จักรพรรดิเจียชิ่ง
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
จักรพรรดิเจียชิ่ง (จีนตัวย่อ: 嘉庆; จีนตัวเต็ม: 嘉慶; พินอิน: Jiāqìng 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2303 – 2 กันยายน พ.ศ. 2363) พงศาวดารไทยเรียก เกียเข้ง[1] เป็นโอรสองค์ที่ 15 ของจักรพรรดิเฉียนหลง เดิมมีพระนามว่า หย่งเหยียน (顒琰) เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อปี พ.ศ. 2339 (ค.ศ. 1796) เมื่อพระชนมายุได้ 37 พรรษา ภายหลังการสละราชสมบัติของจักรพรรดิเฉียนหลง พระราชบิดา แต่อำนาจในการปกครองแผ่นดินแท้จริงยังอยู่ในจักรพรรดิเฉียนหลง เมื่อจนถึงปีที่ 3 ที่ทรงครองราชย์ พ.ศ. 2342 (ค.ศ. 1799) จักรพรรดิเฉียนหลงได้สวรรคต และพระองค์จึงได้อำนาจในการปกครองอย่างแท้จริง
เจียชิ่ง | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ฮ่องเต้องค์ที่ 7 แห่งราชวงศ์ชิง | |||||||||||||
ครองราชย์ | 9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1796 – 2 กันยายน ค.ศ. 1820 (24 ปี 206 วัน) | ||||||||||||
ก่อนหน้า | จักรพรรดิเฉียนหลง | ||||||||||||
ถัดไป | จักรพรรดิเต้ากวง | ||||||||||||
ผู้สำเร็จราชการ | จักรพรรดิเฉียนหลง (1796-1799) | ||||||||||||
จักรพรรดินี | จักรพรรดินีเซี่ยวซูรุ่ย จักรพรรดินีเซี่ยวเหอรุ่ย | ||||||||||||
พระราชบุตร | Mianmu, Prince Mu Princess Zhuangjing องค์ชายเหมียนหนิง Princess Zhuangjing Princess Huian Miankai, Prince Dun Mianxin, Prince Rui Mianyu, Prince Hui | ||||||||||||
| |||||||||||||
ราชสกุล | House of Aisin-Gioro | ||||||||||||
พระราชบิดา | จักรพรรดิเฉียนหลง | ||||||||||||
พระราชมารดา | สมเด็จพระจักรพรรดินีเสี้ยวอี้ชุน | ||||||||||||
พระราชสมภพ | 13 พฤศจิกายน ค.ศ. 1760 Old Summer Palace, Beijing หย่งเยี่ยน | ||||||||||||
สวรรคต | 2 กันยายน ค.ศ. 1820 (59 พรรษา) Chengde summer palace, modern Hebei | ||||||||||||
ฝังพระศพ | Western Qing Tombs |
เมื่อทรงได้อำนาจเต็มแล้ว ทรงได้กำจัดเหอเซิน ที่เป็นขุนนางกังฉิน โกงกินชาติ ซึ่งเป็นคนสนิทของจักรพรรดิเฉียนหลง ทรงรวบรวมขุนนางและบรรดาผู้ที่จงรักภักดีเพื่อกำจัดเหอเซิน โดยบุคคลสำคัญผู้หนึ่งที่มีบทบาทในการครั้งนี้คือ อ๋องเฉิน ซึ่งเป็นพระเชษฐา (พี่ชาย) ของพระองค์และเป็นพระโอรสลำดับที่ 11 ของจักรพรรดิเฉียนหลง เมื่อได้ยึดทรัพย์เหอเซินแล้ว พบว่าเงินจำนวนที่เหอเซินยักยอกไว้นั้นมีมูลค่าเท่ากับรายได้ประเทศชาติถึง 10 ปี แต่เมื่อจับกุมเหอเซินได้แล้วกลับลังเลพระทัยที่จะประหารชีวิต เนื่องจากทรงเคยรับคำพระราชบิดา จักรพรรดิเฉียนหลงเอาไว้ว่าจะไว้ชีวิตเหอเซิน เมื่อพระองค์สวรรคต แต่ได้ถูกอ๋องเฉินและบรรดาขุนนางทูลทัดทาน จึงได้ตัดสินพระทัยบังคับให้เหอเซินผูกคอตาย
