เจ้าชายไจเม ดยุกแห่งโนโต
เจ้าชายไจเม ดยุกแห่งโนโต (26 มิถุนายน พ.ศ. 2535) เป็นเจ้าชายแห่งอิตาลีสายราชวงศ์บูร์บง-ซิซิลีทั้งสอง
เจ้าชายไจเม | |
---|---|
ดยุกแห่งโนโต | |
ประสูติ | 26 มิถุนายน พ.ศ. 2535 มาดริด ประเทศสเปน |
พระชายา | เลดีชาร์ลอตต์ ลินด์เซย์-เบธูน |
พระบุตร | เจ้าหญิงฟรานเชสกา |
ราชวงศ์ | ราชวงศ์บูร์บง-ซิซิลีทั้งสอง |
พระบิดา | เจ้าชายเปรโด ดยุกแห่งกาลาเบรีย |
พระมารดา | เจ้าหญิงโซเฟีย ดัชเชสแห่งกาลาเบรีย |
ศาสนา | โรมันคาทอลิก |
ธรรมเนียมพระยศของ เจ้าชายไจเม ดยุกแห่งโนโต | |
---|---|
![]() ธงประจำพระอิสริยยศ | |
![]() ตราประจำพระองค์ | |
การทูล | His Royal Highness (ฝ่าพระบาท) |
การแทนตน | เกล้ากระหม่อม/เกล้ากระหม่อมฉัน |
การขานรับ | Your Royal Highness (เกล้ากระหม่อม/เพคะ) |
พระประวัติ
แก้เจ้าชาขไจเม ประสูติเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2535 เป็นพระโอรสพระองค์แรกใน เจ้าชายเปรโด ดยุกแห่งกาลาเบรีย กับ เจ้าหญิงโซเฟีย ดัชเชสแห่งกาลาเบรีย เดิมทีพระองค์ทรงเป็นพระบุตรนอกสมรส ของเจ้าชายเปรโด แต่ต่อมา พระบิดาและพระมารดา เสกสมรสกันถูกต้องตามกฎหมาย ทรงมีพระพี่น้องร่วมพระครรภ์ 6 พระองค์ โดยพระองค์เป็นพระเชษฐาพระองค์แรก
พระอัยกา (ปู่) ของพระองค์ คือ อินฟันเตคาลอส ดยุกแห่งกาลาเบรีย เจ้าชายแห่งสเปน พระอัยยิกา (ย่า) คือ เจ้าหญิงอาน ดัชเชสแห่งกาลาเบรีย พระธิดาใน เจ้าชายอ็องรี เคานต์แห่งปารีส (พ.ศ. 2451–2542) อดีตพระประมุขแห่งราชวงศ์ฝรั่งเศส
พระองค์ทรงได้รับปริญญาทางกฎหมาย จากนั้นจึงได้รับปริญญาโทด้านการจัดการจาก Institut d'Administration des Entreprises ตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. 2561 ถึงมกราคม พ.ศ. 2565 ต่อมาทรงเป็นผู้อำนวยการPlug and Play Tech Center ในปารีสและตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2562 ในสเปน
การสืบราชบัลลังก์
แก้พระอัยกาของพระองค์ อินฟันเตคาลอส ดยุกแห่งกาลาเบรีย ทรงพิจารณาว่าการเสกสมรสในอนาคตของเจ้าชายเปโดรกับโซเฟีย ลันดาลูเซ อี เมลกาเรโฆ จะเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติอำนาจอธิปไตยที่ลงนามในเมืองเนเปิลส์ เมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2372 กฎหมายฉบับที่ 2362 ซึ่งมอบอำนาจแก่ "ประมุขแห่งราชวงศ์บูร์บง... ที่จำเป็นในการปกป้องความบริสุทธิ์และความรุ่งโรจน์ของบัลลังก์" โดยกำหนดให้สมาชิกพระราชวงศ์ทุกพระองค ต้องได้รับอนุญาตอย่างเป็นทางการในการเสกสมรส ซึ่งได้รับการยืนยันในพระราชบัญญัติอำนาจอธิปไตยที่ลงนามในเมืองเนเปิลส์เมื่อวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2379 กฎหมายฉบับที่ 3331 การเสกสมรสของสมาชิกทุกพระองค์ในราชวงศ์ที่เคยถือว่าสามารถถ่ายทอดสิทธิของราชวงศ์ได้นั้น เกิดขึ้นกับเจ้าหญิงในราชวงศ์จนกระทั่ง เจ้าชายแรนีเอรี ดยุกแห่งกัสโตร ทรงเสกสมรสกับเคาน์เตสคาโรลินา ซามอยสกาในปี พ.ศ. 2472
ต่อมา การตัดสินพระทัยครั้งสุดท้ายของอินฟันเตคาลอส ที่จะทรงอนุญาตให้การเสกสมรสของพระโอรส ถือเป็นการสืบทอดราชวงศ์ตามมาหลังจากการอภิเษกสมรสของพระราชธิดาใน สมเด็จพระราชาธิบดีฆวน การ์โลสที่ 1 แห่งสเปน โดยที่ทั้ง 2 พระองค์ ไม่จำเป็นต้องสละสิทธิ์ในการสืบราชบัลลังก์สเปน และการเปลี่ยนแปลงกฎการแต่งงานของราชวงศ์ออสเตรีย อินฟันเตคาลอส พร้อมด้วย เจ้าหญิงอาน ดัชเชสแห่งกาลาเบรีย เสด็จร่วมงานเสกสมรสของพระบิดาของพระองค์ เมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2544 โดยการเสกสมรสลักษณะนี้ ถูกส่งตรงมายังการเสกสมรสของพระองค์ กับพระชายาในปี พ.ศ. 2564
ในปี พ.ศ. 2547 ในวันอภิเษกสมรสของเจ้าฟ้าชายเฟลิเป เจ้าชายแห่งอัสตูเรียส มีการประกาศว่า พระบุตรทุกพระองค์ของ เจ้าชายเปรโดร และพระชายา มีสิทธิในการสืบราชบัลลังก์อย่างสมบูรณ์และได้รับฐานันดรที่ รอยัลไฮเนส เจ้าชาย/หญิงแห่งราชวงศ์บูร์บง-ซิซิลีทั้งสอง
เสกสมรส
แก้พระองค์ทรงเสกสมรสเมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2564 ที่มหาวิหารมอนเรอาเล ในเมืองปาแลร์โม กับเลดีชาร์ล็อตต์ ลินด์เซย์-เบธูน ลูกสาวคนเล็กของเจมส์ ลินด์เซย์-เบธูน เอิร์ลแห่งลินด์เซย์ กับ ไดอานา แมรี เชมเบอร์เลน-แมคโดนัลด์
ต่อมา พระชายามีพระประสูติกาลพระธิดาพระองค์แรกคือ เจ้าหญิงฟรานเชสกา ณ ลอนดอน
อ้างอิง
แก้- "Pedro de Borbón Dos Sicilias, el heredero repudiado del ducado de Calabria". 8 October 2015.
- de Badts de Cugnac, Chantal. Coutant de Saisseval, Guy. Nouvelle Imprimerie Laballery. Paris. 2002. pp. 404–405, 544–545 (French) ISBN 2-9507974-3-1
- Etat Présent de la Maison de Bourbon, 6th edition, Hervé Pinoteau, edition Leopard d'Or, 2021
- Los duques de Noto, padres de su primera hija: el nombre de la nueva princesa Borbón-Dos Sicilias. 23 October 2023