เดอะเวิลด์เอนส์วิทยู

เดอะเวิลด์เอนส์วิทยู (The World Ends with You) หรือที่วางจำหน่ายในญี่ปุ่นในชื่อว่า ซูบาราชิกิ โคโนะ เซไก (ญี่ปุ่น: すばらしきこのせかいโรมาจิSubarashiki Kono Sekai แปลตรงตัว: "This Wonderful World") เป็นเกมแนว action role-playing ที่พัฒนาขึ้นโดยทีมงานพัฒนาซีรีส์คิงดอมฮารตส์ของสแควร์เอนิกซ์และทีม Jupiter สำหรับเครื่องนินเทนโดดีเอส รูปแบบศิลปะการออกแบบของเกมได้รับแรงบันดาลใจมาจากย่านชิบุยะและวัฒนธรรมวัยรุ่น โดยกำหนดเนื้อเรื่องให้เกิดขึ้นในย่านชิบุยะของโตเกียวในยุคปัจจุบัน การพัฒนาได้รับแรงบันดาลใจจาก Kingdom Hearts: Chain of Memories ซึ่งเป็นเกมที่ทีม Jupiter พัฒนาขึ้นก่อนหน้า เริ่มวางจำหน่ายในญี่ปุ่นเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2550 และวางจำหน่ายในอเมริกาเหนือและ PAL regions ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2551

เดอะเวิลด์เอนส์วิทยู
จากบนสุดวนตามเข็มนาฬิกา: บีท ไรม์ ชิกิ เนกุ และโจชัว
ผู้พัฒนาสแควร์เอนิกซ์, Jupiter
ผู้จัดจำหน่ายสแควร์เอนิกซ์, Ubisoft (ออสเตรเลีย)
อำนวยการผลิต
ออกแบบทัทสึยะ คันโดะ (ผู้กำกับ)
ศิลปินเก็น โคะบะยะชิ
เท็ทสึยะ โนะมุระ
แต่งเพลงทะเคะฮะรุ อิชิโมะโตะ
เครื่องเล่นนินเทนโดดีเอส
วางจำหน่าย
  • JP: July 26, 2007
  • EU: April 18, 2008
  • NA: April 22, 2008
  • AU: April 24, 2008[1]
แนวAction role-playing
รูปแบบSingle-player

ตามเนื้อเรื่องภายในเกม เนกุ ซากุราบะ และพวกพ้อง ถูกบังคับให้เข้าร่วมในเกมที่จะตัดสินชะตากรรมของพวกเขา ระบบการต่อสู้ได้ใช้ประโยชน์จากลักษณะเฉพาะต่าง ๆ ของนินเทนโดดีเอส อย่างเช่นฉากการต่อสู้ที่แสดงผลบนจอภาพทั้งสองจอ และการโจมตีศัตรูด้วยการเคลื่อนไหวบนจอสัมผัสในลักษณะต่าง ๆ หรือการตะโกนลงในไมโครโฟน โดยแต่ละภารกิจจะมีวัฒนธรรมของวัยรุ่นญี่ปุ่นในรูปแบบต่าง ๆ เช่น แฟชั่น อาหาร โทรศัพท์มือถือ เป็นจุดสำคัญ

เดอะเวิลด์เอนส์วิทยู ได้รับคำวิจารณ์ในเชิงบวกทั้งในด้านกราฟิก เพลงประกอบ และการผสมผสานระบบการเล่นเข้ากับบรรยากาศของชิบุยะ แต่มีข้อตำหนิเล็กน้อยเกี่ยวกับระบบการต่อสู้ที่เข้าใจยากและการควบคุมจอสัมผัสที่ไม่แน่นอน เพียงหนึ่งสัปดาห์หลังวางจำหน่าย เกมมียอดจำหน่ายสูงเป็นอันดับสองในบรรดาเกมของเครื่องนินเทนโดดีเอสในญี่ปุ่น และสูงเป็นอันดับหนึ่งในบรรดาเกมของเครื่องนินเทนโดดีเอสในสหรัฐอเมริกา

โครงเรื่อง

แก้

เกมดำเนินเรื่องในย่านชิบุยะของโตเกียวในรูปแบบที่จินตนาการขึ้นมาใหม่ ขณะที่ชีวิตประจำวันดำเนินไปใน Realground (RG) จะมีผู้ที่เสียชีวิตไปแล้วถูกคัดเลือกให้เข้าไปสู่มิติที่เรียกว่า Underground (UG) โดย UG ยังเป็นสถานที่สำหรับดำเนินเกมยมทูต.[2] โดยผู้เล่นซึ่งเป็นผู้ที่เสียชีวิตไปแล้ว จะต้องแลกเปลี่ยนสิ่งที่มีค่าที่สุดสำหรับแต่ละคนเพื่อเข้าร่วมเกม โดยมีรางวัลตอบแทนคือ กลับฟื้นคืนชีพอีกครั้ง หรือกลายสภาพเป็นรูปแบบจิตวิญญาณในระดับที่สูงขึ้นไป ผู้เล่นส่วนใหญ่ที่เลือกกลายสภาพจะกลายเป็นยมทูต ซึ่งจะเป็นคู่ต่อสู้กับผู้เล่นในเกมครั้งต่อ ๆ ไป[3] ภายในหนึ่งสัปดาห์จะมีเกมที่ทดสอบคุณค่าของความเป็นมนุษย์.[2] ผู้เล่นจะต้องบรรลุเป้าหมายของแต่ละคนภายใต้กฎที่สร้างขึ้นโดยคอมโพเซอร์ (Composer) ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตคล้ายพระเจ้าที่คอยดูแลชิบุยะ และมีคอนดักเตอร์ (Conductor) ยมทูตอีกตนหนึ่ง คอยมอบหมายหน้าที่ให้ยมทูตตนอื่น ๆ คอยขัดขวางการดำเนินเกมของผู้เล่น ผู้เล่นที่ทำภารกิจไม่สำเร็จจะถูกทำให้จิตวิญญาณแตกสลาย ซึ่งเป็นการลบการดำรงอยู่ของผู้เล่นนั้น.[4]

สิ่งมีชีวิตใน RG จะไม่สามารถมองเห็นผู้เล่นได้ใน UG ได้ แต่ผู้เล่นสามารถอ่านหรือชักจูงความคิดของสิ่งมีชีวิตใน RG ได้เป็นบางเวลา ภายใน UG มีสิ่งที่เรียกว่า "นอยส์" (Noise) ซึ่งถูกดึงดูดเข้าหาความรู้สึกด้านลบของสิ่งมีชีวิต ในการดำเนินเกมยมทูต ผู้เล่นมักจะต้องกำจัดนอยส์โดยการฆ่าหรือลบทิ้ง[5] นอยส์แต่ละตนจะมีตัวตนอยู่ใน 2 พื้นที่ในเวลาเดียวกัน ผู้เล่นสองคนจะต้องแยกกันต่อสู้กับนอยส์ในพื้นที่ทั้งสอง จึงจะสามารถปราบนอยส์ลงได้ ดังนั้นผู้เล่นสองคนจะต้องทำข้อตกลงเป็นคู่หูต่อสู้ร่วมกันเพื่อที่จะปราบนอยส์ได้[6] ผู้เล่นจะได้รับมอบหมายภารกิจผ่านทางข้อความที่ส่งทางโทรศัพท์มือถือ แล้วที่มือขวาของผู้เล่นจะถูกประทับด้วยตัวเลขเวลานับถอยหลังที่แสดงถึงเวลาที่เหลืออยู่ในการทำภารกิจ.[5] หลังจากภารกิจในแต่ละวันเสร็จสิ้นลง ผู้เล่นที่เหลืออยู่ในเกมจะถูกนำตัวข้ามเวลาไปยังวันถัดไปเพื่อไปสู่สถานที่เริ่มต้นภารกิจของวันถัดไป

ตัวละคร

แก้

ผู้เล่นเกมนี้จะบังคับตัวละครเนกุ ซากุระบะ (Neku Sakuraba) เด็กชายวัยรุ่นที่ต่อต้านสังคม ชอบฟังเพลงมากกว่ามีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ตัวละครอื่น ๆ รวมถึงผู้เล่นเกมยมทูตที่เป็นคู่หูร่วมต่อสู้กับเนกุ จะควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์[6] ในเกมยมทูตครั้งแรก เนกุจะจับคู่กับชิกิ มิซากิ (Shiki Misaki) เด็กสาววัยรุ่นที่ใช้รูปลักษณ์ของเพื่อนสนิทเข้าร่วมเกม ขณะที่รูปลักษณ์ที่แท้จริงถูกใช้เป็นค่าเข้าร่วมเกม[7] ในการเล่นเกมยมทูตครั้งต่อมา คู่หูของเนกุ คือโยชิยะ คิริว (Yoshiya Kiryu) หรือที่มักถูกเรียกว่า โจชัว (Joshua) เด็กชายวัยรุ่นฉลาดแกมโกง คู่หูคนสุดท้ายของเนกุ คือไดสุเกะโนะโจ บิโตะ (Daisukenojo Bito) ยมทูตที่เรียกตัวเองว่า “บีท” (Beat)[8] โดยบีทต้องการเป็นยมทูตเพื่อหาหนทางทำให้ไรมุ บิโตะ (Raimu Bito) (ชื่อเล่นว่า "ไรม์ : Rhyme") น้องสาว ฟื้นคืนชีพอีกครั้ง โดยที่ไรม์ได้สละตนเองเพื่อปกป้องพี่ชายจากการโจมตีของนอยส์[9] ซานาเอะ ฮาเนโคมะ (Sanae Hanekoma) ผู้ทำหน้าที่เป็นโปรดิวเซอร์ (Producer) ของเกมยมทูต ได้นำวิญญาณของเธอมาสร้างเป็นเข็มกลัดที่ทำให้สามารถเรียกร่างนอยส์ของเธอออกมาได้ และได้มอบเข็มกลัดนี้ให้บีทต่อมามิทสึกิ โคนิชิ (Mitsuki Konishi) เกมมาสเตอร์ (Game Master) ตนสุดท้าย ได้ทำลายร่างนอยส์ของไรม์ทำให้กลับกลายเป็นเข็มกลัดเช่นเดิม

