เซเก็นเด็นเซ็ตสึ 3

(เปลี่ยนทางจาก เซเก็นเด็นเซ็ทสึ 3)

เซเก็นเด็นเซ็ตสึ 3[a] (ญี่ปุ่น: 聖剣伝説3) หรือที่รู้จักกันในเวอร์ชันภาษาอังกฤษคือ ไทรเอิลส์ออฟมานา (อังกฤษ: Trials of Mana) เป็นเกมแอ็กชันเล่นตามบทบาท ค.ศ. 1995 ที่ได้รับการพัฒนาและเผยแพร่โดยสแควร์ (ปัจจุบันคือสแควร์เอนิกซ์) สำหรับระบบซูเปอร์แฟมิคอม ซึ่งเป็นภาคต่อของเกมเซเก็นเด็นเซ็ตสึ 2 และเป็นภาคที่สามในซีรีส์เซเก็นเด็นเซ็ตสึ มีฉากในแฟนตาซีระดับสูง เกมเดินตามวีรบุรุษสามคนในขณะที่พวกเขาพยายามที่จะอ้างสิทธิดาบมานาในตำนาน และขัดขวางเหล่าเบเนโวดอนจากการถูกปลดปล่อยและทำลายโลก เกมนี้มีสามเค้าเรื่องแบบยาวและตัวละครหลักที่แตกต่างกันหกตัว โดยแต่ละตัวละครมีเค้าเรื่องของตนเอง และอนุญาตให้ผู้เล่นสองคนเล่นพร้อมกัน เซเก็นเด็นเซ็ตสึ 3 สร้างตามรูปแบบการเล่นของภาคก่อนพร้อมการปรับปรุงหลายอย่าง รวมถึงการใช้ระบบการเลื่อนเวลาที่มีการเปลี่ยนจากกลางวันเป็นกลางคืน และวันธรรมดาเป็นวันหยุดสุดสัปดาห์ในการเล่นเกม รวมถึงคลาสตัวละครที่หลากหลายให้เลือก ซึ่งให้ตัวละครแต่ละตัวพร้อมชุดทักษะพิเศษและสถานะความก้าวหน้า

เซเก็นเด็นเซ็ตสึ 3
งานศิลปะบรรจุภัณฑ์
ผู้พัฒนาสแควร์
ผู้จัดจำหน่ายสแควร์
กำกับฮิโรมิชิ ทานากะ
อำนวยการผลิตเทสึฮิสะ สึรุโซโนะ
ออกแบบโคอิชิ อิชิอิ
ศิลปิน
แต่งเพลงฮิโรกิ คิกูตะ
ชุดเซเก็นเด็นเซ็ตสึ
เครื่องเล่น
วางจำหน่ายซูเปอร์แฟมิคอม
นินเท็นโด สวิตช์
คอลเลกชันออฟมานา
แนวแอ็กชันเล่นตามบทบาท
รูปแบบผู้เล่นเดี่ยว, หลายผู้เล่น

เกมดังกล่าวออกแบบโดยผู้สร้างซีรีส์ โคอิชิ อิชิอิ, กำกับโดยนักออกแบบสแควร์ผู้มีประสบการณ์ ฮิโรมิชิ ทานากะ และอำนวยการผลิตโดยเทสึฮิสะ สึรุโซโนะ ส่วนอาร์ตเวิร์กสร้างขึ้นโดยศิลปินมังงะและอนิเมะ โนบุเทรุ ยูกิ ในขณะที่เพลงแต่งโดยผู้แต่งเพลงเซเก็นเด็นเซ็ตสึ 3 ฮิโรกิ คิกูตะ แม้ว่าเกมดังกล่าวจะเผยแพร่ในประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น แต่ผู้เล่นที่พูดภาษาอังกฤษสามารถเล่นเซเก็นเด็นเซ็ตสึ 3 ได้ เนื่องจากแฟนแปลเป็นภาษาอังกฤษแบบไม่เป็นทางการที่เผยแพร่ใน ค.ศ. 1999 เซเก็นเด็นเซ็ตสึ 3 ได้รับเสียงชื่นชมจากนักวิจารณ์ ซึ่งชื่นชมกราฟิกในฐานะหนึ่งในเกมที่ดีที่สุดที่เคยทำสำหรับซูเปอร์แฟมิคอม และรูปแบบการเล่นในฐานะเวอร์ชันปรับปรุงของภาคก่อน พล็อตได้รับการวิจารณ์ที่หลากหลายโดยนักวิจารณ์ผู้พบว่าเรื่องราวที่ทับซ้อนกันนั้นน่าสนใจและเพื่อยกระดับความสามารถในการเล่นซ้ำ แต่ตัวละครและโครงเรื่องเองจะแบนและจำเจ ส่วนนักวิจารณ์บางคนพิจารณาว่าเกมนี้เป็นเกมซูเปอร์แฟมิคอมคลาสสิก

ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2017 เกมดังกล่าวได้รวมอยู่ในการเปิดตัวเซเก็นเด็นเซ็ตสึคอลเลกชัน สำหรับนินเท็นโด สวิตช์ ในประเทศญี่ปุ่น คอลเลกชันนี้ได้รับการเปิดตัวในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2019 ในทวีปอเมริกาเหนือในฐานะคอลเลกชันออฟมานา พร้อมด้วยเซเก็นเด็นเซ็ตสึ 3 ในชื่อไทรเอิลส์ออฟมานา ส่วนเวอร์ชันรีเมค 3 มิติในชื่อเดียวกันได้รับการประกาศคู่ขนานกัน และวางจำหน่ายทั่วโลกในเดือนเมษายน ค.ศ. 2020 สำหรับไมโครซอฟท์ วินโดวส์, นินเท็นโด สวิตช์ และเพลย์สเตชัน 4

รูปแบบการเล่น แก้

 
แองเจลา, ดูแรน และรีส ต่อสู้กับแลนด์อัมเบอร์ ซึ่งเป็นเบเนโวดอนแห่งพสุธา

เซเก็นเด็นเซ็ตสึ 3 มีรูปแบบการเล่นคล้ายกับเซเก็นเด็นเซ็ตสึ 2 ซึ่งเป็นภาคก่อน เช่นเดียวกับเกมเล่นตามบทบาทอื่น ๆ ในยุค 16 บิต ซึ่งแสดงมุมมองจากบนลงล่าง ซึ่งตัวละครผู้เล่นสามคนหาเส้นทางภูมิประเทศและต่อสู้กับสัตว์ประหลาดที่เป็นศัตรู การควบคุมอาจได้รับการส่งผ่านระหว่างตัวละครแต่ละตัวได้ตลอดเวลา ส่วนเพื่อนร่วมทางที่ไม่ได้เลือกในปัจจุบันได้รับการควบคุมโดยปัญญาประดิษฐ์ เกมนี้อาจเล่นพร้อมกันโดยผู้เล่นสองคน ซึ่งต่างจากเซเก็นเด็นเซ็ตสึ 2 แบบสามคน[1][2] เกมนี้มีตัวละครที่เล่นได้หกตัว โดยในตอนต้นของเกม ผู้เล่นเลือกได้สามตัวจากที่มีอยู่ทั้งหมดหกตัว ซึ่งอีกสองตัวละครที่สามารถเล่นได้จะเข้าร่วมพวกเมื่อพบกัน ส่วนตัวละครสามตัวที่เหลือทำหน้าที่เป็นตัวละครที่ผู้เล่นไม่ได้ควบคุม (NPCs) เมื่อพบ[3]

ตัวละครแต่ละตัวสามารถใช้อาวุธประเภทหนึ่งได้ นอกเหนือจากเวทมนตร์คาถา ประสิทธิภาพของคาถาขึ้นอยู่กับความสามารถเวทมนตร์ของตัวละคร และองค์ประกอบของคาถาที่สัมพันธ์กับศัตรู[4] เมื่ออยู่ในโหมดการต่อสู้ การโจมตีของมอนสเตอร์จะเติมเกจที่ช่วยให้ผู้เล่นสามารถใช้การโจมตีพิเศษเฉพาะตัวละครได้[1]

