เดวิด แคเมอรอน

อดีตนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร
(เปลี่ยนทางจาก เดวิด คาเมรอน)

เดวิด วิลเลียม ดอนัลด์ แคเมอรอน บารอนแคเมอรอนแห่งชิปปิงนอร์ตัน PC (อังกฤษ: David William Donald Cameron, Baron Cameron of Chipping Norton) เกิดเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม ค.ศ. 1966 เป็นนักการเมืองชาวอังกฤษเคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักรตั้งแต่ปี ค.ศ. 2010 ถึงปี ค.ศ. 2016 อดีตหัวหน้าพรรคอนุรักษนิยม (Conservative Party) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในรัฐบาลริชี ซูแน็ก และเป็นสมาชิกสภาสามัญชนเขต Witney ใน Oxfordshire [1][2]

ลอร์ดแคเมอรอนแห่งชิปปิงนอร์ตัน
The Lord Cameron of Chipping Norton
ภาพถ่ายทางการ 2023
นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร
ดำรงตำแหน่ง
11 พฤษภาคม ค.ศ. 2010 – 13 กรกฎาคม ค.ศ. 2016
(6 ปี 32 วัน)
กษัตริย์สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบทที่ 2
ก่อนหน้ากอร์ดอน บราวน์
ถัดไปเทเรซา เมย์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เครือจักรภพ และการพัฒนา
ดำรงตำแหน่ง
13 พฤศจิกายน ค.ศ. 2023 – 5 กรกฎาคม ค.ศ. 2024
(0 ปี 235 วัน)
กษัตริย์สมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3
นายกรัฐมนตรีริชี ซูแน็ก
ก่อนหน้าเจมส์ เคลเวอร์ลี
ถัดไปเดวิด แลมมี
ผู้นำฝ่ายค้าน
ดำรงตำแหน่ง
6 ธันวาคม ค.ศ. 2005 – 11 พฤษภาคม ค.ศ. 2010
กษัตริย์สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบทที่ 2
นายกรัฐมนตรีโทนี แบลร์
กอร์ดอน บราวน์
ก่อนหน้าไมเคิล โฮเวิร์ด
ถัดไปแฮเรียต ฮาร์แมน
หัวหน้าพรรคอนุรักษนิยม
ดำรงตำแหน่ง
6 ธันวาคม ค.ศ. 2005 – 11 กรกฎาคม ค.ศ. 2016
ก่อนหน้าไมเคิล โฮเวิร์ด
ถัดไปเทเรซา เมย์
ตำแหน่งในรัฐสภา
สมาชิกสภาขุนนาง
สมาชิกตลอดชีพ
17 พฤศจิกายน ค.ศ. 2023
สมาชิกรัฐสภา
เขตวิทนีย์
ดำรงตำแหน่ง
7 มิถุนายน ค.ศ. 2001 – 12 กันยายน ค.ศ. 2016
ก่อนหน้าฌอน วู้ดวาร์ด
ถัดไปโรเบิร์ต คอร์ทส
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด9 ตุลาคม พ.ศ. 2509 (57 ปี)
ลอนดอน สหราชอาณาจักร
ศาสนาคริสต์นิกายอังกลิคัน
พรรคการเมืองพรรคอนุรักษนิยม
คู่สมรสซาแมนธา เชฟฟีลด์
ลายมือชื่อ

แคเมอรอนจบการศึกษาในระดับปริญญาตรีในสาขาวิชา ปรัชญา การเมือง และเศรษฐศาสตร์ (Philosophy, Politics and Economics หรือชื่อย่อ PPE) จาก Brasenose College มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด จากนั้นเขาได้เข้าร่วมทีมวิจัยของพรรคอนุรักษนิยมและเป็นที่ปรึกษาพิเศษให้กับนอร์แมน ลามองต์และไมเคิล ฮาเวิร์ด เขาเป็นหัวหน้าฝ่ายกิจการองค์กรในบริษัทสื่อ ที่ชื่อคาร์ลตันคอมมูนิเคชันส์เป็นเวลา 7 ปี เขาลงสมัครรับเลือกตั้ง สมาชิกสภาสามัญชนในสแตฟฟอร์ด ในปี ค.ศ. 1997 แต่ไม่ได้รับเลือก ต่อมาในปี ค.ศ. 2001 ได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาสามัญชนเขตวิตนีย์ในออกซฟอร์ดเชอร์[3] ต่อมาในปลายปี ค.ศ. 2005 ได้รับตำแหน่งเป็นหัวหน้าพรรคอนุรักษนิยม

หลังการเลือกตั้งทั่วไปในสหราชอาณาจักร พ.ศ. 2553 โดยพรรคอนุรักษ์นิยมได้คะแนนสูงสุด ทำให้คาแมรอนขึ้นนำเป็นนายกรัฐมนตรี ในฐานะรัฐบาลผสมระหว่างพรรคอนุรักษนิยม (Conservative Party) และ พรรคเสรีประชาธิปไตย (Liberal Democrats)เดวิด แคเมอรอนกลายเป็นนายกรัฐมนตรีที่อายุนับตั้งแต่โรเบริ์ต เจนคินสัน (ลอร์ด ลิเวอร์พูล) ในปี 1812

