เทศกาลเช็งเม้ง

(เปลี่ยนทางจาก เชงเม้ง)

ชิงหมิง (จีนตัวย่อ: 清明节; จีนตัวเต็ม: 清明節; พินอิน: Qīngmíng jié) หรือ เช็งเม้ง, เชงเม้ง (ตามสำเนียงแต้จิ๋ว) หรือ "เฉ่งเบ๋ง" (ในสำเนียงภาษาฮกเกี้ยน) "เช็ง" หรือ "เฉ่ง" หมายถึง สะอาด บริสุทธิ์ และ "เม้ง"หรือ"เบ๋ง" หมายถึง สว่าง รวมแล้วหมายความถึง ช่วงเวลาแห่งความแจ่มใส รื่นรมย์ เป็นเทศกาลจีนของผู้ที่มีเชื้อสายจีนในจีนแผ่นดินใหญ่ ฮ่องกง มาเก๊า ไต้หวัน มาเลเซีย สิงคโปร์ กัมพูชา อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย และเวียดนาม เทศกาลใบไม้ผลินี้[2][3] มักอยู่ในวันแรกของสารทที่ 5 (มีอีกชื่อว่าชิงหมิง) ในปฏิทินสุริยจันทรคติจีนดั้งเดิม ทำให้ตรงกับวันที่ 15 หลังวิษุวัตมีนาคม ซึ่งอยู่ในช่วงวันที่ 4 5 หรือ 6 เมษายนในปีหนึ่ง[4][5][6] ในวันชิงหมิง ครอบครัวชาวจีนจะเยี่ยมหลุมฝังศพบรรพบุรุษเพื่อทำความสะอาดสุสานและทำพิธีบูชาบรรพบุรุษ[7] ของที่นำมาบูชามักเป็นอาหารพื้นเมืองและเผาธูปกับกระดาษเงินกระดาษทอง[7][2][8] เทศกาลนี้ถือเป็นการแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษในวัฒนธรรมจีน[7]

เทศกาลเช็งเม้ง
เผากระดาษเงินกระดาษทองให้แก่ผู้ล่วงลับ
ชื่อทางการชิงหมิงเจี๋ย (清明节)
เทศกาลชิงหมิง (清明節)
วันกวาดสุสาน (掃墳節)
จัดขึ้นโดยชาวฮั่น, ชาวฮากกา, ชาวเจตตี[1] และ ชาวรีวกีว
ความสำคัญรำลึกถึงบรรพบุรุษ
การถือปฏิบัติกวาดทำความสะอาดหลุมฝังศพ เซ่นไหว้บรรพบุรุษ ถวายอาหารแก่บรรพบุรุษ เผากระดาษเงินกระดาษทอง
วันที่15 วัน หลังจากวันวสันตวิษุวัต
4, 5 หรือ 6 เมษายน
เทศกาลเช็งเม้ง
อักษรจีนตัวเต็ม清明節
อักษรจีนตัวย่อ清明节
ความหมายตามตัวอักษร"เทศกาลความสว่างบริสุทธิ์"
กระดาษสีบนสุสานในช่วงเทศกาลเช็งเม้ง, สุสานบูกิตบราวน์, สิงคโปร์

ต้นกำเนิดเทศกาลเช็งเม้งมีมามากกว่า 2,500 ปี แม้ว่าการสังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก

ตำนานการเกิดเช็งเม้ง แก้

ในยุคชุนชิว องค์ชายฉงเอ่อแห่งแคว้นจิ้นหนีภัยออกนอกแคว้น ไปมีชีวิตตกระกำลำบากนอกเมือง โดยมีเจี้ยจื่อทุยติดตามไปดูแลรับใช้

เจี้ยจื่อทุยมีจิตใจเมตตาถึงขนาดเชือดเนื้อที่ขาของตนเป็นอาหารให้องค์ชายเสวยเพื่อประทังชีวิต ภายหลังเมื่อองค์ชายฉงเอ่อเสด็จกลับเข้าแคว้นและได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นเจ้าผู้ครองแคว้น นาม จิ้นเหวินกง และได้สถาปนาตอบแทนขุนนางทุกคนที่เคยให้ความช่วยเหลือตน แต่ลืมเจี้ยจื่อทุยไป นานวันเข้าจึงมีคนเตือนถึงบุญคุณเจี้ยจื่อทุย จิ้นเหวินกงเพิ่งนึกขึ้นไป จึงต้องการตอบแทนบุญคุณเจี้ยจื่อทุย โดยจัดหาบ้านให้เขาและมารดาให้เข้ามาอยู่อย่างสุขสบายในเมือง แต่ทว่าเจี้ยจื่อทุยปฏิเสธ