นอกจากคอมโพเซอร์และคอนดัคเตอร์แล้ว ยังมียมทูตระดับสูงตนอื่น ๆ อีก[10] ในเกมยมทูตแต่ละสัปดาห์ คอนดัคเตอร์จะมอบหมายยมทูตตนหนึ่งให้เป็นเกมมาสเตอร์ที่ทำหน้าที่ควบคุมการขัดขวางผู้เล่น ในบรรดาเกมมาสเตอร์ที่คอยขัดขวางเนกุนั้น โช มินามิโมโตะ (Sho Minamimoto) ถือว่าเป็นเกมมาสเตอร์ที่อันตรายที่สุด อันเนื่องมาจากเป็นผู้ที่หลบเลี่ยงกฎเพื่อหาหนทางแย่งตำแหน่งจากคอมโพเซอร์[11] ยมทูตเข้ามามีส่วนร่วมในเกมเพื่อให้ได้พิจารณาเลื่อนขั้นจากประสิทธิภาพการดำเนินเกม อันนำไปสู่การกลายสภาพเป็นเทวทูต (Angel) ซึ่งเป็นรูปแบบจิตวิญญาณระดับสูงสุด[12] โดยเทวทูตจะคอยดูแลตรวจตราเกมยมทูต ถ้าเกมมีความเสี่ยงมาก เทวทูตตนหนึ่งจะได้รับมอบหมายให้ลงมาทำหน้าที่เป็นโปรดิวเซอร์[13] ตามเรื่องราวในเกมตลอดสามสัปดาห์ โปรดิวเซอร์ของเกมยมทูตคือ ซานาเอะ ฮาเนโคมะ โดยได้แฝงตัวเป็นเจ้าของร้านกาแฟในชิบุยะ คอยให้คำแนะนำผู้เล่นเกมยมทูตที่เพิ่งเข้าร่วมเกม และบันทึก “รายงานลับ" (Secret Reports) ที่จะได้รับมาเมื่อทำภารกิจเสริมหลังจากเล่นเกมจบหนึ่งรอบแล้ว

เนื้อเรื่อง

แก้

เรื่องราวภายในเกมเป็นเรื่องราวของเนกุตลอด 3 สัปดาห์ที่เข้าร่วมเล่นเกมยมทูต โดยมีคู่หูในแต่ละสัปดาห์คือ ชิกิ โจชัว และบีท ในระยะแรกเนกุยังสับสนด้วยไม่รู้ว่าตนเองเสียชีวิตอย่างไรและเข้ามายัง UG ได้อย่างไร จนกระทั่งเมื่อเขาได้สานสัมพันธ์ต่อคู่หูและเริ่มเข้าใจในกฎของเกมยมทูต ก็เริ่มระลึกถึงเหตุการณ์การเสียชีวิตของตนเองได้บ้างเล็กน้อย จนกระทั่งจำได้ว่าตนเองถูกโช มินามิโมโตะ ยมทูตตนหนึ่งที่ได้พบระหว่างเล่นเกม ยิงด้วยปืน หลังจากสัปดาห์แรก มีเพียงชิกิที่ได้รับเลือกให้ฟื้นคืนชีพอีกครั้ง และเธอสัญญาว่าจะรอพบกับเนกุอีกครั้งที่รูปปั้นฮาจิโกะ[14][15] แต่เนื่องจากขณะนั้นชิกิคือสิ่งที่มีค่าที่สุดสำหรับเนกุ เธอจึงถูกใช้เป็นค่าเข้าร่วมเกมของเนกุในสัปดาห์ที่ 2 เมื่อเกมในสัปดาห์ที่ 2 สิ้นสุดลง โจชัวได้สละตนเองปกป้องเนกุจากระเบิดของมินามิโมโตะ

เนื่องจากเนกุและโจชัวทำผิดกฎของเกม เกมในสัปดาห์ที่ 2 จึงถือว่าเป็นโมฆะ เนกุถูกบังคับให้เข้าร่วมเล่นเกมอีกเป็นครั้งที่ 3 โดยค่าเข้าร่วมเล่นเกมครั้งนี้คือผู้เล่นคนอื่น ๆ ทุกคน ทำให้เนกุไม่สามารถทำข้อตกลงเป็นคู่หูกับผู้เล่นคนใดได้ และไม่สามารถต่อสู้กับนอยส์ได้ แต่บีทได้ออกจากการเป็นยมทูตมาสมทบกับเนกุ เนกุและบีทพบว่ายมทูตและคนทั้งหมดในชิบุยะสวมเข็มกลัดพิเศษสีแดงที่ทำให้ผู้สวมใส่มีความคิดเหมือนกันทั้งหมด ทั้งสองไม่ได้รับมอบหมายภารกิจใด ๆ ในการดำเนินเกม แล้วได้เข้าไปยัง “แม่น้ำชิบุยะ” (Shibuya River) สถานที่ที่โจชัวเคยค้นหาเมื่อสัปดาห์ที่ 2 ที่นั่นทั้งสองได้พบกับเมงุมิ คิตานิจิ (Megumi Kitaniji) คอนดักเตอร์ของเกมยมทูต คิตานิจิอธิบายว่าได้สร้างเข็มกลัดสีแดงขึ้นเพื่อสร้างชิบุยะขึ้นมาใหม่ อันเป็นสิ่งที่คอมโพเซอร์ท้าประลองกับเขา ซึ่งหากเขาทำไม่สำเร็จชิบุยะจะถูกลบทิ้ง[16][17]

ในขณะนั้นโจชัวกลับมาปรากฏตัวอีกครั้ง และเปิดเผยว่าตนเองคือคอมโพเซอร์ โจชัวได้คืนความทรงจำเกี่ยวกับเหตุการณ์การเสียชีวิตให้เนกุ ทำให้เนกุจำได้ว่าโจชัวคือผู้ที่ยิงสังหารตนเอง เพื่อให้เป็นตัวแทนในการท้าประลองกับคิตานิจิ โดยที่ขณะนั้นมินามิโมโตะพยายามสังหารโจชัวในร่างมนุษย์เพื่อแย่งชิงตำแหน่งคอมโพเซอร์ โจชัวได้ท้าประลองกับเนกุเป็นครั้งสุดท้ายด้วยปืน เพื่อตัดสินชะตากรรมของชิบุยะ เนกุรู้สึกสับสนจนไม่อาจยิงโจชัวได้ จึงถูกโจชัวยิง[18] ต่อมาเนกุพบว่าตนเองกลับมาอยู่ที่ scramble crossing โดยยังคงสับสนต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

game's credits แสดงเหตุการณ์ใน 7 วันถัดมาเนกุไปพบกับบีท ไรม์ และชิกิ (ในรูปลักษณ์ที่แท้จริง) ที่รูปปั้นฮาจิโกะ สื่อให้เห็นว่าเนกุและเพื่อน ๆ ได้กลับมายัง RG ในที่สุด[19] รายงานลับที่จะได้รับหลังจากทำภารกิจเสริมหลังเล่นเกมจบ เปิดเผยว่า หลังจากโจชัวเห็นความเปลี่ยนแปลงด้านบุคลิกภาพของเนกุตลอดเวลาที่เล่นเกมยมทูต ได้ตัดสินใจปล่อยให้ชิบุยะยังคงอยู่ และเชื่อว่าเป็นสถานที่ที่วิเศษแล้ว[20]

ระบบการเล่น

แก้

The World Ends with You เป็นเกมแนว action role-playing ที่แบ่งเนื้อเรื่องออกเป็น 3 บทตามสัปดาห์ที่เนกุเล่นเกมยมทูต โดยที่แต่ละบทจะแบ่งย่อยออกตามแต่ละวันในสัปดาห์ ผู้เล่นจะบังคับเนกุและคู่หูให้ออกสำรวจในชิบุยะเพื่อทำภารกิจในแต่ละวันให้สำเร็จ แม้ว่าสำหรับเนกุและคู่หูแล้ว ภารกิจส่วนใหญ่จะถูกจำกัดเวลา แต่การจำกัดเวลานี้ไม่ได้มีผลถึงการเล่นเกมของผู้เล่น[21]