ตลอดรัชสมัย ทรงพบกับการก่อกบฏและเรื่องทางความมั่นคงมากมาย เช่น กบฏพรรคบัวขาว, กบฏโจรสลัดไต้หวัน กบฏพรรคเที่ยงธรรม เป็นต้น ซึ่งกบฏเหล่านี้ส่วนใหญ่ เป็นกบฏชาวฮั่นที่รวบรวมคนไว้เพื่อโค่นล้มราชวงศ์ชิงกอบกู้ราชวงศ์หมิงนั่นเอง
มีพระโอรส 3 พระองค์ พระโอรสองค์โตเกิดจากพระอัครมเหสีฮีตียา ซึ่งเป็นพระอัครมเหสีที่ทรงรักยิ่ง แต่พระนางสิ้นพระชนม์ไปก่อนเมื่ออายุยังน้อย และพระโอรสอีก 2 พระองค์ ที่เกิดจากพระมเหสีหนิวฮูลู่ พระอัครมเหสีองค์ใหม่ที่ทรงแต่งตั้งขึ้นมาจากการเป็นพระมเหสี ซึ่งพระองค์ไม่เคยโปรดพระนางเลย แต่ต้องทรงสถาปนาเนื่องจากเหตุผลทางการเมือง ด้วยต้องการให้เหล่าขุนนางและประชาราษฎร์เห็นถึงพระทัยเมตตาของพระองค์ เหตุที่ไม่โปรดพระมเหสีหนิวฮูลู่ นี้ เพราะพระนางเป็นบุตรสาวของขุนนางที่เคยเป็นพรรคพวกเหอเซินมาก่อน จึงไม่ไว้วางพระทัย
ในรัชสมัยของจักรพรรดิเจี่ยชิ่ง ปรากฏกรณีที่กระทบต่อความมั่นคงของชาติมาตลอด เช่น เกิดกบฏต่าง ๆ การที่เวียดนามขอแยกออกไปเป็นประเทศเอกราช เป็นต้น ซึ่งพระองค์ทรงใช้ทั้งนโยบายที่ผ่อนปรนและแข็งกร้าวสลับกันไป เช่น การห้ามชาวแมนจูแต่งงานกับชาวฮั่นเด็ดขาด หรือ การห้ามชาวคริสต์เผยแพร่ศาสนาเด็ดขาด รวมทั้งการห้ามราษฎรสูบฝิ่นด้วย เป็นต้น ซึ่งสิ่งทั้งหมดเหล่านี้จะส่งผลต่อความมั่นคงตามมาในภายหลัง
ในปลายรัชสมัย มีพระพลานามัยอ่อนแอ ด้วยทรงสูงพระชันษาประกอบกับการกลัดกลุ้มพระทัยอยู่บ่อยครั้งเกี่ยวกับราชภารกิจ สวรรคตในปี พ.ศ. 2363 (ค.ศ. 1820) พระชนมายุ 61 พรรษา รวมระยะเวลาที่ได้ทรงครองราชย์ 24 ปี และผู้ที่ครองราชย์สืบต่อมาคือ องค์ชายเหมี่ยนหนิง ภายหลังขึ้นครองราชย์ทรงพระนามว่า สมเด็จพระจักรพรรดิเต้ากวง
พระบรมวงศานุวงศ์แก้ไข
- พระราชบิดา: จักรพรรดิเฉียนหลง
- พระราชมารดา: จักรพรรดินีเสี้ยวอี้ชุน
- พระอัครมเหสี (皇后)
- สมเด็จพระจักรพรรดินีเซี่ยวซูรุ่ย (孝淑睿皇后) จากสกุลสี่ถ่าล่า (喜塔臘)
- สมเด็จพระจักรพรรดินีเซี่ยวเหอรุ่ย (孝和睿皇后) จากสกุลหนิ่วฮู่ลู่ (鈕祜祿)
- พระมเหสี (皇貴妃)
- พระมเหสีกงซุ่น (恭順皇貴妃) จากสกุลหนิ่วฮู่ลู่ (鈕祜祿)
