เจ้าพรหมาภิพงษธาดา

เจ้าพรหมาภิพงษธาดา (ไทยถิ่นเหนือ: ) เจ้านครลำปางองค์ที่ 10 ในราชวงศ์ทิพย์จักร ดำรงตำแหน่งระหว่างปี พ.ศ. 2416 ถึงปี พ.ศ. 2436 (แต่ในบางตำราว่าถึงปี พ.ศ. 2429)

เจ้าพรหมาภิพงษธาดา
เจ้าผู้ครองนครลำปาง
ครองราชย์16 กรกฎาคม พ.ศ. 2416 - 25 มกราคม พ.ศ. 2436[1] (บางตำราว่าถึง พ.ศ. 2429[2])
รัชสมัย20 ปี
ก่อนหน้าเจ้าวรญาณรังษี
ถัดไปเจ้านรนันทไชยชวลิต[1]
เจ้าสุริยะจางวาง (พิพาท)[3]
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
อุปราชเจ้านรนันทไชยชวลิต
เจ้าอุปราชนครลำปาง
ดำรงพระยศพ.ศ. 2406 - 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2416
ก่อนหน้าเจ้าอุปราชมหาพรหม
ถัดไปเจ้าอุปราชธนัญไชย
เจ้าหลวงเจ้าวรญาณรังษี
พิราลัย10 มีนาคม พ.ศ. 2436
ชายาแม่เจ้าคำหยุย
พระนามเต็ม
เจ้าพรหมาภิพงศ์ธาดา สามันต์วิชิตประเททศราช บริสัษยนาถทิพจักราธิวงศ์ ดำรงโยนวิสัย อภัยรัษฎารักษ์ อุดมศักดิ์สุเสรนางค์ ลำปางคมหานคราธิปตัย เจ้านครลำปาง
พระบุตร
  • เจ้าบุรีรัตน์ (โละ)
  • เจ้าหญิงอินท์ประสงค์
  • เจ้าหญิงทิพยอด
  • เจ้าหญิงกาบคำ
ราชวงศ์ทิพย์จักร
ราชสกุลณ ลำปาง
พระบิดาพระเจ้าดวงทิพย์
พระมารดาเจ้าบัวแก้ว
ศาสนาเถรวาท

พระประวัติ แก้

เจ้าพรหมาภิพงษธาดา เป็นโอรสในพระเจ้าดวงทิพย์ กับเจ้าบัวแก้ว และเป็นอนุชาของเจ้าอุปราช (มหาพรหม) มีพระนามเดิมว่า เจ้าพรหมวงศ์ ได้เข้ารับราชการในตำแหน่งพระยาไชยสงคราม ในสมัยเจ้าอุปราชญาณรังษี และได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าราชวงศ์ในปี พ.ศ. 2399 ครั้นปี พ.ศ. 2406 เจ้าอุปราช (มหาพรหม) พิราลัย เจ้าหลวงวรญาณรังษีได้มอบให้เจ้าราชวงศ์ (พรหมวงศ์) กับเจ้าราชบุตร (ไชยแก้ว) คุมเครื่องราชบรรณาการไปถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเจ้าราชวงศ์ (พรหมวงศ์) ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นที่เจ้าอุปราชในครั้งนั้น[4]

ต่อมาในปี พ.ศ. 2416 (จ.ศ. 1235) เจ้าอุปราชพรหมวงศ์ ได้ครองนครลำปางสืบต่อจากเจ้าวรญาณรังษี โดยรับพระราชทานสัญญาบัตรเป็น เจ้าพรหมาภิพงศ์ธาดา สามันต์วิชิตประเททศราช บริสัษยนาถทิพจักราธิวงศ์ ดำรงโยนวิสัย อภัยรัษฎารักษ์ อุดมศักดิ์สุเสรนางค์ ลำปางคมหานคราธิปตัย เจ้านครลำปาง[5]

เจ้าพรหมาภิพงษธาดา มีชายาคือ แม่เจ้าคำหยุย มีราชโอรสธิดาคือ

  1. เจ้าบุรีรัตน์ (โละ) เจ้าบุรีรัตน์นครลำปาง
  2. เจ้าหญิงอินท์ประสงค์ สมรสกับหม่องป๊อก มีธิดาคือ
    • เจ้าม้วน ณ ลำปาง สมรสกับนายบุญเย็น ณ ลำปาง เป็นมารดาของพลโทจิตรพล ณ ลำปาง
  3. เจ้าหญิงทิพยอด สมรสกับเจ้าราชวงศ์ (แก้วปราบเมรุ ณ ลำปาง) เจ้าราชวงศ์นครลำปาง
  4. เจ้าหญิงกาบคำ
    1. เจ้าหญิงอินท์ประสงค์ สมรสกับนายหม่องป๊อก มีธิดาคือ
            - เจ้าม้วน ณ ลำปาง สมรสกับนายบุญเย็น ณ ลำปาง เป็นมารดาของพลตรีจิตรพล ณ ลำปาง
    2. เจ้าหญิงทิพยอด สมรสกับเจ้าราชวงศ์ (แก้วปราบเมรุ ณ ลำปาง) เจ้าราชวงศ์นครลำปาง มีโอรส-ธิดาคือ
            - พระเพชรคีรี (เจ้าแก้วเมืองไท ณ ลำปาง) อดีตเจ้าเมืองสงขลา สมรสกับเจ้าหญิงวรรณรา ณ ลำพูน พระธิดาในเจ้าหลวงจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าผู้ครองนครลำพูน
            - เจ้ายอดแก้ว ณ ลำปาง
            - เจ้าบุตร ณ ลำปาง