ชิบุยะแบ่งออกเป็นพื้นที่ต่าง ๆ มากมาย บางพื้นที่อาจไม่สามารถเข้าถึงได้ในเนื้อเรื่องวันใดวันหนึ่ง หรือถูกกำแพงปิดกั้นไว้ ซึ่งจะเปิดกำแพงได้โดยทำตามคำสั่งของยมทูตที่อยู่ใกล้กับกำแพง เช่น ลบสัญลักษณ์ของนอยส์ สวมใส่เสื้อผ้าตาม Brand ที่กำหนด, หรือหาไอเทมที่กำหนด เนกุสามารถ scan พื้นที่ต่าง ๆ ได้โดยใช้เข็มกลัดพิเศษ การ scan นี้จะแสดงให้เห็นความคิดของตัวละครที่ไม่ใช่ผู้เล่นเกมยมทูตที่อยู่ใน Realground และทำให้ได้รับ memes ซึ่งอาจช่วยในการดำเนินเรื่อง[5] และยังแสดงให้เห็นสัญลักษณ์ของนอยส์ที่สุ่มปรากฏออกมาในพื้นที่ หรือในบางกรณีอาจพบอยู่ที่ตัวละครเฉพาะ ผู้เล่นจะเริ่มการต่อสู้ได้โดยเลือกสัญลักษณ์นอยส์ แต่ละสัญลักษณ์จะทำให้เกิดฉากต่อสู้ 1 ครั้ง ถ้าเลือกสัญลักษณ์นอยส์มากกว่า 1 อัน ในครั้งเดียว จะทำให้เกิดฉากต่อสู้ติดต่อกันมากกว่าหนึ่งครั้ง ซึ่งจะมีความยากมากขึ้นในแต่ละครั้ง แต่เมื่อจบการต่อสู้ก็จะได้รับรางวัลในระดับสูงมากขึ้น การปรับระดับความยากของนอยส์และพลังชีวิตของเนกุและคู่หูก็จะทำให้ค่าประสบการณ์และไอเทมที่ได้รับหลังจบการต่อสู้เปลี่ยนแปลงไปเช่นกัน[22]

แต่ละพื้นที่ของชิบุยะจะมีกระแสแฟชั่นที่มีผลต่อการเล่นเกม การสวมใส่เข็มกลัดหรือเสื้อผ้าของ brand ได้รับความนิยมมากในพื้นที่นั้น จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของอุปกรณ์ ในทางตรงกันข้าม หากสวมใส่ไอเทมที่ตามกระแสน้อยที่สุดในพื้นที่ ก็จะลดประสิทธิภาพของไอเทมนั้น อย่างไรก็ตาม ผู้เล่นสามารถเพิ่มความนิยมใน brand ในแต่ละพื้นที่ได้โดยสวมใส่ไอเทมที่เป็น brand นั้น ๆ แล้วเข้าฉากต่อสู้ในพื้นที่นั้นหลาย ๆ ครั้ง[5] ผู้เล่นสามารถซื้อเข็มกลัด เสื้อผ้า และอาหารใหม่ ๆ ได้จากร้านค้า โดยเมื่อตัวละครใช้ไอเทมประเภทอาหารแล้วเข้าฉากต่อสู้เพื่อให้อาหารย่อย จะช่วยเพิ่มค่าสถานะพื้นฐานของตัวละครเมื่ออาหารย่อยหมดแล้ว[5]

หลังจากเล่นเกมจบแล้วหนึ่งรอบ ผู้เล่นสามารถกลับไปเล่นในเนื้อเรื่องของวันใดก็ได้ โดยยังคงมีค่าสถานะและไอเทมเหมือนขณะที่เล่นเกมจบ เมื่อทำภารกิจในเนื้อเรื่องแต่ละวันได้สำเร็จอีกครั้ง จะได้รับ “รายงานลับ” ที่จะเปิดเผยเรื่องราวเบื้องหลังของเกม[23] และยังสามารถเลือกเล่นเนื้อเรื่องในส่วน “Another Day” ได้จากหน้ารายการเลือก ซึ่งเป็นเนื้อเรื่องเสริมที่อธิบายเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อเรื่องหลัก นอกจากนี้ The World Ends with You ยังมี minigame ที่เรียกว่า Tin Pin Slammer (หรือ Marble Slash) ที่สามารถเล่นแข่งขันกับคอมพิวเตอร์ หรือกับผู้เล่นไม่เกิน 3 คนที่เชื่อมต่อสัญญาณไร้สายร่วมกัน Tin Pin Slammer คล้ายคลึงกับ marble game ringer โดยผู้เล่นจะใช้เข็มกลัดของตนเองโจมตีเข็มกลัดของคู่ต่อสู้ให้ออกจากกระดานเกม

เข็มกลัด

แก้

ส่วนสำคัญของ The World Ends with You คือ psych pins ซึ่งเป็นเข็มกลัดประดับที่มีพลังที่เนกุสามารถใช้ได้เพียงผู้เดียวขณะสวมใส่ psych pins จะใช้ในการต่อสู้ ใน “Tin Pin Slammer/Marble Slash” หรือใช้สำหรับแลกเปลี่ยนเป็นเงิน เข็มกลัดส่วนใหญ่จะมีพลังมากขึ้นเมื่อผู้เล่นได้รับ “Pin Points” (PP) โดยเฉพาะเข็มกลัดที่ใช้ในการต่อสู้ ซึ่งจะทำให้เข็มกลัดมีวิวัฒนาการไปเป็นรูปแบบที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น Pin Points จะได้รับหลังจบการต่อสู้ ได้รับในระหว่างที่ไม่ได้เล่นเกม หรือโดยการเชื่อมต่อกับเครื่องดีเอสเครื่องอื่น ๆ หรือแหล่งสัญญาณไร้สายบางแหล่ง[5]

การต่อสู้

แก้
 
เนกุและชิกิต่อสู้กับนอยส์ในพื้นที่ที่แตกต่างกันใกล้กับสถานที่เดียวกัน psych pins ของเนกุจะแสดงบนมุมซ้ายบนของจอล่าง และระบบการ์ดของชิกิจะแสดงที่ส่วนล่างของจอบน ตัวละครทั้งสองใช้แถบพลังชีวิตร่วมกัน โดยแสดงบนทั้งสองจอที่ด้านขวา

ระบบการต่อสู้ของเกมนี้เรียกว่า Stride Cross Battle System ฉากการต่อสู้จะแสดงผลบนจอภาพทั้งสองจอของดีเอส โดยส่วนของเนกุจะแสดงบนจอสัมผัส และส่วนของคู่หูจะแสดงบนจอบน สื่อถึงพื้นที่ที่แตกต่างกันในสถานที่เดียวกัน ซึ่งตัวละครทั้งสองจะต้องต่อสู้กับศัตรูเดียวกันที่มีตัวตนอยู่ในทั้งสองพื้นที่ในเวลาเดียวกัน ระบบการต่อสู้ของเนกุและคู่หูจะมีความสอดคล้องกัน กล่าวคือ ใช้แถบพลังชีวิตร่วมกัน ซึ่งหากตัวละครตัวใดตัวหนึ่งได้รับความเสียหายมากเกินไป ตัวละครทั้งสองจะแพ้ในการต่อสู้ แม้ว่าตัวละครอีกตัวหนึ่งจะไม่ถูกศัตรูโจมตีเลยก็ตาม[5] "light puck" สีเขียวจะปรากฏขึ้นระหว่างตัวละครทั้งสองขณะต่อสู้ เมื่อตัวละครมี puck นี้เกิดขึ้น พลังโจมตีจะเพิ่มมากขึ้น การเคลื่อนไหวของ light puck นี้ขึ้นอยู่กับ "sync ratio" ระหว่างเนกุและคู่หู ยิ่งตัวละครมี sync ratio มาก puck จะยิ่งคงอยู่ได้นานมากขึ้น ผู้เล่นสามารถสวมใส่เสื้อผ้าให้เนกุและคู่หูเพื่อปรับเปลี่ยนค่าความเร็วของ light puck ได้[21]

ผู้เล่นจะควบคุมเนกุด้วยการเคลื่อนไหว stylus บนจอสัมผัสตามที่กำหนดไว้ที่เข็มกลัดที่สวมใส่ การเคลื่อนไหวเหล่านี้อาจเป็นการฟันที่ตัวศัตรู แตะจอหลายครั้งติดต่อกันเพื่อยิงกระสุน หรือแตะตัวศัตรูค้างไว้เพื่อสร้างความเสียหาย และมีเข็มกลัดบางชนิดที่จะใช้งานได้โดยแตะเลือกเข็มกลัดนั้น ๆ ขณะต่อสู้ เช่น เข็มกลัดสำหรับฟื้นฟูพลังชีวิต[5] เข็มกลัดแต่ละชนิดจะมีจำนวนครั้งที่ใช้ได้จำกัด เมื่อใช้ครบตามที่กำหนดไว้แล้ว จะต้องใช้เวลาปลุกพลังขณะต่อสู้ระยะหนึ่ง แต่เข็มกลัดบางชนิดเมื่อใช้ครบจำนวนครั้งแล้วจะไม่สามารถปลุกพลังอีกเลยจนกว่าการต่อสู้จะจบลง เมื่อแรกเริ่มเกมเนกุจะสวมใส่เข็มกลัดได้เพียงสองอัน แต่สามารถยกระดับให้สามารถสวมใส่ได้สูงสุดถึงหกอัน[21]

ผู้เล่นสามารถบังคับคู่หูของเนกุบนจอบนหรือปล่อยให้คอมพิวเตอร์ควบคุมเองก็ได้ คู่หูของเนกุจะมีกลไกแบบการ์ดเกม ตัวอย่างเช่น การ์ดเกมของชิกิจะต้องจับคู่ Zenar card ที่คว่ำอยู่[5] คู่หูสามารถโจมตีแบบพื้นฐานได้โดยกดปุ่มลูกศรตามที่แสดงบนจอบนตามลำดับเพื่อเลือกการ์ด เมื่อบังคับปุ่มลูกศรไปจนถึงการ์ดที่ตรงตามกฎของการ์ดเกม ผู้เล่นจะได้รับสัญลักษณ์รูปดาว เมื่อได้รับสัญลักษณ์ครบตามจำนวนที่กำหนดไว้ จะสามารถใช้ท่าโจมตี "Fusion" ที่เนกุและคู่หูจะโจมตีร่วมกัน โดยกดเลือก "Harmonizer Pin" ที่ปรากฏขึ้นที่มุมขวาบนของจอสัมผัส[5] และผู้เล่นยังสามารถบังคับให้ตัวละครคู่หูหลบหลีกการโจมตีของศัตรูได้อีกด้วย[5]