- พระมเหสีเหออวี้ (和裕皇貴妃) จากสกุลหลิวเจีย (劉佳)
- พระอัครชายา (妃)
- พระอัครชายาหัว (華妃) จากสกุลโฮ่วเจีย (侯佳)
- พระอัครชายาซู (恕妃) จากสกุลว๋านเหยียน (完顏)
- พระอัครชายาจวง (莊妃) จากสกุลหวัง (王)
- พระอัครชายาซิ่น (信妃) จากสกุลหลิวเจีย (劉佳)
- พระชายา (嬪)
- พระชายาเจี่ยน (簡嬪) จากสกุลกวนเจีย (關佳)
- พระชายาซุ่น (遜嬪) จากสกุลเฉินเจีย (沈佳)
- พระชายาเอิน (恩嬪) จากสกุลอูยา (烏雅)
- พระชายาหรง (榮嬪) จากสกุลเหลียง (梁)
- พระชายาฉุน (淳嬪) จากสกุลต่งเจีย (董佳)
- พระชายาอัน (安嬪) จากสกุลซูหวานหนีกัวเอ่อร์เจีย (蘇完尼瓜爾佳)
- พระราชโอรส
- องค์ชายไม่ปรากฏพระนาม (1779–1780) มู่จวิ้นอ๋อง (穆郡王) สถาปนาหลังสิ้นพระชนม์;พระโอรสในพระมเหสีเหออวี้
- องค์ชายเหมียนหนิง (綿寧,1782–1850) จื้อชินอ๋อง (智親王) ภายหลังเป็นจักรพรรดิ;พระโอรสในจักรพรรดินีเซี่ยวซูรุ่ย
- องค์ชายเหมียนข่าย (綿恺,1795–1838) ตุนเค่อชินอ๋อง (惇恪親王,1819-1838) พระโอรสในจักรพรรดินีเซี่ยวเหอรุ่ย
- องค์ชายเหมียนซิน (綿忻,1805–1828) รุ้ยหวยชินอ๋อง (瑞懷親王,1819-1828) พระโอรสในจักรพรรดินีเซี่ยวเหอรุ่ย
- องค์ชายเหมียนหยู (綿愉,1814–1865) ฮุ่ยตวนชินอ๋อง (惠端親王,1820-1865) พระโอรสในพระมเหสีกงซุ่น
- พระราชธิดา
- องค์หญิงไม่ปรากฏพระนาม (1780–1783) พระธิดาในพระชายาเจียน
- องค์หญิงไม่ปรากฏพระนาม (1780–1783) พระธิดาในจักรพรรดินีเซี่ยวซูรุ่ย
- องค์หญิงจวงจิ้งเหอซั่วกงจวู่ (莊敬和硕公主,1781–1811) พระธิดาในพระมเหสีเหออวี้
- องค์หญิงจวงจิ้งกู้หลุนกงจวู่ (莊静固伦公主,1784–1811) พระธิดาในจักรพรรดินีเซี่ยวซูรุ่ย
- องค์หญิงฮุ่ยอันเหอซั่วกงจวู่ (慧安和硕公主,1786–1795) พระธิดาในพระชายาซุ่น
- องค์หญิงไม่ปรากฏพระนาม (1789–1790) พระธิดาในพระอัครชายาหัว
- องค์หญิงไม่ปรากฏพระนาม (1793–1795) พระธิดาในจักรพรรดินีเซี่ยวเหอรุ่ย
- องค์หญิงไม่ปรากฏพระนาม (1805) พระธิดาในพพระมเหสีกงซุ่น
- องค์หญิงฮุ่ยมิ่นกู้หลุนกงจวู่ (慧愍固伦公主,1811–1815) พระธิดาในพระมเหสีกงซุ่น
ก่อนหน้า | จักรพรรดิเจียชิ่ง | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
จักรพรรดิเฉียนหลง | จักรพรรดิจีน (พ.ศ. 2339 - พ.ศ. 2363) |
จักรพรรดิเต้ากวง |
- ↑ พระเจ้าบรมวงษ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ (2459). "พระราชพงษาวดาร กรุงรัตนโกสินทร รัชกาลที่ ๒ เรื่องราชทูตไปเมืองจีนครั้งที่ ๒". วชิรญาณ. สืบค้นเมื่อ 13 เมษายน 2563. Check date values in:
|accessdate=, |date=
(help)