เกาะเซนต์คิตส์ (อังกฤษ: Saint Kitts) หรือ เกาะเซนต์คริสโตเฟอร์ (อังกฤษ: Saint Christopher Island) เป็นเกาะในเวสต์อินดีส์ ของประเทศเซนต์คิตส์และเนวิส ฝั่งตะวันตกของเกาะติดกับทะเลแคริบเบียน ส่วนชายฝั่งตะวันออกติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก เกาะเป็นส่วนหนึ่งของหมู่เกาะลีเวิร์ด ในเลสเซอร์แอนทิลลีส ตั้งอยู่ห่างจากเมืองไมแอมี รัฐฟลอริดาทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ราว 2,100 กม. เกาะมีพื้นที่ราว 168 ตร.กม. มีความยาวราว 29 กม. และกว้างราว 8 กม. เกาะมีประชากรราว 35,000 คน ประชากรส่วนใหญ่มีเชื้อสายแอฟริกา ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก เกาะเป็นที่ตั้งของกรุงบาสแตร์ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศ

เซนต์คริสโตเฟอร์ (เซนต์คิตส์)
สมญา: Sugar City
Map showing Saint Kitts and Nevis
ภูมิศาสตร์
ที่ตั้งทะเลแคริบเบียน
พิกัด17°15′N 62°40′W / 17.250°N 62.667°W / 17.250; -62.667
กลุ่มเกาะหมู่เกาะลีเวิร์ด
พื้นที่168 ตารางกิโลเมตร (65 ตารางไมล์)
ความยาว29 กม. (18 ไมล์)
ความกว้าง8 กม. (5 ไมล์)
ระดับสูงสุด1,156 ม. (3793 ฟุต)
จุดสูงสุดMount Liamuiga
การปกครอง
ประชากรศาสตร์
ประชากร35,000
ความหนาแน่น208.33/กม.2 (539.57/ตารางไมล์)

คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส เดินทางมาพบเกาะนี้ในปี ค.ศ. 1493 ต่อมาในปี ค.ศ. 1623 ชาวอังกฤษได้เข้ามาตั้งถิ่นฐาน นับเป็นเกาะแรกในหมู่เกาะลีเวิร์ดที่เป็นอาณานิคมของอังกฤษ ต่อมาราวปี ค.ศ. 1625 ชาวฝรั่งเศสได้ติดตามเข้ามาตั้งถิ่นฐานด้วย มีการนำทาสจากทวีปแอฟริกาเข้ามาเป็นแรงงานระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 17-18 เกิดความขัดแย้งระหว่างชาวอังกฤษและชาวฝรั่งเศส จนอังกฤษสามารถควบคุมเกาะได้อย่างสมบูรณ์ใน ค.ศ. 1783 ต่อมาได้รวมการปกครองเข้ากับเกาะเนวิสที่อยู่ใกล้เคียง และตั้งขึ้นเป็นประเทศเอกราชชื่อประเทศเซนต์คิตส์และเนวิส ในปี ค.ศ. 1983

อุทยานแห่งชาติบริมสโตนฮิลฟอร์เทรส ได้รับขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยยูเนสโก มีป้อมที่ใหญ่ที่สุดในแคริบเบียนตะวันออก

อ้างอิง แก้

  1. Ben Cahoon (2000). "Saint Kitts and Nevis". WorldStatesmen. สืบค้นเมื่อ 17 July 2010.