การพัฒนา

แก้

The World Ends with You พัฒนาโดยทีมพัฒนาเดียวกับที่สร้างซีรีส์ คิงดอมฮารตส์ ร่วมกับบริษัท Jupiter ที่พัฒนา Kingdom Hearts: Chain of Memories การพัฒนาเริ่มต้นขึ้นเมื่อ 2 ปีครึ่งก่อนวางจำหน่ายฉบับภาษาญี่ปุ่น ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่พัฒนา คิงดอมฮารตส์ II และการพัฒนา Kingdom Hearts: Chain of Memories ได้เสร็จสิ้นแล้ว[24] ขณะนั้นนินเทนโดได้ประชาสัมพันธ์เครื่องดีเอส แต่ยังไม่ได้วางจำหน่าย สแควร์เอนิกซ์ได้มอบหมายให้ทีมพัฒนาสร้างเกมสำหรับเครื่องเล่นขนาดพกพาโดยเฉพาะ[24] ทีมงานสร้างเกมอันประกอบไปด้วย ทัทสึยะ คันโดะ (ผู้กำกับ) โทะโมะฮิโระ ฮะเซะงะวะ (co-director) ทะเคะชิ อะระคะวะ (planning director) และเท็ทสึยะ โนะมุระ (ออกแบบตัวละคร) มีโอกาสได้ลองใช้เครื่องดีเอสภายในงาน "Touch DS" เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2547[25] จากการทดลองใช้ครั้งนั้น ทีมงานได้นึกถึงการนำรูปแบบการเล่นของ Chain of Memories มาประยุกต์เข้ากับเครื่องดีเอส โดยจอล่างจะแสดงผลส่วนของการ์ดเกม และจอบนแสดงส่วนของ action role-playing game เมื่อเริ่มพัฒนาเกม ทีมผู้พัฒนาต้องการให้เกมที่กำลังสร้างนี้ใช้จอสัมผัสมากขึ้น เพื่อสร้าง "เกมที่สามารถเล่นได้บนเครื่องดีเอสเท่านั้น"[25] แต่ก็ต้องพบปัญหาที่ว่า เมื่อมุ่งให้ความสำคัญกับจอสัมผัสมาก จอบนจะถูกมองข้าม จากจุดนี้จึงเกิดความคิดที่จะสร้างระบบการต่อสู้ที่ใช้จอภาพทั้งสองพร้อม ๆ กัน[25] ทีมผู้พัฒนาได้ทดลองทางเลือกมากมายสำหรับเกมส่วนของจอบน อย่างเช่น การต่อสู้แบบใช้คำสั่ง หรือเกมดนตรี แต่เมื่อลองพิจารณาจากมุมมองของผู้เล่นแล้ว ท้ายที่สุดจึงใช้ระบบการ์ดเกมสำหรับให้ผู้เล่นเลือกควบคุมเกมได้ตามที่ต้องการ[26] แม้เมื่อสร้างเกมฉบับภาษาญี่ปุ่นเสร็จเรียบร้อยแล้ว แต่ทีมงานยังคงเกรงว่าระบบสองจอภาพจะยุ่งยากเกินไปสำหรับผู้เล่นในต่างประเทศ และได้เปลี่ยนกลไกการ์ดเกมให้เป็น special meter ที่จะมีค่าคะแนนเพิ่มมากขึ้นจากการโจมตีธรรมดาของเนกุ แต่ส่วนนี้ไม่สามารถทำได้เสร็จสิ้นทันการวางจำหน่าย[26] อย่างไรก็ตาม ทีมงานสามารถแก้ไขส่วนของ Tutorial ขณะเริ่มต้นเล่นเกมในฉบับอเมริกาเหนือที่มีข้อความมากเกินไปได้ ซึ่งช่วยลดปริมาณการแสดงผลข้อความ และทำให้ผู้เล่นสามารถข้าม Tutorial ไปได้ ส่วนของระบบ "Active Encounter" ซึ่งทำให้ผู้เล่นสามารถเลือกได้ว่าจะเข้าสู่ฉากต่อสู้เมื่อไรและอย่างไร ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาโดยเฉพาะเพื่อไม่ให้เกมน่าเบื่อมากเกินไป ซึ่งเป็นปัญหาที่พบในระบบ RPG ส่วนใหญ่[26] และทีมงานยังได้พัฒนากลไกที่ทำให้สามารถ scan ตัวละครที่ไม่สามารถบังคับได้ เพื่ออ่านความคิดตัวละครเหล่านั้น แต่ขณะนั้นยังไม่สามารถนำระบบใส่เข้าไปในเกมได้[26]

 
บรรยากาศในเกมส่วนใหญ่จำลองมาจากย่านชิบุยะของจริง โดยนำเสนอ scramble crossing ใกล้กับ the 109 department store (ด้านซ้ายในภาพ) เป็นจุดสำคัญ และนำไปใช้เป็นภาพฉากหลังบนปกเกม

ในการทำให้เกมมีความเป็นเอกลักษณ์มากขึ้น ผู้ออกแบบจึงต้องการจำลองสถานที่จริงมาสร้างเป็นบรรยากาศในเกม[25] ในระยะแรกได้วางแผนว่าจะจำลองจากสถานที่หลายแห่งทั่วโลก ต่อมาได้จำกัดการเลือกสถานที่ให้อยู่เฉพาะในเมืองที่ต้องการเพื่อให้สามารถสร้างบรรยากาศได้อย่างสมจริงที่สุด ในที่สุดในปีแรกของขั้นตอนการพัฒนา คนโดะได้ตัดสินใจเลือกชิบุยะเป็นสถานที่หลัก กระนั้นก็ยังมีความกังวลว่าผู้เล่นในต่างประเทศจะไม่คุ้นเคยกับบรรยากาศภายในเกม[26] ทีมงานต้องการให้ยืนยันได้ว่าเกมจะนำเสนอบรรยากาศของชิบุยะได้อย่างสมจริง[25] จึงออกถ่ายภาพเมืองตามดาดฟ้าอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต[27] แล้วจำลองแบบแผนผังชิบุยะสำหรับเกม โดยยังคงสถานที่สำคัญในโลกจริงไว้ แต่ได้เปลี่ยนชื่อร้านค้าและอาคารต่าง ๆ ด้วยเหตุผลด้านลิขสิทธิ์ ตัวอย่าง 109 Building ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น "104 Building" ขณะที่ร้านสตาร์บัคส์ที่อยู่ติดกับ scramble crossing ซึ่งเป็นสาขาที่มีผู้ใช้บริการมากที่สุดแห่งหนึ่ง เปลี่ยนชื่อเป็น "Outback Cafe"[5][26][28][29][30] ความสำเร็จของเกมทำให้แฟนเกมออกสำรวจย่านชิบุยะเพื่อชมสถานที่จริงที่ถูกจำลองลงในเกม[26] นอกจากนี้ส่วนอื่น ๆ ในเกมอย่างเช่น อาหาร เสื้อผ้า หรือการใช้โทรศัพท์มือถือ ก็นำ selection ของย่านชิบุยะมาใช้ในเกมเช่นกัน[28] แรกเริ่มนั้นทีมงานมีความคิดที่จะใช้ภาพเขียนตามกำแพงสาธารณะที่มีอยู่ทั่วไปในชิบุยะมาใช้เป็นแหล่งการใช้พลังต่าง ๆ ในเกมของผู้เล่น แต่เนื่องจากส่วนนี้แสดงผลได้ยาก จึงเปลี่ยนเป็นการสร้าง psych pins ขึ้นแทน

ทีมงานตัดสินใจสร้างเกมด้วยกราฟิกสองมิติแทนที่จะเป็นสามมิติ เนื่องจากเชื่อว่าจะสร้างความแตกต่างของเกมนี้จากเกมอื่นของ สแควร์เอนิกซ์ และยังนำเสนอจินตนาการของเกมได้มากกว่า[26] ในขั้นตอนแรกซึ่งเป็นการสร้างรูปแบบศิลปะสำหรับเกม ทะคะยุกิ โอดะจิ background art director มีความคิดว่าบรรยากาศสมัยใหม่จะทำให้เกมน่าเบื่อเกินไป เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหานี้จึงออกแบบกราฟิกของชิบุยะให้มีลักษณะเอนเอียงและเป็นเหลี่ยมมุม ซึ่ง Creative team คนอื่นก็พบว่าวิธีนี้ทำให้กราฟิกกลมกลืนกับเกมได้เป็นอย่างดี[27] สำหรับฉากต่อสู้นั้น ฉากหลังของจอบนจะออกแบบเพื่อเน้นความน่าสนใจของภาพ ขณะที่ฉากหลังของจอสัมผัสด้านล่างจะออกแบบเพื่อเน้นระบบการเล่น[31] Ohdachi ยังได้ทำหน้าที่ออกแบบอาร์ตเวิร์กสำหรับ psych pins และผสมผสานศิลปะประชานิยมเข้ากับ tribal design สำหรับกราฟิกในหลาย ๆ ส่วน[27] ในส่วนของการออกแบบตัวละครเป็นหน้าที่ของเท็ทสึยะ โนะมุระ และ Gen Kobayashi[32] ซึ่งออกแบบขึ้นเพื่อให้เข้ากับบรรยากาศของโตเกียวในโลกจริง ต่อมาจึงออกเสื้อผ้าโดยยึดตามบุคลิกของตัวละคร[33] โคะบะยะชิยังได้ทำหน้าที่ออกแบบตัวละครที่บังคับไม่ได้ และบันทึกการนำภาพร่างออกแบบมาสร้างเป็นตัวละครที่สมบูรณ์[34] ฮะเซะงะวะทำหน้าที่ออกแบบนอยส์ โดยต้องการทำให้มีลักษณะที่เป็นสิ่งมีชีวิตก่อนที่จะเน่าเปื่อยเป็นกระดูก[27] และเพื่อให้แสดงออกถึงอารมณ์ของมนุษย์ จึงเลือกใช้สิ่งมีชีวิตที่สื่อถึงความรู้สึก เช่น หมาป่า หรืออีกา[27] การนำเสนอรูปแบบของนอยส์ภายในเกมจะต้องวาด 2D sprites จากหลาย ๆ มุมเพื่อสร้างการเคลื่อนไหวบนจอภาพ รวมทั้งใช้ rotoscoping บน pre-rendered sprites[27] และ สแควร์เอนิกซ์ ต้องประชุมกับ Jupiter หลายครั้งเพื่อยืนยันว่า sprite สอดคล้องกับรูปแบบของเกม ซึ่งคันโดะต้องเดินทางระหว่างโตเกียวและเกียวโตเป็นเวลา 2 ชั่วโมงทุกสัปดาห์เพื่อตรวจสอบการทำงานในส่วนนี้[26]

