เจ้าหญิงตองตา (Princess of Taungtha; พ.ศ. 2394 - พ.ศ. 2422) ทรงมีพระนามเดิมคือ เจ้าหญิงศรีประภาเทวี (Sri Prabha Devi) เจ้าหญิงทรงเป็นเจ้าหญิงแห่งราชวงศ์โก้นบอง

เจ้าหญิงตองตา

เจ้าหญิงศรีประภาเทวี
เจ้าหญิงตองตา
พระฉายาลักษณ์เจ้าหญิงตองตา ฉายก่อนปีพ.ศ. 2422
เจ้าหญิงแห่งพม่า
ประสูติพ.ศ. 2394
พระราชวังอมรปุระ อมรปุระ ประเทศพม่า
สวรรคตพ.ศ. 2422
เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
(พระชนมายุ 28 พรรษา)
เจ้าหญิงตองตา
ราชวงศ์อลองพญา
พระราชบิดาพระเจ้ามินดง
พระราชมารดาเจ้าจอมมารดากอนิทวา

พระประวัติ แก้

เจ้าหญิงศรีประภาเทวี หรือ เจ้าหญิงตองตาทรงเป็นพระราชธิดาลำดับที่ 16 ของพระเจ้ามินดง[1] ซึ่งประสูติแต่เจ้าจอมมารดากอนิทวา พระองค์ประสูติที่พระราชวังอมรปุระ กรุงอมรปุระ ซึ่งขณะนั้นอยู่ในรัชกาลของพระเจ้าพุกามแมง ดังนั้นทรงเป็นพระราชธิดาซึ่งประสูตินอกเศวตฉัตร เจ้าหญิงทรงมีพระเชษฐา พระเชษฐภคินีและพระขนิษฐาร่วมบิดามารดา 9 พระองค์ดังนี้

  • เจ้าชายเถ่าซา (พ.ศ. 2386 - พ.ศ. 2422)
  • เจ้าหญิงมยินโกน (พ.ศ. 2394 - พ.ศ. 2432)
  • เจ้าหญิงตองตา
  • เจ้าชายพินเล (พ.ศ. 2396 - พ.ศ. 2422)
  • เจ้าชายกอธานี (พ.ศ. 2401 - พ.ศ. 2422)
  • เจ้าหญิงปะเดง (พ.ศ. 2401 - หลัง พ.ศ. 2464)
  • เจ้าหญิงเมียวคยี (พ.ศ. 2404 - พ.ศ. 2456)
  • เจ้าชายปันยา (พ.ศ. 2406 - พ.ศ. 2422)
  • เจ้าหญิงมินลัต (พ.ศ. 2407 - ?)
  • เจ้าหญิงมินดัต (พ.ศ. 2409 - หลัง พ.ศ. 2464)

เจ้าชายมินดง พระราชบิดาของเจ้าหญิงในขณะนั้นทรงรอบรวมกองกำลังเข้ายึดพระราชอำนาจจากพระเจ้าพุกามแมง ผู้เป็นพระเชษฐา พระองค์สละราชสมบัติในปี พ.ศ. 2396 พระเจ้ามินดงได้ครองราชสมบัติสืบต่อมา พระเจ้ามินดงทรงย้ายราชธานีไปยังกรุงมัณฑะเลย์ ในปีพ.ศ. 2400 ทรงได้รับการอภิบาลในราชสำนักที่มัณฑเลย์ เจ้าหญิงได้รับพระราชทานศักดินา "ตองตา" (Taungtha ) จากพระเจ้ามินดง จึงทำให้มีบรรดาศักดิ์เป็น "เจ้าหญิงแห่งตองตา" และกลายเป็นพระนามที่เรียกขานกันว่า "เจ้าหญิงตองตา"[2]

เกิดความวุ่นวายทางการเมืองในปีสุดท้ายของรัชกาลพระเจ้ามินดง ปี พ.ศ. 2421 พระนางซินผิ่วมะฉิ่น พระมเหสีตำหนักกลางในพระเจ้ามินดง และอัครมหาเสนาบดีในพระเจ้ามินดง คือ เกงหวุ่นมินจี ซึ่งเป็นพันธมิตรของพระนางซินผิ่วมะฉิ่น และเต่งกะด๊ะมินจี เสนาบดีผู้มีอิทธิพลในสภาลุดต่ออีกคนหนึ่ง ได้ก่อการรัฐประหารวังหลวงพม่า พ.ศ. 2421 - 2422[3] โดยดำเนินการแต่งตั้งเจ้าชายธีบอ หนึ่งในพระโอรสของพระเจ้ามินดง และเป็นพระอนุชาต่างมารดาในเจ้าหญิงตองตา ขึ้นเป็นองค์รัชทายาท พระนางซินผิ่วมะฉิ่นและเกงหวุ่นมินจีดำเนินการจับกุมพระราชโอรส ผู้มีสิทธิในราชบัลลังก์และพระราชธิดารวมถึงเจ้าจอมมารดา บางพระองค์ มาสังหารหมู่เพื่อเปิดทางให้เจ้าชายธีบอขึ้นครองราชย์เป็น พระเจ้าธีบอ ได้โดยง่าย เจ้าหญิงตองตาทรงเป็นหนึ่งในราชนิกูลที่ถูกจับกุมตามคำสั่งของพระนางชินผิ่วมะฉิ่นในวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2421 พร้อมพระราชธิดาองค์อื่นๆ ที่พระนางชินผิ่วมะฉิ่นเกรงว่าจะเป็นภัยต่อราชบัลลังก์ โดยเหล่าพระราชโอรสและพระราชธิดาที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดากอนิทวาล้วนถูกจับกุม ซึ่งไม่มีการกล่าวถึงการสิ้นพระชนม์ของเจ้าหญิงตองตา แต่นักประวัติศาสตร์คาดว่าอาจจะทรงถูกปลงพระชนม์ตามคำสั่งของพระนางซินผิ่วมะฉิ่นในราววันที่ 13 - 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2422 ณ พระราชวังมัณฑะเลย์ สิริพระชนมายุ 28 พรรษา

อ้างอิง แก้

  1. http://www.royalark.net/Burma/konbau18.htm
  2. http://www.royalark.net/Burma/konbau18.htm
  3. H. Fielding (สุภัตรา ภูมิประภาส แปล), "ราชินีศุภยาลัต จากนางกษัตริย์สู่สามัญชน", กรุงเทพฯ:มติชน pp. 49; published 2015; ISBN 978-974-02-1439-7