จิ้นเหวินกงได้คิดแผนเผาภูเขา โดยหวังว่าเจี้ยจื่อทุยจะพามารดาออกมาจากบ้าน แต่ผลสุดท้ายกลับไม่เป็นไปอย่างที่คิด สองแม่ลูกกลับต้องเสียชีวิตในกองเพลิง ดังนั้น เพื่อเป็นการรำลึกถึงเจี้ยจื่อทุย จิ้นเหวินกงจึงมีคำสั่งให้วันนี้ของทุกปี ห้ามไม่ให้มีการก่อไฟ และให้รับประทานแต่อาหารสด ๆ และเย็น ๆ จนกลายเป็นที่มาของเทศกาลวันกินอาหารเย็น หรือ เทศกาลหันสือเจี๋ย (寒食节) ซึ่งเป็นวันสุกดิบก่อนวันเช็งเม้ง 1 วัน

เนื่องจากคนโบราณนิยมถือปฏิบัติกิจกรรมตามประเพณีวันหันสือเจี๋ยต่อเนื่องไปจนถึงวันเช็งเม้ง นานวันเข้าเทศกาลทั้งสองก็รวมเป็นวันเช็งเม้งวันเดียว การไหว้เจี้ยจื่อทุยจึงค่อย ๆ เปลี่ยนมาเป็นการไปเซ่นไหว้บรรพบุรุษแทน

ประเพณีการทำความสะอาดฮวงซุ้ย แก้

เริ่มมาจากการที่พระเจ้าฮั่นเกาจู ปราบดาภิเษกและสถาปนาราชวงศ์ฮั่นขึ้นแล้ว เกิดระลึกถึงบุญคุณบิดา มารดาที่เสียชีวิตไปแล้วที่บ้านเกิด จึงเร่งรัดกลับบ้านเกิด แต่ทว่าป้ายชื่อของฮวงซุ้ยแต่ละที่เลือนรางเต็มทน จากสงคราม พระเจ้าฮั่นเกาจูจึงอธิษฐานต่อสวรรค์ด้วยการโปรยกระดาษสีขึ้นบนฟ้าแล้วให้ลมพัดปลิวไป ถ้ากระดาษตกที่ฮวงซุ้ยไหน ถือว่าเป็นฮวงซุ้ยของบิดา มารดาพระองค์ และเมื่อดูป้ายชื่อชัด ๆ แล้วก็พบว่าเป็นฮวงซุ้ยของบิดา มารดาพระองค์จริง ประเพณีการทำความสะอาดฮวงซุ้ยและโปรยกระดาษสีบนหลุมศพก็เริ่มมาจากตรงนี้เอง

อ้างอิง แก้

  1. "Meet the Chetti Melaka, or Peranakan Indians, striving to save their vanishing culture". Channel News Asia. 21 October 2018.
  2. 2.0 2.1 Stepanchuk, Carol (1991). Mooncakes and Hungry Ghosts: Festivals of China. San Francisco: China Books & Periodicals. pp. 61–70. ISBN 0-8351-2481-9.
  3. Eberhard, Wolfram (1952). "Ch'ing-ming, the spring festival". Chinese Festivals. New York: H. Wolff. pp. 112–127.
  4. "Traditional Chinese Festivals". china.org.cn. 2007-04-05. สืบค้นเมื่อ 2014-08-25.
  5. "Tomb Sweeping Day". Taiwan.gov.tw. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 เมษายน 2014. สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2014.
  6. "Ching Ming Festival | Hong Kong Tourism Board". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-27. สืบค้นเมื่อ 2023-08-23.
  7. 7.0 7.1 7.2 Wei, Liming (2010). Chinese Festivals: Traditions, Customs and Rituals (Second ed.). Beijing. pp. 31–35. ISBN 9787508516936.
  8. "Why Chinese Burn Paper on Tomb-Sweeping Day". The Beijinger (ภาษาอังกฤษ). 2 April 2022. สืบค้นเมื่อ 7 March 2023.

อ่านเพิ่ม แก้

  • Aijmer, Göran (1978), "Ancestors in the Spring the Qingming Festival in Central China", Journal of the Hong Kong Branch of the Royal Asiatic Society, 18: 59–82, JSTOR 23889632

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  •   วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Qingming Festival