นอกจากการสร้างเนื้อเรื่องของเกมให้ผู้เล่นรู้สึกถึงภาวะฉุกเฉินและปริศนา ผู้พัฒนายังต้องการนำผู้เล่นไปสู่สถานการณ์ที่ถูกจำเป็นต้องกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยไม่มีคำอธิบาย[27] เริ่มจากสร้างแผนร่างเบื้องต้นของโครงเรื่อง และส่งต่อให้ซะจิเอะ ฮิระโนะ ผู้เขียนบท และยุคะริ อิชิดะ scenario event planer นำไปขยายความต่อ ผลที่ได้นั้นใกล้เคียงกับ initial vision ของเนื้อเรื่องของเกม[27] แต่ยังมีความยากในการแต่งเติมเนื้อเรื่องให้สมบูรณ์ แม้ว่าการพัฒนาจะเป็นไปอย่างราบรื่นประมาณครึ่งหนึ่งของกระบวนการแล้ว ก็ยังมีความเปลี่ยนแปลงที่จะส่งผลต่อการสร้าง Master image ของเกม[26] ในระหว่างการตรวจสอบคุณภาพครั้งสุดท้ายได้พบจุดที่ไม่สอดคล้องกันในเนื้อเรื่องซึ่งจำเป็นต้องแก้ไข[26] และขณะที่ทีมงาน localization ของ สแควร์เอนิกซ์ แปลบทสนทนาและ Interface items ส่วนใหญ่ให้เป็นภาษาอังกฤษและภาษาอื่น ๆ ในยุโรป ก็ยังต้องคงส่วนประกอบที่เป็นภาษาญี่ปุ่นจำนวนมากไว้ดังเดิมเพื่อไม่ให้เสียวัฒนธรรมของเกม[35] อีกทั้งยังมีข้อจำกัดเรื่องขนาดของกรอบสนทนาที่ใช้ในเกม ซึ่งต้องปรับปรุงแก้ไขหลายขั้นตอนเพื่อไม่ให้เสียการสื่อความหมายของเนื้อเรื่อง[35]

ชื่อเกมในภาษาญี่ปุ่นแปลตามตัวอักษรได้ว่า It's a Wonderful World แต่ไม่ได้ใช้คำแปลนี้เป็นชื่อเกมสำหรับวางจำหน่ายในต่างประเทศเนื่องจากปัญหาด้านลิขสิทธิ์[35][36] ดังนั้นจึงตั้งชื่อเกมว่า The World Ends With You สำหรับวางจำหน่ายในอเมริกาเหนือและยุโรป สแควร์เอนิกซ์ ได้ประกาศการสร้างเกมนี้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2549[37] และสองสัปดาห์ต่อมาได้เปิดตัวในงาน 2006 Tokyo Game Show[32] ต่อมาเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2550 สแควร์เอนิกซ์ ประกาศว่าเกมนี้จะวางจำหน่ายในยุโรปและออสเตรเลียในเดือนเมษายน พ.ศ. 2551[38] และวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ได้ประกาศว่าจะวางจำหน่ายในอเมริกาเหนือในฤดูใบไม้ผลิ พ.ศ. 2551[39]

ในการวางจำหน่ายในญี่ปุ่นนั้น บริษัทนินเทนโดได้สร้าง Nintendo DS Lite สีเงินวาว "Wonderful World" edition ขึ้นมาเป็นพิเศษและวางจำหน่ายพร้อมกับเกม[40] ขณะที่ชิโระ อะมะโนะ ได้นำเนื้อเรื่องของเกมในช่วงแรกไปเขียนเป็น two-chapter one-shot manga ตีพิมพ์ลงใน Monthly Shōnen Gangan สองฉบับ และทางเว็บไซต์ของ Square Enix Members เพื่อเผยแพร่ในอเมริกาเหนือ[41]

เพลงประกอบ

แก้

ผู้แต่งและควบคุมเพลงประกอบของ The World Ends with You คือทะเคะฮะรุ อิชิโมะโตะ โดยที่ดนตรีภายในเกมจะผสมผสานจากหลายแนว ทั้งร็อค ฮิปฮอป อิเล็กทรอนิกา เพื่อให้เข้ากับบรรยากาศที่หลากหลายของชิบุยะ[26] สำหรับเพลงประกอบที่เปิดระหว่างแสดงรายชื่อทีมงานเมื่อเล่นเกมจบ มีชื่อว่า Lullaby For You แต่งและขับร้องโดย Jyongri ศิลปินเพลงป๊อปญี่ปุ่น ส่วนนักร้องคนอื่นๆที่ร่วมขับร้องเพลงประกอบของเกม ประกอบด้วย Sawa, มะกิโกะ โนะดะ, Leah, อะยุโกะ ทะนะกะ, ไม มัทสึดะ, Wakako, Hanaeryca, Cameron Strother, Andy Kinlay, Nulie Nurly, และ Londell "Taz" Hicks[42] ทางผู้พัฒนาได้ใช้ Kyuseishu Sound Streamer ของ CRI Middleware ซึ่งเป็น compression algorithm ที่ปกติแล้วจะใช้สำหรับ voice-overs นำมาใช้บีบอัดเพลงประกอบเพื่อให้ใส่เพลงลงในเกมได้มากขึ้น รวมทั้งได้ใช้ภาพเคลื่อนไหวแบบ Flash แทน full motion video cutscenes เพื่อประหยัดเนื้อที่ของเกม ในที่สุดหลังจากแต่งเพลงประกอบและใส่ลงในเกมแล้ว พบว่าเพลงประกอบใช้เนื้อที่จัดเก็บไปประมาณ 1 ใน 4 ของเนื้อที่เกม[26]

อัลบั้มรวมเพลงประกอบอย่างเป็นทางการ ใช้ชื่อว่า The World Ends with You Original Soundtrack (ญี่ปุ่น: すばらしきこのせかい ORIGINAL SOUNDTRACKโรมาจิSubarashiki Kono Sekai Original Soundtrackทับศัพท์: meaning "It's a Wonderful World Original Soundtrack") วางจำหน่ายในญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2550[42] และมีจำหน่ายทางเว็บไซต์ iTunes Stores ที่เป็นภาษาอังกฤษ[43] อย่างไรก็ตามอัลบั้มที่วางจำหน่ายนี้ไม่มีเพลง 4 เพลงที่มีอยู่เฉพาะในอัลบั้มพิเศษสำหรับจำหน่ายในประเทศอื่น ๆ แต่ละประเทศโดยเฉพาะ

The World Ends with You Original Soundtrack
ลำดับชื่อเพลงยาว
1."It's So Wonderful"1:39
2."Twister" (ขับร้องโดย Sawa)1:17
3."Underground" (ขับร้องโดย Nulie Nurly)0:49
4."Long Dream" (ขับร้องโดย มะกิโกะ โนะดะ)3:12
5."Calling" (ขับร้องโดย Leah)3:25
6."Despair"0:27
7."Hybrid" (ขับร้องโดย Sawa)3:04
8."Fighting For Freedom"2:06
9."オーパーツ" ("Ooparts"; ขับร้องโดย อะยุโกะ ทะนะกะ และไม มัทสึดะ)3:34
10."Forebode"0:28
11."Give Me All Your Love" (ขับร้องโดย Wakako)4:21
12."サムデイ" ("Someday"; ขับร้องโดย Sawa)3:40
13."Satisfy" (ขับร้องโดย อะยุโกะ ทะนะกะ)4:01
14."Someday" (ขับร้องโดย Hanaeryca)3:39
15."ツイスター" ("Twister"; ขับร้องโดย ไม มัทสึดะ)3:38
16."Let's Get Together"0:17
17."Slash and Slash" (renamed "Slam Brothers" in the international game release)1:03
18."Amnesia"0:49
19."Rush Hour"0:34
20."imprinting"1:07
21."オワリハジマリ" ("Owari-Hajimari," Japanese for "Ending-Beginning"; ขับร้องโดย Cameron Strother)2:17
22."psychedelic"2:24
23."Game Over" (ขับร้องโดย Andy Kinlay)2:50
24."Dancer In The Street"0:34
25."ハイブリッド" ("Hybrid"; ขับร้องโดย Nulie Nurly)3:05
26."Detonation" (ขับร้องโดย Londell "Taz" Hicks)2:33
27."Black Market"0:33
28."Junk Garage"1:27
29."It Is Fashionable"0:34
30."Noisy Noise"2:14
31."Economical Shoppers"0:28
32."Shibuya"2:08
33."Make or Break" (ขับร้องโดย Hanaeryca)4:08
34."Twister-Remix" (ขับร้องโดย ไม มัทสึดะ)4:32
35."Emptiness and" (unnamed bonus track; the title is taken from the game)3:03
36."Twister-Gang-Mix" (ขับร้องโดย MJR; bonus track on the iTunes Store release)3:31

วันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2551 สแควร์เอนิกซ์ ได้ออก EP ดิจิทัลทั้งหมด 6 เพลงในชื่อว่า Subarashiki Konosekai + The World Ends with You (ญี่ปุ่น: すばらしきこのせかい + The World Ends with YouโรมาจิSubarashiki Kono Sekai + The World Ends with Youทับศัพท์: meaning "It's a Wonderful World + The World Ends with You") จำหน่ายทางเว็บไซต์ iTunes Store ภาษาญี่ปุ่น EP นี้ประกอบด้วย 4 เพลงที่มีเฉพาะในเกมฉบับจำหน่ายในต่างประเทศ รวมทั้งเพลง "Owari-Hajimari" ฉบับภาษาอังกฤษ และเพลง "Twister" ฉบับเรียบเรียงใหม่ ต่อมาในวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 ได้ออกอัลบั้มเต็ม 19 เพลงในชื่อเดียวกันเป็นแผ่นซีดีและจำหน่ายทางเว็บไซต์ iTunes Store เช่นกัน[44]

Subarashiki Konosekai + The World Ends with You – EP
ลำดับชื่อเพลงยาว
1."Déjà Vu" (ขับร้องโดย Joanna Koike)4:07
2."Three Minutes Clapping" (ขับร้องโดย J.D. Camaro)3:10
3."The One Star" (ขับร้องโดย Cameron Strother)3:26
4."Owari-Hajimari" (ขับร้องโดย Cameron Strother)2:23
5."Transformation" (ขับร้องโดย Andy from "Sixpin")3:21
6."Twister -The Twisters-" (ขับร้องโดย MJR & Sawa)4:10


Subarashiki Konosekai + The World Ends with You (album version)
ลำดับชื่อเพลงยาว
1."Twister -Original ver-" (ขับร้องโดย Sawa)2:14
2."Calling -1960s-" (ขับร้องโดย Leah)4:04
3."Give Me All You Love -All my love-" (ขับร้องโดย Wakako)4:19
4."Long Dream -1980s-" (ขับร้องโดย มะกิโกะ โนะดะ)3:37
5."サムデイ -Unplugged-" ("Someday"; ขับร้องโดย Sawa)4:37
6."Make or Break -Black box-" (ขับร้องโดย Hanaeryca)4:10
7."Game Over -Busy Dizzy and Lazy-" (ขับร้องโดย Andy Kinlay)2:53
8."オーパーツ -Give me a chance-" ("Ooparts"; ขับร้องโดย อะยุโกะ ทะนะกะ และไม มัทสึดะ)3:59
9."ハイブリッド -New born-" ("Hybrid"; ขับร้องโดย Nulie Nurly)4:09
10."Twister -That Power is Yet Unknown-" (ขับร้องโดย Sawa)3:56
11."Déjà vu" (ขับร้องโดย Joanna Koike)4:10
12."Transformation" (ขับร้องโดย Andy from "Sixpin")3:26
13."Three Minutes Clapping" (ขับร้องโดย J.D. Camaro)3:15
14."Twister-Gang-Mix" (ขับร้องโดย MJR)3:35
15."The One Star" (ขับร้องโดย Cameron Strother)3:35
16."Owari-Hajimari" (ขับร้องโดย Cameron Strother)3:30
17."Three Minutes Clapping -Live-" (ขับร้องโดย J.D. Camaro)3:22
18."Transformation -Transformed-" (ขับร้องโดย Andy from "Sixpin")3:45
19."Déjà vu -Discoteque-" (ขับร้องโดย Joanna Koike)4:49

กระแสตอบรับ

แก้
การตอบรับ
คะแนนรวม
ผู้รวมคะแนน
เกมแรงกิงส์89%[54]
เมทาคริติก89/100[55]
คะแนนปฏิทรรศน์
สิ่งพิมพ์เผยแพร่คะแนน
เอดจ์8/10[45]
อิเล็กทรอนิกเกมมิงมันท์ลีA-, A-, B[46]
ยูโรเกมเมอร์8/10[21]
แฟมิซือ35/40[47][48]
เกมอินฟอร์เมอร์8.25/10[49]
เกมเรโวลูชันA-/A+[50]
เกมสปอต9.0/10[51]
ไอจีเอ็น9/10[5]
นินเท็นโดเพาเวอร์9/10[52]
เอ็กซ์-เพลย์5/5[53]


The World Ends with You ได้รับคำวิจารณ์เชิงบวกจากสื่อหลายสำนัก ตัวอย่างเช่น นิตยสาร Game Informer ยกให้เป็นสุดยอดเกมบนเครื่องเล่นพกพาประจำเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2551 ขณะที่เว็บไซต์ IGN ยกให้เป็น Editor's Choice และสุดยอดเกมบนเครื่อง DS ประจำเดือนเมษายนในปีเดียวกัน[56] นอกจากนี้เกมยังประสบความสำเร็จในด้านยอดจำหน่าย โดยในญี่ปุ่นมียอดจำหน่ายสูงเป็นอันดับที่ 2 ในบรรดาเกมบนเครื่อง DS ในระหว่างสัปดาห์ของวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2550[57] และเมื่อถึงสิ้นปี เกมมียอดจำหน่ายรวมทั้งปีในญี่ปุ่นเกือบ 193,000 ตลับ[58] สำหรับในอเมริกาเหนือ เกมมียอดจำหน่ายทั้งในสัปดาห์ที่เริ่มจำหน่ายและอีก 2 สัปดาห์ถัดมาสูงที่สุดในบรรดาเกมบนเครื่อง DS[59][60] และมียอดจำหน่ายระหว่างเดือนเมษายน พ.ศ. 2551 อยู่ที่ 43,000 ตลับ[61] จนกระทั่งจำหน่ายได้หมดเมื่อถึงกลางเดือนพฤษภาคม[62] และต้องนำเข้ามาจำหน่ายในอเมริกาเหนือเป็นครั้งที่สองในกลางเดือนมิถุนายน[63] เมื่อถึงวันที่ 30 กันยายนในปีเดียวกัน The World Ends with You มียอดจำหน่ายในอเมริกาเหนือรวมแล้ว 140,000 ตลับ และในยุโรป 20,000 ตลับโดยประมาณ[64]

นักวิจารณ์หลายคนชื่นชมที่เกมนี้แสดงความแตกต่างจากเกมยอดนิยมอื่น ๆ ของสแควร์เอนิกซ์ อย่างซีรีส์ ไฟนอลแฟนตาซี และ คิงดอมฮาร์ตส์[5][56] รวมทั้งในด้านการนำเสนอกราฟิกและเพลงประกอบ[5][21][51] ขณะเดียวกันก็มีความคิดเห็นว่าเมื่อมองดูครั้งแรกจะเห็นว่าตัวละครออกแบบมาคล้ายกับเกมอื่น ๆ ของสแควร์เอนิกซ์ มากเกินไป ซึ่งบางคนไม่พอใจในส่วนนี้[22][51] แม้ว่าเมื่อตัวละครเหล่านี้อยู่ในบรรยากาศของชิบุยะแล้วจะดูมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่ไม่เหมือนเกมอื่นก็ตาม[22] อีกทั้งสื่อบางสำนักก็ติงว่าระบบการต่อสู้แบบ Stride Cross นั้นซับซ้อนเกินไปสำหรับผู้เล่นมือใหม่[22] โดยเว็บไซต์ Eurogamer ได้วิจารณ์ว่าการเรียนรู้ระบบการต่อสู้ที่ซับซ้อนนี้เป็นอุปสรรคสำคัญต่อการเล่นเกมนี้[21] ขณะที่นิตยสาร Gamepro ได้วิจารณ์ว่าการควบคุมท่าโจมตีด้วย Stylus นั้นมีความคลุมเครือ และทำให้บังคับการเคลื่อนไหวและการโจมตีผิดพลาดอยู่บ่อยครั้ง[65] แต่ในอีกด้านหนึ่ง ระบบนี้ก็ได้รับคำชมในด้านวิธีการเล่นและความสามารถปรับความยากของระบบภายในเกม[22][51] นอกจากนี้ คำวิจารณ์ในเว็บไซต์ 1UP.com ได้กล่าวถึงเกมนี้ไว้ว่า "ความจริงแล้วเกมนี้น่าจะดูน่ารำคาญ เต็มไปด้วยปริศนาที่น่าเบื่อหน่าย และซ้ำซากกับเกมอื่น ๆ ของสแควร์เอนิกซ์ แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งต่าง ๆ ที่น่าจะทำให้ทนเล่นเกมไม่ได้กลับประกอบขึ้นเป็นเกมที่มีเอกลักษณ์ น่าสนใจ และทำให้ติดใจได้มากกว่าที่คิดไว้"[22]

The World Ends with You ได้รับรางวัลมากมายจากเว็บไซต์ IGN ได้แก่ best Nintendo DS role-playing game[66], best story for a Nintendo DS game[67], best new IP for the DS[68], และเกม Nintendo DS ยอดเยี่ยมแห่งปี[69] นอกจากนี้ยังได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล best original score for a Nintendo DS game[70] และ best artistic design for a Nintendo DS game[71]

