เจ้าราชวงศ์ (เลาแก้ว ณ เชียงใหม่)

เจ้าราชวงศ์ (น้อยลาวแก้ว ณ เชียงใหม่) เป็นราชบุตรองค์เดียวของเจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 8 แห่งราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์

เจ้าเลาแก้ว ณ เชียงใหม่
เจ้าราชวงศ์ จังหวัดเชียงใหม่
เกิดปีฉลู จ.ศ. 1239
ถึงแก่กรรมพ.ศ. 2487 (66 ปี)
ภรรยาชายา
เจ้าจันทร์จร ณ เชียงใหม่
หม่อม
หม่อมมา ณ เชียงใหม่
หม่อมผัน ณ เชียงใหม่
พระบุตร6 คน
ราชสกุลณ เชียงใหม่
ราชวงศ์ทิพย์จักร
เจ้าบิดาเจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์
เจ้ามารดาเจ้าทิพเนตร

พระประวัติ แก้

เจ้าน้อยเลาแก้ว (หรือ ลาวแก้ว) ณ เชียงใหม่ เกิดเมื่อปีฉลู จ.ศ. 1239[1] (ราวปี พ.ศ. 2420) เป็นราชบุตรองค์เดียวในเจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ ที่เกิดแต่เจ้าทิพเนตร ธิดาในเจ้าหนานมหาเทพ ณ เชียงใหม่ ราชบุตรองค์ที่ 7 แห่งพระเจ้ามโหตรประเทศ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 5

ครั้นเจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ถึงแก่พิราลัยเมื่อวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2452 แล้ว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งทรงทราบความที่เจ้าดารารัศมี พระราชชายา ถวายบังคมลาไปประทับที่นครเชียงใหม่ก่อนแล้ว จึงมีพระราชดำรัสกับเจ้าดารารัศมีให้เลือกผู้แทนเจ้าอินทวโรรส ที่ว่า

ในการเลือกเจ้านครเชียงใหม่แทนเจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ตามกฎต้องให้ทายาทผู้สืบตระกูลรับตำแหน่งนี้ ซึ่งควรจะต้องได้แก่เจ้าราชบุตร (เลาแก้ว) ทายาทแต่ผู้เดียว แต่ในตำแหน่งนี้จะต้องเป็นพระอภิบาล พระราชยายาเจ้าดารารัศมี ในรัชกาลที่ 5 ด้วย ในขณะนี้เจ้าราชบุตรยังอายุน้อยอยู่ ฉะนั้นพระราชชายาเจ้าดารารัศมีจึงขอเลือกเจ้าอุปราชแก้ว รับหน้าที่นี้ก่อน...

— วชิราวุธ ป.ร.

เจ้าแก้วนวรัฐ จึงได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ส่วนเจ้าราชบุตร (น้อยลาวแก้ว) ได้รับบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าราชวงศ์ จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งแต่วันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2466[2]

เจ้าราชวงศ์ (เลาแก้ว ณ เชียงใหม่) ถึงแก่กรรมเมื่อในปี พ.ศ. 2487[1]

โอรส-ธิดา แก้

เจ้าราชวงศ์ (เลาแก้ว ณ เชียงใหม่) มีโอรส 3 คน และธิดา 3 คน ได้แก่

ประสูติแต่เจ้าจันทร์จร ณ เชียงใหม่
  1. เจ้าจันทร์พงศ์ ณ เชียงใหม่ สมรสกับเจ้าแก้วพา ณ ลำพูน
  2. เจ้าแก้วมงคล ณ เชียงใหม่ สมรสกับเจ้าแสงดาว และศรีนวล ณ เชียงใหม่
ประสูติแต่หม่อมมา ณ เชียงใหม่
  1. เจ้าอินทรัตน์ ณ เชียงใหม่
  2. เจ้าลดาคำ ณ เชียงใหม่ สมรสและหย่ากับพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน สมรสครั้งที่สองกับเจ้าหนานเชา ณ เชียงใหม่ พระธิดาจากการสมรสครั้งแรกสององค์ พระโอรสจากการสมรสครั้งที่สองคนเดียว[3][4]
ประสูติแต่หม่อมผัน ณ เชียงใหม่
  1. เจ้าแววดาว ณ เชียงใหม่
  2. เจ้าสร้อยแก้ว ณ เชียงใหม่

การปฏิบัติภารกิจในฐานะเจ้านายฝ่ายเหนือ แก้

เจ้าน้อยเลาแก้ว เคยได้ปฏิบัติหน้าที่แสดงความจงรักภักดีต่อราชวงศ์จักรี โดยเดินทางไปพร้อมกับเจ้าอินทวโรรสสุริยวงศ์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ พร้อมด้วยเจ้าน้อยสมพมิตร เจ้าน้อยเมืองชื่น และเจ้าน้อยวุฒิวงษ์ เข้าเฝ้าถวายเครื่องราชบรรณาการ เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2447[5] ตามราชประเพณีที่ประเทศราชต้องส่งต้นไม้เงินต้นไม้ทอง และเครื่องราชบรรณาการไปยังกรุงเทพฯ ทุก ๆ 3 ปี หรือทุกปี เพื่อแสดงความสวามิภักดิ์และการยอมเป็นเมืองขึ้น[6] ซึ่งเป็นการถวายเครื่องราชบรรณาการตามโบราณราชประเพณีเป็นครั้งสุดท้าย[7]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

พงศาวลี แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "เจ้าราชวงศ์ เลาแก้ว ณ เชียงใหม่". ฺBilliongraves. 2560. สืบค้นเมื่อ 27 มกราคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. ราชกิจจานุเบหษา, พระราชทานบรรดาศักดิ์, เล่ม 40, ตอน ง, 30 มีนาคม 2466, หน้า 4,619
  3. "คัมภีร์ คัมภีรญาณนนท์ , นาวาอากาศเอก. เจ้านายฝ่ายเหนือ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-14. สืบค้นเมื่อ 2011-11-01.
  4. "ข้อมูลสังเขปหม่อมราชวงศ์ศุภดิศ ดิศกุล - สายสกุลเจ้าลดาคำ ณ เชียงใหม่". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-16. สืบค้นเมื่อ 2012-06-13.
  5. เจ้าประเทศราชเฝ้าถวายเครื่องราชบรรณาการ เจ้านครเชียงใหม่ เฝ้าถวายต้นไม้ทองเงินเครื่องราชบรรณาการราชกิจจานุเบกษา เล่ม 21 ตอนที่ 28 วันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2447
  6. ต้นไม้ทอง ต้นไม้เงินสมัยรัตนโกสินทร์ เก็บถาวร 2017-11-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนจาก ศาลาเครื่องราชอิสริยยศ
  7. วรชาติ มีชูบท, เจ้านายฝ่ายเหนือ และตำนานรักมะเมียะ, กรุงเทพฯ : สร้างสรรค์บุ๊คส์, หน้า 151
  8. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-10-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๒๘, ตอน๐ ง, ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๔, หน้า ๑๗๘๓
  9. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญฝ่ายหน้า, เล่ม ๔๓, ตอน๐ ง, ๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๖๙, หน้า ๓๙๙๔
  10. ข้อมูลสังเขปหม่อมราชวงศ์ศุภดิศ ดิศกุล - สายสกุลเจ้าลดาคำ ณ เชียงใหม่