เดอะแบงค์จ็อบ (อังกฤษ: The Bank Job, วีซีดีจำหน่ายในไทยใช้ชื่อว่า เปิดตำนาน "ปล้น" บันลือโลก) เป็นภาพยนตร์อังกฤษที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2551 กำกับโดยโรเจอร์ โดแนลด์สัน นำแสดงโดยเจสัน สเตธัม สร้างจากเค้าโครงเรื่องจริงของการปล้นธนาคารที่ถนนเบเกอร์ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2514 ที่ธนาคารลอยด์ ตั้งอยู่เลขที่ 108 ถนนเบเกอร์ ใจกลางกรุงลอนดอน [1] โดยโจรขุดอุโมงค์ใต้ดินจากร้านค้าที่อยู่ห่างออกไปสามห้อง และเจาะพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กของห้องใต้ดินของธนาคาร [2] ปล้นเงินสดไปได้กว่าหนึ่งล้านห้าแสนปอนด์ [3] ซึ่งทรัพย์สินมีค่าที่ถูกปล้นไป ไม่มีรายงานว่าได้รับกลับคืน

เดอะแบงค์จ็อบ
กำกับโรเจอร์ โดแนลด์สัน
เขียนบทDick Clement
Ian La Frenais
George McIndoe
Aaron Shuster
อำนวยการสร้างเดวิด อัลเพอร์
นักแสดงนำเจสัน สเตธัม
แซฟรอน เบอร์โรว์
กำกับภาพMichael Coulter
ตัดต่อJohn Gilbert
ดนตรีประกอบJ. Peter Robinson
วันฉาย29 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2008
ความยาว111 นาที
ประเทศ สหราชอาณาจักร
ภาษาภาษาอังกฤษ
ทำเงิน$64,068,159 (worldwide)

ผู้สร้างภาพยนตร์กล่าวอ้างว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการปล้นครั้งนี้ ถูกรัฐบาลสหราชอาณาจักรปกปิดเป็นความลับในระดับ DA-Notice (ระดับความมั่นคงของชาติ) เพื่อปกป้องชื่อเสียงของสมาชิกในราชวงศ์อังกฤษ [2] เนื่องจากในบรรดาทรัพย์สินที่ถูกขโมยไปจากตู้นิรภัยของธนาคาร บางส่วนเป็นภาพถ่ายลับเฉพาะของเชื้อพระวงศ์[4] ขณะกำลังพักผ่อนกับเพื่อนชายในรีสอร์ตที่เกาะมัสทีค แถบแคริบเบียน ที่อยู่ในการครอบครองของ "Michael X" อดีตผู้นำชนผิวดำชาวตรินิแดดและโตเบโกที่ลี้ภัยอยู่ในอังกฤษ และต้องการนำไปใช้แบล็กเมล นอกจากนี้ยังมีเอกสารบันทึกการรับสินบนที่อาชญากรจ่ายให้กับตำรวจอังกฤษ [ต้องการอ้างอิง] และภาพลับของนักการเมืองในรัฐบาล ขณะกำลังมั่วโสเภณีแบบวิตถาร [ต้องการอ้างอิง] โดยการปล้นครั้งนี้เกิดขึ้นในความรับรู้ของสายลับหน่วย MI5 ของรัฐบาลอังกฤษ และบุคคลระดับสูงอย่างลอร์ด หลุยส์ เมาท์แบทเทน [ต้องการอ้างอิง]

ผู้สร้างภาพยนตร์ยังอ้างว่า ถึงแม้เนื้อหาบางส่วนจะเป็นเรื่องแต่ง แต่จุดมุ่งหมายของภาพยนตร์ก็เพื่อเปิดเผยความจริงที่ถูกปกปิดมาเป็นเวลานานเป็นครั้งแรก [5]

อ้างอิง แก้

  1. Lloyds Bank Map location
  2. 2.0 2.1 Tom Pettifor (2008-02-16). "Bank job that opened the door on a royal sex scandal". Daily Mirror. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-16. สืบค้นเมื่อ 2008-11-13.
  3. "Four jailed for London's biggest bank theft." The Times (27 January 1973), page 1
  4. ในภาพยนตร์อ้างถึงว่าเป็น "เจ้าหญิงมาร์กาเร็ต" และน่าจะหมายถึง เจ้าฟ้าหญิงมาร์กาเร็ต เคานท์เตสแห่งสโนว์ดอน
  5. Production Information เก็บถาวร 2012-02-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Lionsgate UK website, Accessed 9 January 2008

แหล่งข้อมูลอื่น แก้