เจ้าจอมเอื้อน ในรัชกาลที่ 5

(เปลี่ยนทางจาก เจ้าจอมเอื้อน)

เจ้าจอมเอื้อน (พ.ศ. 2430 - 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2470) เจ้าจอมพระสนมเอกในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นเจ้าจอมคนสุดท้องในเจ้าจอมก๊กออจากสกุลบุนนาค

เจ้าจอม

เอื้อน ในรัชกาลที่ 5
เกิดเอื้อน บุนนาค
พ.ศ. 2430
จังหวัดเพชรบุรี, สยาม
เสียชีวิต11 พฤษภาคม พ.ศ. 2470 (40 ปี)
กรุงเทพมหานคร ไทย
คู่สมรสพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
บิดามารดาเจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทศ บุนนาค)
ท่านผู้หญิงอู่ สุรพันธ์พิสุทธิ์

ประวัติ

แก้

เจ้าจอมเอื้อน เกิดที่จังหวัดเพชรบุรี เมื่อวันศุกร์ พ.ศ. 2430 เป็นธิดาคนสุดท้องในจำนวน 14 คน ของเจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทศ บุนนาค) ที่เกิดกับท่านผู้หญิงอู่ (สกุลเดิม วงศาโรจน์) มีพี่น้องร่วมบิดาทั้งสิ้น 62 คน โดยในจำนวนนี้ มี 5 คน ที่เกิดจากท่านผู้หญิงอู่ และได้เป็นเจ้าจอมในรัชกาลที่ 5 คือ เจ้าจอมมารดาอ่อน เจ้าจอมเอี่ยม เจ้าจอมเอิบ เจ้าจอมอาบ และเจ้าจอมเอื้อน

เนื่องจากเจ้าจอมเอื้อนเป็นธิดาคนสุดท้อง เป็นที่รักใคร่ของเจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์และท่านผู้หญิงอู่ และตั้งใจเลี้ยงดู ไม่ถวายตัวเข้าวังเช่นเดียวกับพี่ ๆ แต่แล้วเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม ร.ศ. 123 (พ.ศ. 2447) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จประพาสเมืองเพชรบุรีทางชลมารค และเสด็จไปยังจวนของเจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ และทรงพบกับเจ้าจอมเอื้อน ซึ่งขณะนั้นอายุได้ 17 ปี ทรงพอพระทัยในรูปโฉมที่งามพิลาส หลังจากนั้นเจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ ท่านบิดา ได้นำตัวธิดาคนสุดท้อง ที่ตั้งใจจะให้อยู่ใกล้ชิด เข้าถวายตัวรับใช้ในราชการฝ่ายใน เป็นที่โปรดปรานของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

เจ้าจอมเอื้อน เป็นผู้มีฝีมือในการถ่ายภาพ และมีความสามารถในการล้างรูป เช่นเดียวกับเจ้าจอมเอิบผู้พี่ อีกทั้งยังมีความสามารถในการเล่นไวโอลิน

เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต เจ้าจอมอาบได้พำนักอยู่ที่ตำหนักในวังสวนสุนันทา ปัจจุบันอาคารนี้มีชื่อว่า "ตึกเอื้อนอาชว์แถมถวัลย์" ภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ต่อมาได้ย้ายไปมาอยู่ที่เรือนสร้างใหม่ริมคลองสามเสน สร้างบนที่ดินพระราชทานแก่เจ้าจอมก๊กกออ ที่เรียกว่า "สวนนอก" ระหว่างเรือนเจ้าจอมเอี่ยม กับเรือนเจ้าจอมอาบ เรือนหลังนี้เป็นไม้สักทั้งหลัง ที่หน้าจั่วมีลายฉลุไม้งดงามมาก แต่ปัจจุบันถูกรื้อแล้ว

เจ้าจอมเอื้อน ป่วยเป็นโรคหัวใจพิการ ถึงแก่อนิจกรรมที่เรือนในสวนสุนันทา เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2470 เวลา 22.00 น. สิริอายุ 40 ปี ได้รับพระราชทานหีบทองประกอบศพ ฉัตรเบญจา 4 คัน ตั้งศพบำเพ็ญกุศลที่บ้านสวนนอก ถนนศุโขทัย[1]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

สถานที่อันเกี่ยวกับนาม

แก้

พงศาวลี

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวตาย, เล่ม ๔๔, ตอน ง, ๒๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๐, หน้า ๖๒๗
  2. พระราชทานพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จุลจอมเกล้าฝ่ายใน
  3. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าฝ่ายใน, เล่ม ๒๑, ตอน ๓๔, ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๔๗, หน้า ๖๑๖
  4. "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลปัตยุบันฝ่ายใน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 25 (35): 1015. 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2451. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  5. "บอกแก้" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 25 (39): 1157. 27 ธันวาคม พ.ศ. 2451. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  6. "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ฝ่ายใน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 28: 2379. 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2461. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  • กัณฑาทิพย์ สิงหะเนติ. ย้อนรอยเจ้าจอมก๊กออ ในรัชกาลที่ ๕. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, 2549. 416 หน้า. ISBN 974-7383-97-7
  • วรรณพร บุญญาสถิตย์. จอมนางแห่งสยาม ในสมัยรัชกาลที่ 4 ถึงรัชกาลที่ 6 กับกระแสวัฒนธรรมตะวันตก. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์สร้างสรรค์บุ๊คส์, พ.ศ. 2549. 338 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 874-341-471-1 ข้อผิดพลาดพารามิเตอร์ใน {{ISBN}}: checksum
  • กิตติพงษ์ วิโรจน์ธรรมากูร. ๑๐๐ ปีภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในงานพระพุทธชินราชประจำปี วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม รัตนโกสินทรศก ๑๒๓. กรุงเทพฯ : ดำรงวิทยา, 2548. 132 หน้า. ISBN 974-93740-5-3