เมื่อรวบรวมค่าประสบการณ์เพียงพอจากการต่อสู้ ตัวละครแต่ละตัวจะสามารถเพิ่มเลเวลเพื่อรับสถิติตัวละครที่ได้รับการปรับปรุง เช่น ความแข็งแกร่ง และการหลบหลีก[5] ส่วนตัวเลือกต่าง ๆ เช่น การเปลี่ยนอุปกรณ์, การร่ายคาถา หรือการตรวจสอบสถานะทำได้โดยการวนผ่านคำสั่งวงแหวน—ซึ่งเป็นเมนูวงกลมที่วางอยู่เหนือสมาชิกในคณะที่เราควบคุม เกมจะหยุดชั่วคราวทุกครั้งที่เปิดใช้งานเมนูคำสั่งวงแหวน และภายในวงแหวน ผู้เล่นมีเก้าช่องสำหรับเก็บไอเทม โดยสามารถวางรายการเพิ่มเติมลงในที่เก็บไอเทมได้ ซึ่งไม่สามารถเข้าถึงได้ในการต่อสู้[4]

ระดับความก้าวหน้าของตัวละครได้รับการประสานงานโดยผู้เล่น โดยจะมีตัวเลือกว่าจะเพิ่มสถิติใดตามคะแนนในทุกเลเวลที่ขึ้น ระบบ "คลาส" ก็มีอยู่เช่นกัน เมื่อตัวละครถึงเลเวล 18 แล้ว ผู้เล่นสามารถไปมาหาสู้ศิลามานาที่มีอยู่ทั่วทั้งเกม และเลือกอัปเกรดเป็นหนึ่งในสองคลาสสำหรับตัวละครแต่ละตัว—ไม่ว่าจะเป็นคลาสที่อยู่ในตำแหน่ง "แสงสว่าง" หรือคลาสที่ตรงกับ "ความมืด"—ซึ่งให้ชุดทักษะที่แตกต่าง และการปรับปรุงสถิติตัวละครที่แตกต่างกัน การเปลี่ยนคลาสที่สองสามารถทำได้ที่ระดับ 38 โดยแยกอีกครั้งระหว่างตัวเลือกแสงสว่างและความมืด หากผู้เล่นได้รับไอเทมหายากที่จำเป็นสำหรับคลาสเป้าหมาย ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงคลาสไม่มีผลกับเนื้อเรื่องของเกม หากแต่เพียงรูปแบบการเล่นเท่านั้น[4][5]

เซเก็นเด็นเซ็ตสึ 3 ยังใช้ฟังก์ชันปฏิทินในรูปแบบการเล่น ซึ่งวัฏจักรหนึ่งสัปดาห์เร็วกว่ารอบจริงมาก โดยหนึ่งวันผ่านไปในเวลาไม่กี่นาที แต่ละวันของสัปดาห์จะแสดงด้วยวิญญาณธาตุที่แตกต่างกัน ในวันของวิญญาณนั้น เวทมนตร์ของธาตุนั้นจะแข็งแกร่งขึ้นเล็กน้อย วันในเกมยังแบ่งออกเป็นกลางวันและกลางคืน เหตุการณ์บางอย่างเกิดขึ้นในช่วงเวลาหนึ่งของวันเท่านั้น เช่น ตลาดมืดที่จำหน่ายเฉพาะในตอนกลางคืนซึ่งขายของหายากโดยเฉพาะ ศัตรูที่พบในสนามรบจะเปลี่ยนไปในบางช่วงเวลา และบางคนอาจกำลังหลับอยู่หากตัวละครเข้าใกล้พวกเขาในเวลากลางคืน นอกจากนี้ ตัวละครอย่างเควินจะแปลงร่างเป็นมนุษย์หมาป่าเมื่อเขาต่อสู้ในตอนกลางคืน ซึ่งเพิ่มพลังโจมตีของเขาอย่างมาก ส่วนการใช้บริการของโรงแรมทำให้ผู้เล่น "ข้าม" นาฬิกาของเกมไปเป็นเย็นวันนั้นหรือเช้าวันรุ่งขึ้นได้[6]

