เชฟโรเลต โคโลราโด

เชฟโรเลต โคโลราโด (อังกฤษ: Chevrolet Colorado) เป็นชื่อรุ่นของรถกระบะขนาดกลางที่ผลิตและจำหน่ายโดยเชฟโรเลต

เชฟโรเลต โคโลราโด
ภาพรวม
บริษัทผู้ผลิต
เริ่มผลิตเมื่อพ.ศ. 2546–2555, 2557–ปัจจุบัน (สหรัฐอเมริกา)
พ.ศ. 2547–2563 (ไทย)
2555–ปัจจุบัน (บราซิล)
แหล่งผลิตสหรัฐอเมริกา
ประเทศไทย
ประเทศบราซิล
ตัวถังและช่วงล่าง
ประเภทรถกระบะขนาดกลาง
รูปแบบตัวถังแค็บ 2 ประตู
แค็บ 4 ประตู
ดับเบิ้ลแค็บ 4 ประตู
โครงสร้างเครื่องวางหน้า, ขับเคลื่อนล้อหลัง/สี่ล้อ
ระยะเหตุการณ์
รุ่นก่อนหน้าเชฟโรเลต เอส-10
อีซูซุ โฮมเบร
จีเอ็มซี โซโนมา

ในทวีปอเมริกาเหนือ โคโลราโดเป็นชื่อรุ่นของรถกระบะที่เปิดตัวในปี พ.ศ. 2546 เพื่อนำมาแทนที่รุ่นเดิมคือ เชฟโรเลต เอส-10 (S-10) รถรุ่นนี้ใช้โครงสร้างพื้นฐานร่วมกับ จีเอ็มซี แคนยอน (GMC Canyon) ซึ่งทางเจเนอรัลมอเตอร์นำมาแทนที่จีเอ็มซี โซโนมา (Sonoma) ในช่วงเวลาเดียวกัน ต่อมาในปี พ.ศ. 2548 ก็มีรถกระบะอีซูซุ ไอ-ซีรีส์ (Isuzu i-Series) ที่ได้ใช้โครงสร้างพื้นฐานเดียวกันนี้ด้วย

รุ่นที่ 1 (พ.ศ. 2547 - 2554) แก้

 
เชฟโรเลต โคโลราโด (สหรัฐอเมริกา)
 
เชฟโรเลต โคโลราโด (ประเทศไทย).

โคโลราโดรุ่นนี้ที่อเมริกาผลิตที่โรงงานใน Shreveport รัฐลุยเซียนา สหรัฐอเมริกา สำหรับโคโลราโดในประเทศไทย ผลิตที่โรงงานของเจเนอรัลมอเตอร์ (จีเอ็ม) ในจังหวัดระยอง เมื่อปี พ.ศ. 2547 รถรุ่นนี้ได้รับการออกแบบและพัฒนาร่วมกันระหว่างเจเนอรัลมอเตอร์กับอีซูซุและใช้โครงสร้างพื้นฐานร่วมกับอีซูซุ ดีแมกซ์ (Isuzu D-Max) แต่ก็ใช้ชิ้นส่วนปลีกย่อยหลายส่วนที่แตกต่างกัน โคโลราโดในไทยถือว่าเป็นคนละรุ่นกันกับรถโคโลราโดในอเมริกา เนื่องจากใช้โครงสร้างหลักของตัวรถคนละแบบกัน (ตัวถังของโคโลราโดในไทยมีขนาดเล็กกว่า[ต้องการอ้างอิง] เมื่อเทียบกันระหว่างตัวถังแบบเดียวกัน (เช่น แบบกระบะตอนเดียวเหมือนกัน เป็นต้น) อย่างไรก็ตามทั้งสองรุ่นมีลักษณะภายนอกที่คล้ายคลึงกันมาก

ในประเทศไทยได้มีการเปิดตัวรุ่นที่มีระบบ G-80 differential lock เมื่อประมาณเดือนมกราคม พ.ศ. 2549

เดือน พ.ย. 2549 ได้มีการเปลื่ยนเครื่องยนต์จาก TD Commonrail เปลื่ยนเป็น เครื่องยนต์ CTI ทั้ง 2,500 และ 3,000 พร้อมเพิ่มเครื่องยนต์ 3,000 CTI Max VGS Turbo 163 แรงม้า

