เจ้าชายไอเทิล ฟรีดริช แห่งปรัสเซีย

พลตรี เจ้าชายไอเทิล ฟรีดริช (เยอรมัน: Eitel Friedrich) หรือพระนามเต็มคือ วิลเฮล์ม ไอเทิล ฟรีดริช คริสทีอัน คาร์ล แห่งปรัสเซีย (เยอรมัน: Wilhelm Eitel Friedrich Christian Karl on Preußen) ทรงเป็นพระราชโอรสองค์รองในจักรพรรดิวิลเฮ็ล์มที่ 2 แห่งเยอรมนี กับพระนางเอากุสทา วิกทอรีอา แห่งเชลสวิจ-ฮ็อลชไตน์

เจ้าชายไอเทิล ฟรีดริช แห่งปรัสเซีย
ประสูติ7 กรกฎาคม ค.ศ. 1883(1883-07-07)
พ็อทซ์ดัม, ราชอาณาจักรปรัสเซีย จักรวรรดิเยอรมัน
สิ้นพระชนม์8 ธันวาคม ค.ศ. 1942(1942-12-08) (59 ปี)
พ็อทซ์ดัม, นาซีเยอรมนี
ฝังพระศพ12 ธันวาคม ค.ศ. 1942
Antique Temple พ็อทซ์ดัม ประเทศเยอรมนี
ชายาโซฟีอา ชาร์ล็อทเทอ แห่งโอลเดินบวร์ค
ราชวงศ์โฮเอินท์ซ็อลเลิร์น
พระบิดาจักรพรรดิวิลเฮ็ล์มที่ 2 แห่งเยอรมนี
พระมารดาเอากุสเทอ วิคทอรีอา แห่งชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์-โซนเดอร์บวร์ค-เอากุสเทินบวร์ค
ศาสนานิกายลูเทอแรน

เจ้าชายไอเทิลทรงเสกสมรสกับดัชเชสโซฟีอา ชาร์ล็อทเทอ แห่งโอลเดินบวร์ค ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1906 ที่กรุงเบอร์ลิน ต่อมาทั้งคู่ได้หย่ากันในวันที่ 20 ตุลาคม ค.ศ. 1926 ด้วยข้อกล่าวหาว่าดัชเชสคบชู้ ทั้งสองไม่มีพระโอรส–ธิดาด้วยกัน เจ้าชายไอเทิลเข้ารับราชการทหารในกองทัพเยอรมัน และได้มีส่วนร่วมในแนวรบฝั่งรัสเซียในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 1915 พระองค์ได้พบกับมันเฟรท ฟ็อน ริชท์โฮเฟิน โดยบังเอิญในสนามรบ ทั้งสองหลบอยู่ใกล้แนวพุ่มไม้เพื่อหลบทหารรัสเซีย แต่ปรากฏว่าคนเหล่านั้นกลับเป็นทหารของเจ้าชายไอเทิลเสียเอง

ในช่วงที่จักรวรรดิเยอรมันใกล้แพ้สงคราม เจ้าชายมัคซีมีลีอานแห่งบาเดิน นายกรัฐมนตรีจักรวรรดิ และฟรีดริช เอเบิร์ท หัวหน้าพรรคสังคมประชาธิปไตย หารือกันว่าจะอัญเชิญเจ้าชายไอเทิลเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน หลังการสละราชสมบัติของจักรพรรดิวิลเฮ็ล์มที่ 2 แต่แล้วแผนการดังกล่าวก็ล้มเหลว เมื่อการปฏิวัติปะทุขึ้นกรุงเบอร์ลินเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 1918 ซึ่งในวันดังกล่าว นายกรัฐมนตรีบาเดินลาออก และยกตำแหน่งให้แก่เอเบิร์ท เอเบิร์ทเรียนเชิญให้บาเดินเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน แต่ได้รับการปฏิเสธ เอเบิร์ทจึงคิดจะเดินทางไปเรียนเชิญเจ้าชายไอเทิล แต่ในระหว่างที่เอเบิร์ทยังไม่ทันทำอะไร ฟิลลิพ ไชเดอมัน ก็ทำการประกาศต่อฝูงชนหน้าอาคารไรชส์ทาคว่าจักรวรรดิสิ้นสุดสงแล้ว และประกาศสถาปนาสาธารณรัฐ

หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เจ้าชายไอเทิล ฟรีดริช พยายามทำกิจกรรมเรียกร้องให้ฟื้นฟูระบอบกษัตริย์แห่งปรัสเซีย แต่ก็ไม่เป็นผล

ในปี 1921 ศาลอาญากรุงเบอร์ลินได้ไต่สวนคดีที่พระองค์ได้ฉ้อโกงเงินโอน 300,000 มาร์ค และพิพากษาให้ปรับพระองค์เป็นเงิน 5,000 มาร์ค[1]

อ้างอิง แก้