แคเมอรอนประกาศเมื่อวันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2559 ว่าจะลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีก่อนการประชุมใหญ่สามัญของพรรคอนุรักษนิยมในเดือนตุลาคมปีเดียวกัน อันเป็นผลสืบเนื่องจากความพ่ายแพ้ของฝ่ายสนับสนุนให้อังกฤษอยู่ใน สหภาพยุโรป ต่อซึ่งมีเขาเป็นแกนนำภายหลังจาก การออกเสียงประชามติ โดยในวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 แคเมอรอนจะเข้าเฝ้า สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ที่ พระราชวังบัคกิงแฮม เพื่อยื่นหนังสือลาออกจากตำแหน่งโดยในวันเดียวกันนาง เทเรซา เมย์ หัวหน้า พรรคอนุรักษ์นิยม จะเข้าเฝ้าเพื่อจุมพิตพระหัตถ์รับการแต่งตั้งเป็น นายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร คนที่ 54

ชีวิตวัยเด็กและบรรพบุรุษ

แก้

เดวิด แคเมอรอนเป็นหลานคนสุดท้องของนายหน้าซื้อหุ้น เอียน ดอนัลด์ แคเมอรอน (12 ตุลาคม ค.ศ. 1932 - 8 กันยายน ค.ศ. 2010) และภรรยาของเขา แมรี เฟอร์ (นามเดิม เมาท์ , เกิด ค.ศ. 1934 ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้พิพากษาศาลแขวงและเป็นลูกสาวของเซอร์ วิลเลียม เมาท์)[4][5] พ่อแม่ของแคเมอรอนสมรสกับเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 1962[4]

แคเมอรอนเกิดในกรุงลอนดอนก่อนที่จะย้ายไปอยู่ในแถบพีสมอร์ เบิร์กเชียร์[6].[7] แคเมอรอนมีพี่ชายชื่อ อเล็กซานเดอร์ แคเมอรอน (เกิด ค.ศ. 1963 เป็นทนายความ)[8] และมีพี่สาว น้องสาว 2 คน , ทานิชา ราเชล (เกิด ค.ศ. 1965) และ แคลร์ หลุยส์ (เกิด ค.ศ. 1971)[4][9] พ่อของเขา , เอียนเกิดในแบลร์มอร์ เฮ้าท์ใกล้กับฮันรี่ , อันเบอร์เดียนไชน์ และเสียชีวิตในเมือง ตูลง , ฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 8 กันยายน ค.ศ. 2010[10] เอียนเกิดมาพร้อมกับขาที่พิการและถูกรักษาจนมีอาการดีขึ้น , แบลร์มอร์ถูกสร้างขึ้นโดยปู่ทวดของแคเมอรอน , อเล็กซานเดอร์ เก็ดเดด[11] และได้ค้าขายข้าวในชิคาโก้จนมีทรัพย์สมบัติมากมายก่อนจะกลับไปที่สกอตแลนด์ในคริสต์ทศวรรษ 1880[12]


อ้างอิง

แก้
  1. เดวิด คาเมรอน (David Cameron) ตัวเต็งนายกอังกฤษ
  2. "David Cameron". Witney Conservatives. 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-01. สืบค้นเมื่อ 2015-08-19.
  3. เดวิด คาเมรอน (David Cameron) ตัวเต็งนายกอังกฤษ
  4. 4.0 4.1 4.2 Lundy, Darryl. "David William Donald Cameron". The Peerage. สืบค้นเมื่อ 4 June 2010.[แหล่งอ้างอิงไม่น่าเชื่อถือ]
  5. Debrett's Peerage 2011, p. B 714.
  6. เดวิด คาเมรอน ผู้นำเมืองผู้ดี
  7. Elliott, Francis; Hanning, James (2007). Cameron: the Rise of the New Conservative. London: Harper Perennial. ISBN 978-0-00-724367-9.
  8. CAMERON, Alexander Allan. ukwhoswho.com. Who's Who. Vol. 2014 (online Oxford University Press ed.). A & C Black, an imprint of Bloomsbury Publishing plc.   (ต้องรับบริการ)
  9. Wheeler, Brian (6 December 2005). "The David Cameron Story". BBC News. สืบค้นเมื่อ 27 March 2007.
  10. "David Cameron and Slains Castle". The North Scotland Beehive. Aberdeen: Aberdeen Civic Society. 2 March 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 August 2007.
  11. "Marriages". The Times. London. 24 July 1905. p. 1. สืบค้นเมื่อ 22 March 2013.(ต้องรับบริการ)
  12. Clark, Ross (26 January 2002). "Highlands for the high life" เก็บถาวร 2012-12-09 ที่ archive.today. The Daily Telegraph (London). Retrieved 4 September 2007.