เดอะนิวสคูล
เดอะนิวสคูล (อังกฤษ: The New School) เป็นมหาวิทยาลัยในนครนิวยอร์ก อาคารเกือบทั้งหมดตั้งอยู่ในย่านชุมชน Greenwich Village ตั้งแต่ก่อตั้งใน ค.ศ. 1919 โดย US Fabian Socialist และเกือบทั้งหมดของประวัติศาสตร์มหาวิทยาลัย มันเป็นที่รู้จักในชื่อ New School for Social Research ระหว่าง ค.ศ. 1997-2005 มันเป็นที่รู้จักในชื่อ New School University มหาวิทยาลัยและวิทยาลัยต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยได้เปลี่ยนชื่อมาเป็นชื่อปัจจุบัน เมื่อ ค.ศ. 2005
นิวสคูลมีชื่อเสียงในการเรียนการสอนแบบอาวองการ์ด เป็นบ้านของ The World Policy Institute หน่วยงานวิเคราะห์นโยบายที่มีชื่อเสียง และเป็นเจ้าภาพรางวัลหนังสือ National Book Awards อันทรงเกียรติ Parsons The New School for Design เป็นวิทยาลัยศิลปะที่มีอัตราแข่งขันสูงของมหาวิทยาลัย นักศึกษาประมาณ 9,300 คนเข้าศึกษาในหลักสูตรอุดมศึกษาและบัณฑิตศึกษา ซึ่งแบ่งเป็นแปดวิทยาลัย แต่ละวิทยาลัยเปิดสอนหลากหลายสาขาวิชา ซึ่งรวมถึง สังคมศาสตร์, ศิลปศาสตร์, มนุษยศาสตร์, สถาปัตยกรรมศาสตร์, วิจิตรศิลป์, การออกแบบ, ดนตรี, การละคร, การเงิน, จิตวิทยา, และนโยบายสาธารณะ
บัณฑิตวิทยาลัยของเดอะนิวสคูลเริ่มต้นขึ้นใน ค.ศ. 1933 ในชื่อ University in Exile (มหาวิทยาลัยระหว่างเนรเทศ) โดยเป็นโครงการช่วยเหลือเร่งด่วนแก่นักวิชาการที่ถูกข่มขู่ในยุโรป ใน ค.ศ. 1934 มันได้รับการรับรองโดยสภามหาวิทยาลัยแห่งรัฐนิวยอร์กและเปลี่ยนชื่อเป็น Graduate Faculty of Political and Social Science และใช้ชื่อนี้จนกระทั่งเปลี่ยนชื่อมาเป็น New School for Social Research ใน ค.ศ. 2005
ประวัติ
แก้การก่อตั้ง
แก้New School for Social Research ก่อตั้งโดยกลุ่มอาจารย์มหาวิทยาลัยและปัญญาชนใน ค.ศ. 1919 ในฐานะวิทยาลัยเสรีอนาธิปัตย์ (free school) ที่นิยมคุณค่าสมัยใหม่นิยมและก้าวหน้านิยม ที่ซึ่งนักศึกษาผู้ใหญ่สามารถ "ค้นหาความเข้าใจที่ไม่มีอคติต่อระเบียบที่มีอยู่ ความเป็นมาของมัน การเติบโต และการทำงานของมันในปัจจุบัน"[1] ในบรรดาผู้ก่อตั้งนั้นรวมถึง Charles Beard นักประวัติศาสตร์, Thorstein Veblen และ James Harvey Robinson นักเศรษฐศาสตร์, และ John Dewey นักปรัชญา, จำนวนหนึ่งเคยเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย
วิทยาลัยถูกริเริ่มและก่อตั้งขึ้นระหว่างช่วงชาตินิยมพุ่งสูง ความระแวงสงสัยชาวต่างขาติ และการกดทับและปิดกั้นอย่างหนักด้วย Sedition Act of 1918 ระหว่างและหลังการเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 ของสหรัฐอเมริกา
มหาวิทยาลัยระหว่างเนรเทศ
แก้มหาวิทยาลัยระหว่างเนรเทศ ถูกก่อตั้งใน ค.ศ. 1933 ในฐานะภาคบัณฑิตศึกษาของ New School for Social Research เพื่อเป็นที่หลบภัยของนักวิชาการนีโอมาร์กซิสม์จาก Frankfurt School ซึ่งถูกปลดจากตำแหน่งอาจารย์ผู้สอนโดยฟาสซิสต์อิตาลี หรือต้องหลบหนีจากนาซีเยอรมนี[2]
ประเพณีทางปรัชญา
แก้เดอะนิวสคูลยังรักษาประเพณีของคณาจารย์บัณฑิตศึกษาในการสังเคราะห์แนวความคิดของปัญญาชนฝ่ายซ้ายอเมริกันเข้ากับปรัชญาเชิงวิพากษ์จากยุโรป ด้วยที่มาของมหาวิทยาลัยและรากฐานอันมั่นคงภายในมหาวิทยาลัยระหว่างเนรเทศ เดอะนิวสคูล โดยเฉพาะภาควิชาปรัชญา เป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยไม่กี่แห่งในสหรัฐอเมริกา ที่ให้โอกาสนักศึกษาได้ศึกษาในประเพณีการศึกษาปรัชญาแบบยุโรปภาคพื้นสมัยใหม่ ซึ่งรู้จักกันในชื่อ "ปรัชญาภาคพื้นทวีป" (continental philosophy) ดังนั้นมันจึงเน้นการศึกษาความคิดของ Parmenides, อริสโตเติล, Leibniz, สปิโนซา, ฮูม, คานท์, Hegel, Kierkegaard, มาร์กซ์, นีทเชอ, Husserl, Heidegger, Arendt, ฟรอยด์, Benjamin, Wittgenstein, ฟูโกต์, Derrida, Deleuze, และคณะ[3] ความคิดทฤษฎีวิพากษ์ของ Frankfurt School: Max Horkheimer, Walter Benjamin, Theodor Adorno, Herbert Marcuse, Jürgen Habermas, และคณะ ยังคงมีอิทธิพลอย่างสูงในทุกภาควิชาของมหาวิทยาลัย
วิทยาลัย
แก้วิทยาลัยทั้งแปดแห่งของเดอะนิวสคูล[4]:
- The New School for General Studies
- The New School for Social Research
- Parsons The New School for Design
- Milano The New School for Management and Urban Policy
- Eugene Lang College The New School for Liberal Arts
- Mannes College The New School for Music
- The New School for Drama
- The New School for Jazz and Contemporary Music
อ้างอิง
แก้- ↑ "Research School to Open". The New York Times (30 September 1919).
- ↑ New School History เก็บถาวร 2010-06-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน retrieved 30 March 2009.
- ↑ Philosophy เก็บถาวร 2005-10-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน at the New School
- ↑ "Quick Facts about The New School". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-05-28. สืบค้นเมื่อ 2010-05-26.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ
- The New School Student Government เก็บถาวร 2011-11-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน องค์กรนักศึกษามหาวิทยาลัย