เซียร์เกย์ โคโรเลฟ

เซียร์เกย์ ปัฟโลวิช โคโรเลฟ (รัสเซีย: Серге́й Па́влович Королёв, สัทอักษรสากล: [sʲɪrˈgʲej ˈpavləvʲɪtɕ kərɐˈlʲɵf] ( ฟังเสียง),[2] ยูเครน: Сергі́й Па́влович Корольóв[3], อักษรโรมัน: Serhii Pavlovych Korolov; เสียงอ่านภาษายูเครน: [serˈɦii̯ ˈpɑu̯loʋɪ̞t͡ʃ koroˈlʲɔu̯]) อังกฤษ: Sergei Pavlovich Korolev,12 มกราคม พ.ศ. 2450 [O.S. 30 ธันวาคม] พ.ศ. 2436 -23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2509) เป็นหัวหน้าวิศวกรจรวดโซเวียตและนักออกแบบยานอวกาศในระหว่างการแข่งขันอวกาศระหว่างสหรัฐฯและสหภาพโซเวียตในช่วงสงครามเย็น เขาได้รับกาารยกย่องเป็นบิดาแห่งการสำรวจอวกาศ[4][5] เขามีส่วนในการพัฒนาจรวด อาร์-7, สปุตนิค, ไลก้า สิ่งมีชีวิตตัวแรกในอวกาศและการส่งมนุษย์คนแรกไปอวกาศ[6]

เซียร์เกย์ โคโรเลฟ
เกิดเซียร์เกย์ ปัฟโลวิช โคโรเลฟ
Сергей Павлович Королёв

12 มกราคม 1907 [ตามปฎิทินเก่า 30 ธันวาคม ค.ศ. 1906]
จีตอมีร์, เขตผู้ว่าการโวลฮีเมีย จักรวรรดิรัสเซีย
เสียชีวิต14 มกราคม ค.ศ. 1966(1966-01-14) (59 ปี)
เครมลิน, มอสโก, สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย, สหภาพโซเวียต
สาเหตุเสียชีวิตเนื้องอก
สัญชาติโซเวียต
อาชีพวิศวกรจรวด,หัวหน้าสถาปนิกโครงการอวกาศโซเวียต
คู่สมรสKsenia Vincentini
Nina Ivanovna Kotenkova[1]
บุตรNatalya
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ สหภาพโซเวียต
แผนก/สังกัด กองทัพแดง
ประจำการ1945–1952
ชั้นยศ พันเอก

แม้ว่า โคโรเลฟมีความสามารถออกแบบเครื่องบินให้แก่กองทัพก็ตาม แต่เขาถูกมองว่าเป็นสมาชิกในการต่อต้านโซเวียต เขาถูกส่งไปยังกูลัคในปี พ.ศ. 2481 เป็นเวลาเกือบ 6 ปีรวมทั้งบางส่วน เดือนในค่ายแรงงานโคลีมา ก่อนที่จะปล่อยตัวหลังจากการพัฒนาต้นแบบจากจรวดวี-2ของเขาทำให้เขากลายเป็นนักออกแบบจรวดที่มีชื่อเสียงและเป็นกุญแจสำคัญในการพัฒนาขีปนาวุธของสหภาพโซเวียต เพื่อปกป้องเขาจากการลอบสังหารสงครามเย็นที่เป็นไปได้โดยสหรัฐอเมริกา เขาจึงกลายเป็นบุคคลลึกลับตลอดชีวิตของเขา โคโรเลฟได้เสียชีวิตด้วยโรคะมะเร็งเนื้องอกในปี พ.ศ. 2509 การเสียชีวิตกะทันหันระหว่างแผนการไปดวงจันทร์ของโซเวียตเป็นอีกหนึ่งในสาเหตุของความล้มเหลวของแผนไปดวงจันทร์ของโซเวียต

อ้างอิง แก้

  1. Harford, p. 25, 94.
  2. "Korolëv" is the transliteration used by the Library of Congress and adopted by James Harford for his biography (Harford 1997, p. xvi).
    Korolev's last name is pronounced [kərʌˈlʲof][ต้องการอ้างอิง].
  3. "Анкета 4. Для реєстрації студентів Київського Політехнічного Інституту, 1924 / Korolev's student application form for Kyiv Polytechnic Institute, 1924 (ukr.)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2017-11-16.
  4. "energia-zem.ru". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-15. สืบค้นเมื่อ 2017-11-16.
  5. Sagdeyev, R. Z.; Shtern, M. I. "The Conquest of Outer Space in the USSR 1974". NASA. NASA Technical Reports Server. สืบค้นเมื่อ 13 September 2011.
  6. West; John B (1 October 2001 ). ""Historical aspects of the early Soviet/ Russian manned space program"". Journal of Applied Physiology. 91 (4) : 1501–1511.

ดูเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

(RGANTD is the Russian State Archive for Scientific and Technical Documentation.)