เจ้าพระยาชำนาญภักดี (สมบุญ)
ขุนนางไทยและสมุหนายกในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราชและสมเด็จพระเพทราชา
เจ้าพระยาชำนาญภักดี (สมบุญ) สมุหนายกในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชและสมเด็จพระเพทราชา และเป็นหลานของเจ้าพระยาบวรราชนายก (เฉกอะหมัด) จุฬาราชมนตรีคนแรกในสมัยอยุธยา
เจ้าพระยาชำนาญภักดี (สมบุญ) | |
---|---|
สมุหนายก | |
กษัตริย์ | สมเด็จพระนารายณ์มหาราช สมเด็จพระเพทราชา |
ก่อนหน้า | พระยาวิไชเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) |
ถัดไป | เจ้าพระยาจักรี (ครุฑ) |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
คู่สมรส | สมบุญ |
บุตร | เจ้าพระยาเพ็ชร์พิไชย (ใจ) พระพรหมสุรินทร์ (จิตร) |
บุพการี |
|
ประวัติ
แก้เจ้าพระยาชำนาญภักดี (สมบุญ) เป็นบุตรชายคนที่ 2 เจ้าพระยาอภัยราชา (ชื่น) บุตรคนโตของเจ้าพระยาบวรราชนายก (เฉกอะหมัด) สมบุญ ได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กหลวง แล้วเลื่อนเป็นจมื่นจงภักดีองค์ขวา ต่อมาได้เป็นพระยาบำเรอภักดิ์ เมื่อเจ้าพระยาอภัยราชา (ชื่น) ถึงอสัญกรรม พระยาบำเรอภักดี (สมบุญ) ผู้บุตรมีอายุได้ 40 ปี สมเด็จพระนารายณ์โปรดเกล้าฯ เลื่อนบรรดาศักดิ์ให้เป็นเจ้าพระยาชำนาญภักดี ที่สมุหนายก อัครมหาเสนาบดีฝ่ายเหนือ[1]
บุตร-ธิดา
แก้เจ้าพระยาชำนาญภักดี (สมบุญ) มีบุตรกับภรรยาชื่อ สมบุญ[2] 2 คนได้แก่
- เป็นชายชื่อ ใจ ต่อมาคือ เจ้าพระยาเพ็ชร์พิไชย (ใจ) สมุหนายก อรรคมหาเสนาบดีกรมมหาดไทย
- เป็นชายชื่อ จิตร ต่อมาคือ พระพรหมสุรินทร์ (จิตร) เจ้ากรมพระตำรวจฝ่ายพระราชวังบวร
อ้างอิง
แก้- ↑ "พ่อค้าเปอร์เซียแล่นสำเภาเข้ามาเป็นสมุหนายกไทย ผูกขาดหลายชั่วคน สืบเชื้อสายเป็นราชินีกุล "บุนนาค"!!!". ผู้จัดการ. 2 มีนาคม 2559. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-06-13. สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2560.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "วงศ์เฉกอะหมัด". ชมรมสายสกุลบุนนาค. 2 มีนาคม 2559. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-22. สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2560.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)