อนิเมะดัดแปลง

แก้
เดอะเวิลด์เอนส์วิทยู ฉบับอนิเมะ
すばらしきこのせかい The Animation
(Subarashiki Kono Sekai Ji Animēshon)
ชื่อภาษาอังกฤษThe World Ends with You: The Animation
สร้างโดยSquare Enix
อนิเมะโทรทัศน์
กำกับโดยคาซูยะ อิจิกาวะ
เขียนบทโดยมิโดริ โกโต
ดนตรีโดยทาเกฮารุ อิชิโมโตะ
สตูดิโอDOMERICA
Shin-Ei Animation
เครือข่ายJNN (MBS, TBS)
เครือข่ายภาษาอังกฤษปีลีปีลี
ฉาย 10 เมษายน พ.ศ. 2564 26 มิถุนายน พ.ศ. 2564
ตอน12

ได้มีการเผยเว็บไซต์ของอนิเมะดัดแปลงจากเกมเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2563 และประกาศอย่างเป็นทางการในวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 ในชื่อว่า เดอะเวิลด์เอนส์วิทยู ฉบับอนิเมะ ออกอากาศตั้งแต่วันที่ 10 เมษายนถึง 26 มิถุนายน พ.ศ. 2564 ทางผังรายการ Super Animeism ของช่อง MBS และ TBS[72][73][74][75][76][a] อนิเมะสร้างโดยความร่วมมือของ Square Enix, DOMERICA, และ Shin-Ei Animation ซีรีส์อนิเมะกำกับโดยคาซูยะ อิจิกาวะ เขียนบทดัดแปลงจากเกมโดยมิโดริ โกโต ออกแบบตัวละครโดยเท็ตซึยะ โนมูระและเก็น โคบายาชิ รับผิดชอบดนตรีประกอบโดยทาเกฮารุ อิชิโมโตะ โปรดิวเซอร์เกมโทโมฮิโกะ ฮิราโนะและผู้กำกับเกมทัตสึยะ คังโดะเป็นผู้กำกับดูแล