และในช่วงปลายปี พ.ศ. 2550 ได้มีการปรับรูปลักษณ์ภายนอกบางส่วน (ไมเนอร์เชนจ์) ทั้งกระจังและกันชนหน้าใหม่ ไฟท้ายใหม่ ล้ออัลลอยใหม่ ภายในคอนโชลแบบ Fash Surface พวงมาลัยดีไซน์ใหม่

ในปี พ.ศ. 2551 มีรุ่นที่ติดตั้งระบบก๊าซซีเอ็นจี (เอ็นจีวี) ออกมาจำหน่าย แต่กลับใช้เครื่องยนต์ดีเซลและยังมีรุ่น G80 Extreme แต่งพิเศษทั้ง การ์ดกันชนหน้า ฝากันแมลงด้านหน้าคิ้วกันสาดด้านข้างประตู และระบบล็อกเฟืองท้าย G80 Diff-Lock

วันที่ 13 ก.ค. พ.ค. 2553 ได้ทำการปรับโฉมครั้งที่ 2 ทั้ง กันชนหน้าแบบทูโทน เครื่องเล่น DVD Built-in หน้าจอสัมผัสขนาด 7 นิ้ว

รุ่นที่ 2 (พ.ศ. 2554-ปัจจุบัน) แก้

 
เชฟโรเลต โคโลราโด รุ่นที่ 2

รุ่นนี้ เปิดตัวเมื่อปี พ.ศ. 2554 มีเกียร์ 2 แบบคือ เกียร์ธรรมดา 5 สปีด และเกียร์อัตโนมัติ 6 สปีด และมีเครื่องยนต์ 2 แบบคือ 2.5 และ 2.8 ลิตร โดยในประเทศบราซิลใช้ชื่อว่า เชฟโรเลต S-10 (อังกฤษ: Chevrolet S-10) ซึ่งเป็นชื่อของรถกระบะรุ่นเดิม และการออกแบบโคโลราโดรุ่นนี้ได้ถูกนำไปใช้ออกแบบเชฟโรเลต เทรลเบลเซอร์ (อังกฤษ: Chevrolet Trailblazer) ด้วย

รุ่นปรับโฉม แก้

 
เชฟโรเลต โคโลราโด รุ่นปรับโฉม

รุ่นปรับโฉม ได้เปิดตัวในประเทศไทยเป็นครั้งแรกในโลกในเดือนเมษายน พ.ศ. 2559 โดยใช้ชื่อว่า All-New Chevrolet Colorado เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงที่มากมายแต่ยังเป็นรุ่นปรับโฉมเนื่องจากยังใช้โครงสร้างพื้นฐานของตัวรถเหมือนเดิม

ในรุ่นปรับโฉมได้ใช้เครื่องยนต์ดีเซลปรับปรุงใหม่ Duramax XLDE25 ขนาด 2.5 ลิตร และไม่ทำเครื่องยนต์ 2.8 ลิตรต่อเนื่องจากความต้องการของตลาดลดลง มีระบบเกียร์ธรรมดา 6 จังหวะและเกียร์อัติโนมัติ 6 จังหวะ ส่วนพวกมาลัยได้ปรับเปลี่ยนเป็นพวงมาลัยไฟฟ้า

ภายนอกมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือ กระจังหน้ามีการออกแบบใหม่ให้ดูมีความสปอร์ตขึ้น สำหรับไฟหน้าได้เพิ่ม Daytime Running Light (DRL)

ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2560 เชฟโรเลตได้ฉลองครบรอบรถกระบะของค่าย 100 ปี โดยได้ทำรุ่นพิเศษขึ้นมาในชื่อ เชฟโรเลต โคโลราโด เซนเทนเนียล เอ็ดดิชั่น โดยได้ตกแต่งสติ๊กเกอร์สีดำบนกระโปรงรถ ล้ออัลลอยสีดำ 18 นิ้วพร้อมกับชุดแต่งชุดล้อ สปอร์ตบาร์ ตราสัญลักษณ์สีดำและมีหมายเลขประจำตัวรถเฉพาะคัน โดยรุ่นพิเศษนี้ได้ผลิตออกมาเพียง 100 คันเท่านั้น

