'เซียว' 蕭 (เขียนย่อ: 萧) อ่านออกเสียงทั้งภาษาแต่จิ๋วและแมนดารินและไทยว่า เซียว ภาษาอังกฤษเขียนว่า Hsiao, siao นิยมสะกดว่า Xiao ซึ่งมีความหมายถึง ดอกหญ้าชนิดหนึ่งสีเขียวจะมีสีเขียวเรืองรองเมือโดนแดดพบมากในหมู่บ้าน แถบซัวเถา และอีกความหมายหนึ่งแปลว่า สวยงาม นั้นเอง

บุคคลที่มีชื่อเสียง ปรากฏในพงศาวดารจีน ครั้งแรก ในสมัยจักรพรรดิฮั่นเกาจู คือ เซียวเหอ ดำรงตำแหน่ง สมุหนายก ประวัติคราวๆ เดิมเป็นเสมียนประจำอำเภอ ซึ่งได้รู้จักกับผู้ใหญ่บ้านนาม หลิวปัง ซึ่งในภายหลัง สถาปนา เป็น พระเจ้าฮั่นเกาจู เซียวเหอ ถือเป็นขุนนางฝ่ายบุ่น ที่ช่วยหลิวปังในการวางแผนทำศึก แผนการปกครอง สร้างกฎหมายต่างๆ ในยุคสถาปนาราชวงค์ฮั่น ที่ภายหลังได้รับการแต่งตั้งเป็นสมุหนายก บรรพบุรุษรุ่นหลังๆ นับถือให้เป็นเทพ แห่งการเรียนรู้

เซียวเป็นชื่อตระกูลหนึ่ง ในหมู่บ้าน เจียอิ้งเฉินเซียง (ปัจจุบันคืออำเภอเหมย) (หมู่บ้านเฉิงเซียง หรือหมู่บ้านตระกูลเซียว) อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของ มณฑลกวางตุ้ง แต้จิ๋ว อำเภอเตี่ยอัน และประชากรตระกูลเซียวอาศัยตามหมู่บ้านอิ่วฮึง (แซ่แต้ แซ่เฮง แซ่เซียว) ประเทศจีน ปัจจุบันชุมชนจีนแต้จิ๋วมีอยู่แค่ 4-9 อำเภอ (เช่น เตี่ยเอี้ย เตี่ยอัน โพ้วเล้ง เก๊กเอี๊ยว) ในซัวเถา

ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง เกิดการขาดแคลน อาหารและภัยสงคราม ทำให้ประชากรจีนที่อาศัยในซัวเถาเกือบ 2/3 ได้มีการอพยพครั้งใหญ่ ออกไปยังพื้นที่ข้างเคียงและประเทศต่างๆ เช่น มาเลเซีย สิงคโปร และไทย ผ่านทางเมืองท่า ซั่วเถา และเกาะฮองกง ตระกูลเซียวก็เช่นกัน ปรากฏอยู่ในประเทศมาเลเซีย สิงคโปร และไทย

จากประวัติที่มีบันทึก ในประเทศไทยอพยพมาในสมัยรัฐกาลที่ 6 (อ้างอิงประวัติตระกูลสีบุญเรือง, อ้างอิง http://www.sbr-family.com เก็บถาวร 2016-01-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สามารถค้นข้อมูลเพิ่มเติมได้ตามเวปไซด์นี้) สำหรับในประเทศไทย ลูกหลานได้แตกออกไปหลายนามสกุลมากมาย มีน้อยคนที่ยังคงใช้แซ่เซียว และมีมากคนที่ไม่รู้จักต้นสายสกุลของตน