ระยะเวลาสิ้นสุดการครองนครลำปาง แก้

ระยะเวลาสิ้นสุดการครองนครลำปางของเจ้าพรหมาภิพงษธาดา ถูกกล่าวถึงในพงศาวดาร และเอกสารทางประวัติศาสตร์ของสยาม และของท้องถิ่นแตกต่างกัน โดยแยกได้เป็น 2 ระยะเวลา คือ

ประวัติศาสตร์ของสยาม แก้

เอกสารทางประวัติศาสตร์ของสยาม กล่าวถึงเจ้าพรหมาภิพงษธาดาว่าเมื่อถึงปี พ.ศ. 2435 เจ้าพรหมาภิพงศ์ธาดาชราภาพลง จึงมอบตราตำแหน่งเจ้านครให้เจ้าราชวงษ์ (แก้วเมืองมา) รักษาและว่าราชการแทนโดยไม่ได้รับพระบรมราชานุญาต ทำให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระดำริจะตั้งเจ้านครลำปางองค์ใหม่[6] ถึงวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2435 (นับแบบปัจจุบันเป็นปี พ.ศ. 2436) เจ้าพรหมาภิพงศ์ธาดาจึงได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็น เจ้าพรหมาภิพงษธาดา สามาสันวิชิตประเทศราช บริสัษยนารถโยนรัษฎารักษ์ มเหศักข์เสนานุกูล สมบูรณ์ไวยวุฒิคุณธรรม์ ลำปางคขัณฑสีมาธิบดี จางวางเมืองนครลำปาง และเจ้าอุปราชได้รับสัญญาบัตรตั้งเป็นเจ้านรนันทไชยชวลิต เจ้าเมืองนครลำปางสืบแทน[1]

ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2436 (นับแบบปัจจุบันเป็นปี พ.ศ. 2437) เจ้าพรหมาภิพงษธาดาประชวรด้วยพระอาการไข้ และถึงแก่พิราลัยเมื่อวันที่ 10 มีนาคมของปีเดียวกัน[7]

เอกสารของท้องถิ่น แก้

ตำนานเจ้าเจ็ดพระองค์ ใน ของเก่าเมืองละกอน กล่าวถึงเจ้าพรหมาภิพงษธาดาว่าเมื่อปี พ.ศ. 2429 เป็นปีที่เจ้าพรหมาภิพงษธาดา ถึงแก่พิราลัย ขณะอายุได้ 81 ปี[8]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

ราชตระกูล แก้

อ้างอิง แก้

  • ประชุมพงศาวดารภาคที่ 3 "เรื่อง พงศาวดารเมืองนครเชียงใหม่ เมืองนครลำปาง เมืองลำพูนไชย"
  1. 1.0 1.1 1.2 ราชกิจจานุเบกษา, การตั้งเจ้าเมืองประเทศราช, เล่ม 9, หน้า 389
  2. รุ่งพงษ์ ชัยนาม. ประวัติศาสตร์ล้านนา : ประวัติศาสตร์ไทยที่คนไทยไม่ค่อยมีโกาสได้ศึกษา. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  3. มงคล ถูกนึก. ไทยวน คนเมือง แห่งลุ่มแม่น้ำวัง. ลำปาง : ลำปางบรรณกิจ. 2555
  4. พงศาวดารเมืองนครเชียงใหม่ เมืองนครลำปาง เมืองลำพูนไชย", หน้า 120
  5. พงศาวดารเมืองนครเชียงใหม่ เมืองนครลำปาง เมืองลำพูนไชย", หน้า 126
  6. วรชาติ มีชูบท, เจ้านายฝ่ายเหนือ และตำนานรักมะเมียะ. กรุงเทพฯ : สร้างสรรค์บุ๊คส์, 2556, หน้า 106 - 110
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวเจ้าประเทศราชถึงแก่พิราลัย (เจ้าพรหมาภิพงษ์ธาดา จางวางเมืองนครลำปาง, เล่ม 11 ตอนที่ 18 วันที่ 29 กรกฎาคม 2436 หน้า 152
  8. มงคล ถูกนึก. ไทยวน คนเมืองแห่งลุ่มแม่น้ำวัง. ลำปางบรรณกิจ. ลำปาง:2555. หน้า 167


ก่อนหน้า เจ้าพรหมาภิพงษธาดา ถัดไป
เจ้าวรญาณรังษี   เจ้าผู้ครองนครลำปาง
(พ.ศ. 2416 - พ.ศ. 2435
(บางตำราว่าถึง พ.ศ. 2429))
  เจ้านรนันทไชยชวลิต
(บางตำราว่าเจ้าสุริยะจางวาง)