เจ้ามหาอุปราชบุญคง
เจ้ามหาอุปราชบุญคง เป็นเจ้ามหาอุปราชพระองค์สุดท้ายแห่งราชอาณาจักรหลวงพระบาง
เจ้าบุญคง | |||||
---|---|---|---|---|---|
เจ้ามหาอุปราช | |||||
ก่อนหน้า | เจ้ามหาอุปราชสุวรรณพรหมา | ||||
ถัดไป | เจ้าเพชรราช รัตนวงศา | ||||
ประสูติ | พ.ศ. 2400 | ||||
สวรรคต | 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2463 (63 ปี) หลวงพระบาง | ||||
คู่อภิเษก | 14 ท่าน | ||||
พระราชบุตร | 24 องค์ | ||||
| |||||
ราชวงศ์ | ราชวงศ์ล้านช้างร่มขาว | ||||
พระราชบิดา | เจ้ามหาอุปราชสุวรรณพรหมา | ||||
พระราชมารดา | หม่อมคำบัว |
พระองค์ประสูติเมื่อ พ.ศ. 2400 ทรงเป็นพระโอรสของเจ้าสุวรรณพรหมากับหม่อมคำบัว พระบิดาของท่านมีฐานะเป็นเจ้ามหาอุปราชในรัชกาลพระเจ้ามหินทรเทพนิภาธรแห่งหลวงพระบาง และเป็นพระนัดดาในเจ้ามหาอุปราชอุ่นแก้ว เจ้ามหาอุปราชในรัชกาลเจ้าสุกเสริมแห่งหลวงพระบาง ถือเป็นผู้สืบสันตติวงศ์สายตรงแห่งตำแหน่งอุปราช (รองเจ้ามหาชีวิต) หรือวังหน้าแห่งราชอาณาจักรหลวงพระบาง ทรงได้รับพระราชทานสัญญาบัตรจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระเจ้ากรุงสยาม ให้มีฐานันดรศักดิ์เป็นเจ้าราชภาคิไนยเมื่อ พ.ศ. 2426 ทรงได้รับตำแหน่งเจ้ามหาอุปราชแห่งหลวงพระบางเมื่อ พ.ศ. 2432
หลังเกิดวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 พระองค์ได้มีบทบาทสำคัญในการส่งกองทหาร (โดยการสนับสนุนจากฝรั่งเศส) เข้ายึดครองดินแดนฝั่งขวาของแม่น้ำโขงฝั่งตรงข้ามเมืองหลวงพระบาง อันประกอบด้วยเมืองปากลาย เมืองไชยบุรี และเมืองหงษา (ปัจจุบันคือแขวงไชยบุรีในประเทศลาว) ได้เป็นผู้สำเร็จราชการในดินแดนดังกล่าวเมื่อ พ.ศ. 2439 และผลักดันให้สยามต้องสละอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนดังกล่าวให้แก่อินโดจีนของฝรั่งเศสจนสำเร็จเมื่อ พ.ศ. 2446 โดยมีผลบังคับตามสนธิสัญญาสยาม–ฝรั่งเศส ร.ศ. 122 และเป็นส่วนหนึ่งของแนวเขตแดนไทย-ลาว ที่ยังคงใช้อยู่ในปัจจุบัน
ในช่วง พ.ศ. 2454 ถึง พ.ศ. 2463 พระองค์ทรงดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาการปกครอง (คณะรัฐบาล) แห่งอินโดจีนของฝรั่งเศส[1]
เจ้ามหาอุปราชบุญคงสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2463
ครอบครัว
แก้เจ้ามหาอุปราชบุญคงทรงมีพระชายา ชายา และหม่อมห้ามรวม 14 ท่าน ปรากฏชื่อในหนังสือ "เจ้าเพชรราช บุรุษเหล็กแห่งราชอาณาจักรลาว" จำนวน 10 ท่าน ได้แก่
- เจ้านางคำคิ้มอัครชายา
- เจ้านางทองศรี (พระกนิษฐภคินีของเจ้านางคำคิ้มอัครชายา)
- เจ้านางคำแว่น
- เจ้านางโสมรัศมี
- เจ้านางทองดี
- เจ้านางคำปุ
- เจ้าหญิงคำปาน
- เจ้าหม่อมบัวไข
- หม่อมธีร์
- หม่อมคำอ้วน
