เจ้าพระยาคทาธรธรณินทร์ (เยีย อภัยวงศ์)
เจ้าพระยาคทาธรธรณินทร์ (เยีย อภัยวงศ์) นามเดิมชื่อ เยีย เป็นเจ้าเมืองพระตะบองคนที่ 7 เป็นบุตรของพระยาอภัยภูเบศร (นอง) (เจ้าเมืองพระตะบองคนที่ 6 ซึ่งเป็นบุตรของพระยาธิราชวงษาและเป็นบุตรเขยของเจ้าพระยาอภัยภูเบศร (แบน) เจ้าเมืองพระตะบองคนที่ 1)[1]
เจ้าพระยาคทาธรธรณินทร์ (เยีย อภัยวงศ์) | |
---|---|
ผู้สำเร็จราชการเมืองพระตะบอง | |
ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2403–2435 | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
ก่อนหน้า | พระยาอภัยภูเบศร (นอง) |
ถัดไป | เจ้าพระยาอภัยภูเบศร (ชุ่ม อภัยวงศ์) |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | ไม่ทราบปีเกิด |
เสียชีวิต | พ.ศ. 2435 |
บุตร | 4 คน |
บุพการี |
|
เจ้าพระยาคทาธรธรณินทร์ (เยีย อภัยวงศ์) เข้ารับราชการในครั้งแรกได้เป็นหลวงอภัยพิทักษ์ ต่อมา ในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้เลื่อนเป็นพระยาคทาธรธรณินทร์ และได้รักษาราชการในพระตะบองเมื่อบิดาถึงแก่กรรมเมื่อ พ.ศ. 2403 และวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2434 ได้เป็นเจ้าพระยาคทาธรธรณินทร์ รามนรินทร์อินทราธิบดี ศรีสยามกัมโพชเกษตราภิบาล ปรีชาญาณยุติธรรมาธยาไศรย อภัยพิริยบรากรมพาหุ ผู้สำเร็จราชการเมืองพระตะบอง[2] คนที่ 7[3]
เจ้าพระยาคทาธรฯได้เขียนพงศาวดารเมืองพระตะบอง เล่าถึงประวัติของสายสกุลของท่านที่ได้ปกครองเมืองพระตะบอง
ในสมัยที่เจ้าพระยาคทาธรฯเป็นเจ้าเมืองพระตะบองนั้น เป็นช่วงที่ฝรั่งเศสขยายอำนาจเข้ามาในกัมพูชา ทำให้สยามระแวงว่าพระตะบองจะแข็งเมืองหรือไปเข้ากับเวียดนาม แต่เจ้าพระยาคทาธรฯ ได้แสดงความจงรักภักดีต่อสยามอย่างเสมอต้นเสมอปลาย จนถึงแก่กรรมใน พ.ศ. 2435 บุตรชายของท่านคือเจ้าพระยาอภัยภูเบศร (ชุ่ม อภัยวงศ์) ขึ้นเป็นเจ้าเมืองแทน
บุตรธิดา
แก้มีบุตรธิดา รวม 4 คน[4] ดังนี้
- เจ้าพระยาอภัยภูเบศร (ชุ่ม อภัยวงศ์)
- คุณหญิงขลิบ ภรรยาพระยาณรงค์เรืองฤทธิ์
- นางเทศ ภรรยาพระโยธาธิราช (ทองคำ)
- นางสมบุญ ภรรยาหม่อมเทวาธิราช (หม่อมราชวงศ์แดง อิศรเสนา)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2434 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายหน้า)[2]
- พ.ศ. 2429 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[5]
อ้างอิง
แก้- วีระศักดิ์ จันทร์ส่งแสง. เจ้าพระยาอภัยภูเบศร (ชุ่ม) เจ้าเมืองพระตะบองคนสุดท้ายใต้ปกครองสยาม. กรุงเทพฯ: ยิปซี กรุ๊ป. 2557 หน้า 53 - 65
- ↑ ระยับศรี กาญจนะวงศ์. "บทบาทของเจ้าเมืองพระตะบองในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์พ.ศ. 2337-2449" (PDF). มหาวิทยาลัยศิลปากร. p. 130–131.
- ↑ 2.0 2.1 ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานสัญญาบัตรและเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘ ตอนที่ ๕๐ หน้า ๔๕๐, ๑๓ มีนาคม ๑๑๐
- ↑ ไกรฤกษ์ นานา. "สยามรัฐท่ามกลางจักวรรดินิยม". p. 59.
- ↑ "ประชุมพงศาวดาร, เล่มที่ 12". p. 149.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, บัญชีพระราชทานตราเครื่องราชอิสริยยศ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓ ตอนที่ ๔๖ หน้า ๓๘๖, ๑๕ มีนาคม ๑๒๔๘