แต่มีข่าวมาว่า เชฟโรเลต เตรียมประชุมดีลเลอร์ ระบายรถค้างสต็อก 4,000 คัน คาดอาจจัดแคมเปญลด แลก แจก แถม หลังประกาศปิดโรงงานในไทย และมีประกาศเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2563 ทางบริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส หรือ จีเอ็ม เตรียมยุติการจัดจำหน่ายรถยนต์ เชฟโรเลตในตลาดประเทศไทยภายในสิ้นปี 2563 แต่ยังคงเปิดให้บริการหลังการขาย เช่น การรับประกันคุณภาพรถยนต์ การซ่อมบำรุงและการบริการต่าง ๆ ให้แก่ลูกค้าเก่า ผ่านเครือข่ายของศูนย์บริการที่ได้รับการแต่งตั้งจากเชฟโรเลตทั่วประเทศ

Chevrolet โดยบริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส (General Motors) ประกาศเลิกขายรถยนต์เชฟโรเลตในประเทศไทยภายในสิ้นปี 2563 เหตุขายศูนย์การผลิตให้บริษัทยักษ์ใหญ่ของจีนและปัจจัยทางเศรษฐกิจที่ไม่เอื้ออำนวย แต่ยืนยันยังเปิดให้บริการหลังการขายต่อไป ระบุยอดขาย-ส่งออกไม่สามารถแข่งขันได้ เผยขายโรงงานผลิตระยองให้เกรทวอลล์ ธุรกิจรถยนต์รายใหญ่จากจีนแล้ว

เนื่องจาก เจนเนอรัล มอเตอร์ส (จีเอ็ม) จะยุติการจัดจำหน่ายรถยนต์ เชฟโรเลตในตลาดประเทศไทยภายในสิ้นปี 2563 แต่จะยังคงให้บริการหลังการขายแก่ลูกค้าเชฟโรเลต อาทิ การรับประกันคุณภาพรถยนต์ การซ่อมบำรุง และการบริการต่างๆ ผ่านเครือข่ายของศูนย์บริการ ที่ได้รับการแต่งตั้งจากเชฟโรเลตทั่วประเทศ หลังจากที่มีการขายศูนย์การผลิตรถยนต์และเครื่องยนต์ของจีเอ็ม ประเทศไทย ในจังหวัดระยองให้แก่ เกรท วอล มอเตอร์ส [1]

หลายท่านน่าจะทราบข่าวใหญ่เรื่อง General Motors (GM) ประกาศยุติการทำตลาดในประเทศไทยไปแล้ว และ ประเทศไทยไม่ใช่ที่เดียว ที่เจอชะตากรรมนี้ เพราะ แบรนด์ Holden ในออสเตรเลีย และ นิวซีแลนด์ กำลังจะมาถึงบทสุดท้ายแล้วเช่นกัน โดยบริษัทระบุว่าจะปิดตัวแบรนด์ และ ยุติกิจการเกือบทั้งหมดของ Holden ภายในปี 2021 เมื่อมองกลับย้อนไปช่วงปี 2017 เดือน ตุลาคม โรงงาน Holden ใน Elizabeth Plant, Australia ที่เปิดมายาวนาน 69 ปี ก็ได้ปิดตัวลงไปก่อนหน้า

สรุปใจความสำคัญ ภาพรวมได้ว่า General Motors (GM) จะทิ้งตลาด SEA (South East Asia : เอเชียตะวันออกเฉียงใต้) ทั้งหมด เหลือ ทำตลาดแค่ อเมริกา และ จีน เท่านั้น[2]

อ้างอิง แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  1. "General Motors (GM) ประกาศยุติการขายรถยนต์ Chevrolet ในประเทศไทย ในปี 2563 นี้ !". headlightmag.com/.
  2. "General Motors (GM) ประกาศยุติการขายรถยนต์ Holden ในออสเตรเลีย – นิวซีแลนด์ ในปี 2021 นี้ !!". headlightmag.com/.