ทรงมีพระโอรส 11 พระองค์ และพระธิดา 13 พระองค์[2] ดังนี้
- เจ้าสมุทรทรายคำ ประสูติแต่เจ้านางคำคิ้มอัครชายา
- เจ้าจิตรราช ประสูติแต่เจ้านางทองศรี
- เจ้าเพชรราช รัตนวงศา เจ้ามหาอุปราชพระองค์แรกและพระองค์สุดท้ายแห่งราชอาณาจักรลาว ประสูติแต่เจ้านางทองศรี
- เจ้าสุวรรณภารมย์ ประสูติแต่เจ้านางทองศรี
- เจ้าสุวรรณภูมา อดีตนายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรลาวหลายสมัย ประสูติแต่เจ้านางทองศรี
- เจ้าหญิงสง่าคำ ประสูติแต่เจ้านางทองศรี
- เจ้าหญิงเสงี่ยมคำ ชายาของเจ้าคำหมั้น วงกตรัตนะ (นักประวัติศาสตร์ลาว เชื้อสายตระกูลเจ้านายเมืองพวน) ประสูติแต่เจ้านางทองศรี
- เจ้าหญิงคำหล้า ประสูติแต่เจ้านางทองศรี
- เจ้าหญิงแสงสุริจันทร์ ประสูติแต่เจ้านางคำแว่น
- เจ้าขัตติยวงศ์ ประสูติแต่เจ้านางโสมรัศมี
- เจ้าหญิงวัฒนา ประสูติแต่เจ้านางโสมรัศมี
- เจ้าหญิงพิศมัย ประสูติแต่เจ้านางทองดี
- เจ้าหญิงสุนันทาลัย ประสูติแต่เจ้านางคำปุ
- เจ้าหญิงคำซาว ประสูติแต่เจ้าหญิงคำปาน
- เจ้าหญิงสุวรรณนารี ประสูติแต่เจ้าหม่อมบัวไข
- เจ้าหญิงอินทร์คำ ประสูติแต่เจ้าหม่อมบัวไข
- เจ้าสุวรรณราช อดีตนายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรลาว ประสูติแต่เจ้าหม่อมบัวไข
- เจ้าหญิงศรีสวัสดิ์ ประสูติแต่หม่อมธีร์
- เจ้าขัตติยราช ประสูติแต่หม่อมธีร์
- เจ้าจินดาวงศ์ อดีตนายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรลาว ประสูติแต่หม่อมธีร์
- เจ้าสิงหนาท ประสูติแต่หม่อมธีร์
- เจ้าหญิงฉวีวรรณ ประสูติแต่หม่อมคำอ้วน
- เจ้าหญิงจินดารัศมี ประสูติแต่หม่อมคำอ้วน
- เจ้าสุภานุวงศ์ ประธานประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ประสูติแต่หม่อมคำอ้วน
อ้างอิง
แก้- ↑ Stuart-Fox, Martin (2008). Historical Dictionary of Laos (3, illustrated ed.). Scarecrow Press. ISBN 0-8108-5624-7.
- ↑ Lee 2013, p. 375.
บรรณานุกรม
แก้- Lee, Khoon Choy (2013). Golden Dragon and Purple Phoenix: The Chinese and Their Multi-Ethnic Descendants in Southeast Asia. World Scientific. ISBN 978-981-4383-43-1.
{{cite book}}
: CS1 maint: ref duplicates default (ลิงก์) - Prince Mangra Souvannaphouma, Le Laos: Autopsie d'une monarchie assassinée L'Harmattan, Paris 2010, Annexe I p. Missing parameter/s! (Template:P.)289.
- มหาสิลา วีระวงส์. เจ้าเพชรราช บุรุษเหล็กแห่งราชอาณาจักรลาว. แปลโดย สมหมาย เปรมจิตต์. กรุงเทพฯ : มติชน, 2542.
- สุพะไช สุพานุวง และสีชะนะ สีสาน. เจ้าสุพานุวงศ์ ผู้นำปะติวัด. คะนะกำมะกานวิทะยาสาดสังคมแห่ง ส.ป.ป.ลาว, เวียงจัน, 1989.