อ้างอิง

แก้
  1. Capone, Anthony (2008-04-21). "This Week's Releases - 21/4/08". PALGN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-20. สืบค้นเมื่อ 2008-07-21.
  2. 2.0 2.1 สแควร์เอนิกซ์, Jupiter (2008-04-22). The World Ends with You. สแควร์เอนิกซ์. Level/area: Secret Report 4 — Erased. The UG exists as a separate plane where the Composer can judge the worth of men. Within it are Reapers and human Players. It is infeasible for the Composer to judge all of humanity by himself, so a filtering system utilizing the Reapers was created: the Reapers' Game. Reapers act as a test, weeding out unfit Players.
  3. สแควร์เอนิกซ์, Jupiter (2008-04-22). The World Ends with You. สแควร์เอนิกซ์. Level/area: Secret Report 7 — Wakeless Dream. So, what happens to those who survive the week? Those whose Imagination is less than outstanding are broken down into Soul, while those with excellent Imagination become Reapers. The most talented of these may travel to the next plane, inhabited by Us Angels.
  4. สแควร์เอนิกซ์, Jupiter (2008-04-22). The World Ends with You. สแควร์เอนิกซ์. Level/area: Secret Report 4 — Erased. Reaper or player, those erased within the Game disperse the mind and spirit housed within their flesh in the form of Soul. Thus, they are erased only from visible existence: their Soul persists in the UG until gathered and tied together according to a new code.
  5. 5.00 5.01 5.02 5.03 5.04 5.05 5.06 5.07 5.08 5.09 5.10 5.11 5.12 5.13 5.14 Bozon, Mark (2008-04-16). "The World Ends With You". IGN. สืบค้นเมื่อ 2008-06-19.
  6. 6.0 6.1 Jupiter. The World Ends with You (นินเทนโดดีเอส). สแควร์เอนิกซ์. Shiki: I heard you can only beat the Noise in pairs. But I fought them alone. / Neku: Umm, me too… / Shiki: I couldn’t see you while I was fighting. / Reaper: That’s because he was in the other zone. / Shiki: Huh? / Reaper: The Noise exist simultaneously in two zones. And the only way to defeat them is by purging them from both.
  7. Jupiter. The World Ends with You (นินเทนโดดีเอส). สแควร์เอนิกซ์. Shiki: Because this is what I always dreamed of—a new me. I hated who I was. All I wanted was to like myself. To be cute, and smart, and perfect…like Eri. / Neku: …… Then why would the Reapers take your appearance? Your entry fee is supposed to be what you value most. But you just said you hate yourself. / Shiki: At first…I didn’t get it either. I was so excited to be Eri that I even acted like her—all bubbly and cute. But it was just an act. Inside, nothing changed. I’m still the same person I’ve always been. Then I realized. I’ll never be Eri. Deep down, I never wanted to be. I was just jealous. The Reaper was right. What I value most is ME!
  8. สแควร์เอนิกซ์, Jupiter (2008-04-22). The World Ends with You. สแควร์เอนิกซ์. Level/area: Secret Report 15 — Sensible, Senseless. He's partnered to Beat, now a reaper, who is himself fixated on reaching the river.
  9. สแควร์เอนิกซ์, Jupiter (2008-04-22). The World Ends with You. สแควร์เอนิกซ์. Level/area: Secret Report 17 — The Composer. She has issued a single six-day mission-one that exploits Beat's greatest weakness: Rhyme. […] Beat's greatest desire is to bring her back to life. Even if revived, though, Rhyme still lost the Game.
  10. สแควร์เอนิกซ์, Jupiter (2008-04-22). The World Ends with You. สแควร์เอนิกซ์. Level/area: Secret Report 7 — Wakeless Dream. As Reapers execute the Game, they undergo a process of evolution, from grunts to officers to the Composer.
  11. สแควร์เอนิกซ์, Jupiter (2008-04-22). The World Ends with You. สแควร์เอนิกซ์. Level/area: Secret Report 11 — Pinned. As I've stated, Minamimoto is suspected of a liaison with a Fallen Angel. The Fallen Angel may have chosen Minamimoto for a few reasons. First, none desired of the Composer's office more. Minamimoto's obsession was great enough to compel him to pursue the Composer into the Realground. […] The question now is, why has Minamimoto abandoned the Game, and what is he doing?
  12. สแควร์เอนิกซ์, Jupiter (2008-04-22). The World Ends with You. สแควร์เอนิกซ์. Level/area: Secret Report 7 — Wakeless Dream. Diligent Reapers, too, may pass through the office of Composer to ascend to the plane of Angels.
  13. สแควร์เอนิกซ์, Jupiter (2008-04-22). The World Ends with You. สแควร์เอนิกซ์. Level/area: Secret Report 5 — Empty Urban Legends. Conversely, there exists an even higher plane than the RG and UG. That is where I am from, the plane of the Angels. As in the RG and UG, Angels have created a web of social schema to guide their activities. Their role of Producer is just one cog in the Angel machine. Angel vibes are extremely high-frequency; not even the Composer can catch them all. In actuality, he can pick up only that of the Producer.
  14. Jupiter. The World Ends with You (Nintendo DS). สแควร์เอนิกซ์. Shiki: You know it. Hey, if we make it through this…let’s meet up in the RG. You, me, and Beat. You might not recognize me, so…I know! I’ll bring Mr. Mew with me. We can be a team again!
  15. Jupiter. The World Ends with You (Nintendo DS). สแควร์เอนิกซ์. Shiki: Neku? See you on the other side. You know the meeting place. Hachiko! / Neku: Heh. It’s a date.
  16. Jupiter. The World Ends with You (Nintendo DS). สแควร์เอนิกซ์. Kitaniji: End…Shibuya? But Composer…Sir! Why!? / Joshua: I’ve decided to wash my hands of it. It has no future value to me or anyone else. So, I’m shutting it down.
  17. Jupiter. The World Ends with You (Nintendo DS). สแควร์เอนิกซ์. Kitaniji: By tearing down the differences between us, I can make the world a paradise! / Neku: By making everybody think alike? That’s not even pos— / Kitaniji: It IS possible! With these pins. / Neku: The Red Skull pins. You’re behind that, too!?
  18. Jupiter. The World Ends with You (Nintendo DS). สแควร์เอนิกซ์. Neku: Huff…huff… It was you! …… I thought… I thought I finally found a friend I could relate to… But it was YOU! You killed me! / Joshua: Hee hee. Now, Neku, why don’t we play one last Game? / Neku: You tricked me… / Joshua: The winner gets to be the Composer, and do whatever he likes with Shibuya. If you win, you decide. If I win, I’ll decide. …Of course, I’ve already decided.
  19. Jupiter. The World Ends with You (Nintendo DS). สแควร์เอนิกซ์. Neku: I can’t forgive you, but I trust you. You took care of things, right? Otherwise, Shibuya would be gone and my world with it. Hey, did I mention I’ve got friends now? We’re meeting for the first time in a week. See you there?
  20. Jupiter. The World Ends with You (Nintendo DS). สแควร์เอนิกซ์. However, [the Composer] has stayed his decision to destroy Shibuya. It seems the course of the Game has brought about a change of heart in the Composer. Yes, Shibuya persists—but it is no longer the same city it was a month ago. […] Today, Shibuya has shifted into what We Angels believe to be the optimal parallel coli.
  21. 21.0 21.1 21.2 21.3 21.4 21.5 Whitehead, Dan (2008-04-24). "The World Ends With You". Eurogamer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-30. สืบค้นเมื่อ 2008-06-19.
  22. 22.0 22.1 22.2 22.3 22.4 22.5 Parish, Jeremy (2008-04-17). "Reviews: The World Ends With You". 1UP.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-03. สืบค้นเมื่อ 2008-06-19.
  23. den Ouden, Adriaan. "The World Ends With You - Staff Review". RPGamer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-03. สืบค้นเมื่อ 2008-08-15.
  24. 24.0 24.1 "Creator's Roundtable, Episode 1". สแควร์เอนิกซ์. 2007. สืบค้นเมื่อ 2008-06-18.
  25. 25.0 25.1 25.2 25.3 25.4 "Creator's Roundtable, Episode 2". สแควร์เอนิกซ์. 2007. สืบค้นเมื่อ 2008-06-18.
  26. 26.00 26.01 26.02 26.03 26.04 26.05 26.06 26.07 26.08 26.09 26.10 26.11 26.12 Arakawa, Takeshi; Hasegawa, Tomohiro; Kando, Tatsuya (October 2008). "Post-Mortem: The World Ends With You". Game Developer. p. 34.
  27. 27.0 27.1 27.2 27.3 27.4 27.5 27.6 27.7 "Creator's Roundtable, Episode 3". สแควร์เอนิกซ์. 2007. สืบค้นเมื่อ 2008-06-18.
  28. 28.0 28.1 Kolan, Patrick (2008-02-12). "The World Ends With You – A สแควร์เอนิกซ์ Fable". IGN. สืบค้นเมื่อ 2008-06-18.
  29. Spenser (2008-03-15). "The World Ends With You versus actual Shibuya". Siliconera. สืบค้นเมื่อ 2008-06-19.
  30. Parish, Jemery (2008-08-01). "Things to do in Tokyo when you're jetlagged: The World Ends With You edition". 1UP.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-16. สืบค้นเมื่อ 2008-08-02.
  31. สแควร์เอนิกซ์ (2008-03-31). "Background Angle Tests". DeviantArt. สืบค้นเมื่อ 2008-06-19.
  32. 32.0 32.1 Nix (2006-09-22). "TGS 2006: It's A Wonderful World". IGN. สืบค้นเมื่อ 2008-06-18.
  33. สแควร์เอนิกซ์ (2008). "Character Design". DeviantArt. สืบค้นเมื่อ 2008-04-23.
  34. สแควร์เอนิกซ์ (2008). "NPC Design". DeviantArt. สืบค้นเมื่อ 2008-04-23.
  35. 35.0 35.1 35.2 McCarthy, Dave (2008-04-17). "Breaking the Language Barrier". IGN. สืบค้นเมื่อ 2008-06-18.
  36. Rogers, Tim (2007-05-31). "This Week in Japan". Next Generation Magazine. สืบค้นเมื่อ 2007-06-20. …a Square-Enix representative at the Square-Enix Party event a few weeks back specifically told us not to officially refer to the game as ‘It's a Wonderful World’, as that name is already copyrighted and will not be used in America…
  37. Gantayat, Anoop (2006-09-13). "It's a Wonderful World". IGN. สืบค้นเมื่อ 2008-06-18.
  38. Hatfield, Daemon (2007-12-05). "It's a Wonderful World Ends with You". IGN. สืบค้นเมื่อ 2008-06-18.
  39. Geddes, Ryan (2007-12-17). "'World Ends With You' Confirmed For U.S." IGN. สืบค้นเมื่อ 2008-06-18.
  40. Ishida, Kadzuo (2007-05-31). "สแควร์เอนิกซ์'s DS "The World Ends with You"-DS Lite Bundle is in a New Glossy Silver Color" (ภาษาญี่ปุ่น). Game Watch. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-18. สืบค้นเมื่อ 2008-08-26.
  41. "The World Ends With You — The Comics". Square Enix North America. สืบค้นเมื่อ 2008-06-19.
  42. 42.0 42.1 "すばらしきこのせかい オリジナル・サウンドトラック:" (ภาษาญี่ปุ่น). สแควร์เอนิกซ์ Music. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-29. สืบค้นเมื่อ 2008-06-19.
  43. RMC (2008-05-03). "The World Ends With You soundtrack hits iTunes". GoNintendo. สืบค้นเมื่อ 2008-06-19.
  44. "すばらしきこのせかい + The World Ends with You" (ภาษาญี่ปุ่น). Square Enix Music. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-28. สืบค้นเมื่อ 2008-06-19.
  45. "Edge Review: The World Ends With You". Edge. 2008-04-21. สืบค้นเมื่อ 2008-06-19.
  46. "The World Ends With You Review". Electronic Gaming Monthly. May 2008. p. 88.
  47. "It's a Wonderful World review". Famitsu (ภาษาญี่ปุ่น). 2007-08-03.
  48. "2007's Famitsu Scores Archive". Famitsu Scores Archive. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-02. สืบค้นเมื่อ 2008-03-31.
  49. Juba, Joe (2008). "The World Ends With You". Game Informer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-16. สืบค้นเมื่อ 2008-06-19.
  50. Damiano, Greg (2008-06-09). "The World Ends With You Review". Game Revolution. สืบค้นเมื่อ 2008-06-20.
  51. 51.0 51.1 51.2 51.3 Ramsay, Randolph (2008-04-22). "The World Ends With You for DS Review". GameSpot. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-10. สืบค้นเมื่อ 2008-06-19.
  52. "The World Ends With You Review". Nintendo Power. May 2008. p. 87.
  53. Mastrapa, Gus (2008-04-25). "G4 - X-Play — Reviews — The World Ends With You". G4. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-03. สืบค้นเมื่อ 2008-04-27.
  54. "The World Ends With You Reviews". Game Rankings. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-08. สืบค้นเมื่อ 2008-06-20.
  55. "World Ends With You, The (ds: 2008)". Metacritic. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-19. สืบค้นเมื่อ 2008-06-20.
  56. 56.0 56.1 Hatfield, Daemon (2008-04-30). "IGN: Game of the Month: April 2008". IGN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-07. สืบค้นเมื่อ 2008-06-19.
  57. Cowan, Danny (2007-07-27). "Saling The World: Guitar Hero Encore Tops Charts in U.S. and UK". Gamasutra. สืบค้นเมื่อ 2008-06-18.
  58. "Japanese 2007 Top 500 Game Sales (by Famitsu)". News 4 Gamers. 2008-06-13. สืบค้นเมื่อ 2008-07-06.
  59. Cowan, Danny (2008-04-24). "Saling The World: The World Ends With You, Persona 3 FES Top Sales in U.S. Debut Week". Gamasutra. สืบค้นเมื่อ 2008-06-18.
  60. Cowan, Danny (2008-05-08). "Saling The World: GTAIV Repeats U.S. and UK Sales Victory". Gamasutra. สืบค้นเมื่อ 2008-06-18.
  61. Red, Carmine (2008-05-27). "April NPD: Nintendo Unfazed By Competition". Nintendo World Report. สืบค้นเมื่อ 2008-06-18.
  62. Cowan, Danny (2008-05-15). "Saling The World: GTA IV, Mario Kart Lead US, Luminous Arc 2 Tops Japan". Gamasutra. สืบค้นเมื่อ 2008-06-18.
  63. Miller, Ross (2008-06-03). "The World Ends With You: new shipment coming mid-June". Joystiq. สืบค้นเมื่อ 2008-06-18.
  64. Ashcraft, Brian (2008-11-10). "Which สแควร์เอนิกซ์ Games Have Been Selling This Year". Kotaku. สืบค้นเมื่อ 2008-11-10.
  65. Ng, Amanda (2008-04-22). "Review: The World Ends With You". GamePro. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-04-24. สืบค้นเมื่อ 2008-06-19.
  66. "IGN DS: Best RPG 2008". IGN.com. 2008-12-15. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-14. สืบค้นเมื่อ 2008-12-16.
  67. "IGN DS: Best Story 2008". IGN.com. 2008-12-15. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-19. สืบค้นเมื่อ 2008-12-16.
  68. "IGN DS: Best New IP 2008". IGN.com. 2008-12-15. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-11-03. สืบค้นเมื่อ 2008-12-16.
  69. "IGN DS: DS Game of the Year 2008". IGN.com. 2008-12-15. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-28. สืบค้นเมื่อ 2008-12-15.
  70. "IGN DS: Best Original Score 2008". IGN.com. 2008-12-15. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-11-01. สืบค้นเมื่อ 2008-12-16.
  71. "IGN DS: Best Artistic Design 2008". IGN.com. 2008-12-15. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-19. สืบค้นเมื่อ 2008-12-16.
  72. "The World Ends With You Anime Unveils 2nd Video, Opening Song, Visuals, April 2021 Debut". Anime News Network. November 23, 2020. สืบค้นเมื่อ November 23, 2020.
  73. Sherman, Jennifer (June 25, 2020). "The World Ends with You RPG Gets Anime". Anime News Network. สืบค้นเมื่อ June 25, 2020.
  74. Lada, Jenni (July 4, 2020). "Funimation Will Stream The World Ends With You Anime". Siliconera. สืบค้นเมื่อ July 4, 2020.
  75. Mateo, Alex (September 18, 2020). "The World Ends With You Anime Previewed in Special Video". Anime News Network. สืบค้นเมื่อ September 18, 2020.
  76. "The World Ends With You Anime Reveals New Video, Opening Theme's Rapper, Visual, April 9 Debut". Anime News Network. February 5, 2021. สืบค้นเมื่อ February 5, 2021.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้


อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref> สำหรับกลุ่มชื่อ "lower-alpha" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="lower-alpha"/> ที่สอดคล้องกัน