][3] สุดท้ายอะแซหวุ่นกี้ที่เตรียมกองทัพไว้อยู่แล้วจึงได้ช่องนำกองกำลังที่ซุ่มไว้เข้ายึดแสนหวีคืนได้ และยกทัพลงมาช่วยพระเจ้ามังระตีกระหนาบหมิงรุ่ยจนเอาชนะไปได้ในยุทธการเมเมียว[4]

อ้างอิง แก้

  1. Kyaw Thet (1962). History of Burma (in Burmese). Yangon: University of Rangoon Press. pp. 310–3184
  2. Kyaw Thet (1962). History of Union of Burma (in Burmese). Yangon: Yangon University Press.
  3. Haskew, Michael E., Christer Joregensen, Eric Niderost, Chris McNab (2008). Fighting techniques of the Oriental world, AD 1200–1860: equipment, combat skills, and tactics (Illustrated ed.). Macmillan. ISBN 978-0-312-38696-2.
  4. Myint-U, Thant (2006). The River of Lost Footsteps—Histories of Burma. Farrar, Straus and Giroux. ISBN 978-0-374-16342-6.