เรื่องราว แก้

พื้นฉาก แก้

เรื่องราวเกิดขึ้นในโลกสมมติที่มานาเป็นตัวแทนของแหล่งพลังงานที่ไม่มีตัวตน แต่มีขอบเขตจำกัด ในอดีต เทพธิดามานาได้สร้างโลกของเกมด้วยการหลอมดาบมานาอันทรงพลังและเอาชนะเป็นอสูรแห่งการทำลายล้างทั้งแปดตัว ซึ่งคือเหล่าเบเนโวดอน—หรือ "เทพเดรัจฉาน" จากการแปลในเวอร์ชันก่อนหน้า—โดยผนึกพวกมันไว้ในศิลามานาแปดก้อน ก่อนที่จะเปลี่ยนตัวเองเป็นต้นไม้มานาและหลับไป[7] เกมดังกล่าวมีขึ้นในช่วงเวลาที่มานาเริ่มจางหายไปและความสงบสุขได้สิ้นสุดลง เนื่องจากมีหลายคนวางแผนจะปลดปล่อยเหล่าเบเนโวดอนออกจากศิลาเพื่อให้ได้มาซึ่งพลังสูงสุด[8] เกมนี้ไม่ใช่ภาคต่อของเหตุการณ์ในเซเก็นเด็นเซ็ตสึ 2 โดยตรง ตามที่โคอิชิ อิชิอิ ผู้สร้างซีรีส์เผยใน ค.ศ. 2006 ที่เกมเซเก็นเด็นเซ็ตสึไม่ได้เกิดขึ้นในโลกเดียวกันทุกประการ และตัวละครหรือองค์ประกอบที่ปรากฏในเกมต่าง ๆ ถือเป็นเวอร์ชันทางเลือกของกันและกันได้ดีที่สุด แต่ความเชื่อมโยงระหว่างแต่ละเกมนั้นเป็นนามธรรมมากกว่าที่อิงตามเรื่องราว[9] แม้จะมีคำกล่าวนี้ แต่เกมเซเก็นเด็นเซ็ตสึ: ฮีโรส์ออฟมานา ใน ค.ศ. 2007 เป็นเกมพรีเควลโดยตรงของเซเก็นเด็นเซ็ตสึ 3 ซึ่งเกิดขึ้น 19 ปีก่อนเรื่องราวของภาคหลัง[10]

ตัวละคร แก้

เหล่าตัวละคร (และเรื่องราวของแต่ละคน) ถูกจัดกลุ่มเป็นสามโครงเรื่องย่อยหลัก แองเจลาและดูแรนต่อสู้จักรพรรดิมังกร, ฮอว์กอายและรีสซ์ต่อสู้เจ้าแห่งศาสตร์มืด, เควินและชาร์ลอตต์ต่อสู้จอมเวทสวมหน้ากาก[b] โครงเรื่องหลักถูกกำหนดโดยตัวละครตัวแรกที่เลือก แม้ว่าจะมีการโต้ตอบและบทสนทนาของตัวละครมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญหากสมาชิกคนอื่นของทั้งคู่อยู่ในคณะด้วย[5]

  • ดูแรน[c] เป็นนักดาบทหารรับจ้างซึ่งเป็นกำพร้าแห่งราชอาณาจักรที่ราบ วัลเซนา พ่อของเขาคือโลกิ อัศวินทองคำ พ่ายแพ้ในการต่อสู้จักรพรรดิมังกร และแม่ของเขาเสียชีวิตด้วยโรคภัยไข้เจ็บหลังจากนั้นไม่นาน[11] คืนหนึ่ง ดูแรนเข้าเวรยามที่ปราสาทวัลเซนา ขณะที่คริมสันวิเซิร์ดโจมตีปราสาทและสังหารทหารไปหลายนาย ดูแรนเผชิญหน้ากับเขา แต่ก็แพ้อย่างง่ายดายและถูกทิ้งไว้ให้ตาย หลังจากฟื้นตัว เขาสาบานว่าจะเป็นนักดาบที่เก่งที่สุดในโลก และจะแก้แค้นคริมสันวิเซิร์ดให้ได้[12]

หมายเหตุ แก้

  1. 聖剣伝説 (せいけんでんせつ)3, การแปลตามตัวอักษร ตำนานดาบศักดิ์สิทธิ์ 3
  2. ชื่อตัวละครนำมาจากภาษาอังกฤษอย่างเป็นทางการในเซเก็นเด็นเซ็ตสึคอลเลกชันซึ่งแตกต่างจากการแปลแฟนซับของคอร์เลตต์
  3. デュラン Dyuran

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 Dillard, Corbie (March 19, 2010). "Seiken Densetsu 3 (Super Nintendo) Review". Nintendo Life. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 11, 2014. สืบค้นเมื่อ March 11, 2014.
  2. Musashi (February 22, 1999). "RPGFan Reviews - Secret of Mana". RPGFan. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 19, 2014. สืบค้นเมื่อ December 24, 2008.
  3. "Seiken Densetsu 3". Next Generation. Imagine Media. 1 (8): 39. August 1995. ISSN 1078-9693.
  4. 4.0 4.1 4.2 "Test du jeu Seiken Densetsu 3 sur SNES". JeuxVideo.com (ภาษาฝรั่งเศส). L'Odyssée Interactive. August 20, 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 25, 2014. สืบค้นเมื่อ November 14, 2015.
  5. 5.0 5.1 5.2 Parsons, Chris. "Seiken Densetsu 3 - Review". RPGamer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 11, 2014. สืบค้นเมื่อ March 11, 2014.
  6. Riley, Adam (October 3, 2006). "Seiken Densetsu 3 / Secret Of Mana 2". Cubed3. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 31, 2013. สืบค้นเมื่อ March 11, 2014.
  7. Square Enix (September 30, 1993). Trials of Mana (Nintendo Switch). Square Enix. Narrator: When the world was shrouded in darkness, the Goddess of Mana drew forth the Sword of Mana to smite the eight Benevodons, monsters of destruction. She sealed the horrors inside the eight Mana Stones, bringing the real back from the brink. Weak from rebuilding the world, the Goddess changed into a tree and fell fast asleep for years.
  8. Square Enix (September 30, 1993). Trials of Mana (Nintendo Switch). Square Enix. Narrator: However, the forces of evil sought to free the Benevodons to gain control of the world. They started a terrible war to further their plot and destabilize the kingdoms. Peace was at an end. Mana itself began to disappear from the world and the Mana Tree to wither...
  9. "Children of Mana Interview". RPGamer. October 6, 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 26, 2014. สืบค้นเมื่อ June 9, 2007.
  10. Parish, Jeremy (April 5, 2007). "Heroes of Mana Preview". 1UP.com. Ziff Davis. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 17, 2015. สืบค้นเมื่อ June 15, 2007.
  11. Square (September 30, 1993). Seiken Densetsu 3 (Super NES (fan translation)). Square. Narrator: Duran... Mercenary of the grasslands country, Forcena. His father, Loki, served the kingdom as one of the elite "Knights of Gold". But at a time in Duran's young days, Loki went away, never to be seen again[...] Prince Richard: Simone, I'm sorry... Loki was rushing in, trying to save me, and...he and the Dragon Emperor both fell into a bottomless pit...
  12. Square (September 30, 1993). Seiken Densetsu 3 (Super NES (fan translation)). Square. Knight: Last night a mysterious wizard infiltrated the castle and killed all the guards that were on duty except for Duran who just barely survived.

อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "QuoteAngela" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "QuoteHawkeye1" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "QuoteHawkeye2" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "QuoteLise" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "QuoteKevin" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "QuoteCarlie" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "QuoteAstoria" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "QuoteFairy1" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "QuoteFairy2" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "QuoteFairy3" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "QuoteFairy4" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "QuoteStone1" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "QuoteGate" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "QuoteSword" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "QuoteBeasts" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "QuoteGoddess" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "QuoteMana" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "QuoteThousand" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "staffcredits" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "LevelSeiken" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "TanakaFF" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "Seiken3Interviews" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "TrialsInterview" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "FamRetrospective" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "SPMSOM2" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "GPSOM2" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "GFSOM2" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "OGOPNA" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "NGpreview2" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "RETROseries" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "RPGFevermore" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "Fehdrau" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "NPnona" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "fantrans" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "Switch" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "TrialsRename" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "FamInterview" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "NintendoLifeInterview" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "SHint2" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "kikutaint" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "KikShimInt" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "Tracklist" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "GMC5" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "RPGFSD3" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "SEMOSD3review" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "SEMOSMP" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "RPGFSMP" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "GMLconcert" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "SEMOsheet" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "1UPreview" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "FAMreview" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "GFreview" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "FAMsomreview" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "SGPreview" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "TrialsAnnounce" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "TrialsRemakeDate" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "DengInterview" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า

อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "SQEX" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า

แหล่งข้อมูลอื่น แก้