เจี๋ยวกู่หลาน
เจี๋ยวกู่หลาน | |
---|---|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
ไม่ถูกจัดอันดับ: | Angiosperms |
ไม่ถูกจัดอันดับ: | Eudicots |
ไม่ถูกจัดอันดับ: | Rosids |
อันดับ: | Cucurbitales |
วงศ์: | Cucurbitaceae |
วงศ์ย่อย: | Zanonioideae |
เผ่าย่อย: | Gomphogyninae |
สกุล: | Gynostemma |
สปีชีส์: | G. pentaphyllum |
ชื่อทวินาม | |
Gynostemma pentaphyllum (Thunb.) Makino 1902 |
เจียวกู่หลาน (จีนตัวย่อ: 绞股蓝; จีนตัวเต็ม: 絞股藍; พินอิน: jiǎogǔlán; ชื่อวิทยาศาสตร์: Gynostemma pentaphyllum (Thunb.); ชื่ออื่น: ชาสตูล เบญจขันธ์ ปัญจขันธ์ เซียนเฉ่า) เป็นพืชที่ขึ้นอยู่ทั่วทวีปเอเชีย ลักษณะของพืช เป็นไม้เถาล้มลุก ลำต้นเล็กเรียวยาว ลำต้นที่เลื้อยยางแตกกิ่งแขนงได้ บริเวณข้อของลำต้นที่ทอดนอนไปตามดินจะออกรากได้ ใบเป็นใบประกอบแบบฝ่ามืออกสลับ ส่วนมากมีใบย่อย 5 ใบ ดอกเล็ก สีเหลืองปนเขียว ผลค่อนข้างกลม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 4- 7 มิลลิเมตร ส่วนที่ใช้เป็นยา คือต้นส่วนเหนือดินและ ใบมีรสขม หรือขมอมหวาน
ในปี คศ 1977 มีคนจีนคนหนึ่งชื่อ ศิว์สื้อ หมิง เป็นเภสัชกรจบมหาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์ปักกิ่งเขาได้เข้าทำงานที่ สถาบันวิจัยพืชสมุนไพรนครอานดัง มณฑลส่านซี จนกระทั่งฤดูใบไม้ผลิปี 1982 เขาได้ลางานชั่วคราวเพื่อไปเยี่ยมบ้านที่อำเภอผิงลี่ระยะทางไกลประมาณ 50 กิโลเมตร ในช่วงที่เขาพักผ่อนที่บ้านก็ใช้เวลาเสาะแสวงหาสมุนไพรตัวใหม่ๆ ในอำเภอผิงลี่โดยไปพูดคุยกับชาวบ้าน และหมอพื้นบ้าน เพื่อหาข้อมูลของสมุนไพร เขาได้พบสมุนไพร ตัวใหม่ชนิดหนึ่งที่ชาวบ้านเรียกว่า เสี่ยวโหม่จูเถิง ซึ่งมีประสิทธิภาพในการรักษาชาวบ้านที่เป็นโรคไขมันสูงในเส้นเลือด และโรคความดันโลหิตสูงได้อย่างดี เขาจึงกลับมาที่ห้องทำงานของสถาบันวิจัยของเขา และศึกษาวิจัยทันทีตามตำราแผนโบราณจีน
สรรพคุณและวิธีใช้ แพทย์แผนจีนใช้ส่วนเหนือดินหรือใบเป็นยาแก้อักเสบแก้ไอ ขับเสมหะ แก้หลอดลมอักเสบชนิดเรื้อรัง แพทย์แผนไทย ใช้ส่วนที่เป็นก้านตากแห้งบดละเอียดเช่นกัน แก้อ่อนเพลีย แก้แผลอักเสบ ช่วยให้ไม่เหนื่อยง่าย การขยายพันธุ์ สามารถกระทำได้โดยการเพาะเมล็ด การใช้ลำต้นใต้ดิน การใช้เถาปักชำ การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช
สรรพคุณและประโยชน์สุขภาพของเจียวกู่หลาน ที่สำคัญ!!แก้ไข
ปรับสมดุลของร่างกาย (Adaptogen)
เจียวกู่หลานมีผลต่อการทำงานของสมองเป็น 2 พฤติกรรมกลับไปกลับมา (Biphasic effect) คือ กระตุ้นก็ได้หรือทำให้สงบก็ได้ ขึ้นอยู่กับความต้องการหรือความจำเป็น (Need) ของร่างกาย และควบคุมการหลั่งฮอร์โมนของชายหรือหญิงเป็น 2 แง่เช่นเดียวกันคือ น้อยทำให้มาก ถ้ามากก็กดให้น้อย ซึ่งจะมีผลให้เกิดสุขภาพที่ดี เพราะเป็นการปรับสมดุลภายในร่างกาย (Adaptogen) โดยพฤกษเคมีสำคัญที่ทำให้เกิดสรรพคุณนี้คือเจอเมเนียมอินทรีย์ (Organic Germanium)
ต้านมะเร็ง (Anti-cancer) สารสำคัญที่ทำให้เกิดคุณสมบัติ (Adaptogen) หรือปรับสมดุลใน เจียวกู่หลานที่ทำลายมะเร็งก็คือ เจอเมเนียมอินทรีย์ (Organic Germanium)
ชะลอความแก่ (Anti-aging)เจียวกู่หลานช่วยซ่อมแซมเซลล์ในร่างกายที่สืกหรอ Cell Repair ช่วยให้สมดุลฮอร์โมนในร่างกายคงที่ ในเพศหญิงจะช่วยให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ บำรุงเลือด ในเพศชายจะช่วยลดอาการต่อมลูกหมากโต และเสริมสมรรถภาพทางเพศ
เพิ่มภูมิต้านทานให้เข้มแข็ง (Strength the Immune System)เจียวกู่หลานมีสรรพคุณ ทำให้กระดูกผลิตเม็ดเลือดขาวชนิดต่างๆที่มีประโยชน์กับผู้ป่วยมะเร็งที่กำลังรักษาด้วยการฉีดสารคีโมหรือด้วยการฉายรังสี เพราะคนไข้จะแข็งแรงทนการแพ้ยาคีโมหรือรังสีมากขึ้น จนแพทย์สามารถให้การรักษามะเร็งกับผู้ป่วยครบแผนที่กำหนดได้
เพิ่มพละกำลัง (Strength) เจียวกู่หลานสามารถเพิ่มสมรรถภาพของกล้ามเนื้อหัวใจในการบีบตัว และเพิ่มพลังกับความทนทาน (Endurance)ให้กล้ามเนื้อทุกส่วนในร่างกาย
- ปรับสมดุลของร่างกาย
- บำรุงร่างกาย
- เพิ่มพละกำลัง
- เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ
- เพิ่มภูมิต้านทาน
- โรคภูมิแพ้
- ชะลอความแก่
- ป้องกันผมหงอก
- ต้านมะเร็ง
- ลดน้ำตาลในเลือด
ส่วนของระบบไหลเวียนของเลือดแก้ไข
ลดไขมัน (Cholesterol)เจียวกู่หลานมีสรรพคุณ ควบคุมไขมันคอเลสเตอรอล ( Cholesterol) และไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride)ในเลือดให้อยู่ในระดับปกติ
ลดความดันโลหิต (Blood pressure) เจียวกู่หลานมีสรรพคุณช่วยให้ความดันโลหิตที่สูงเกินเกณฑ์ลดต่ำลงสู่ระดับปกติ ช่วยปรับสมดุลทำให้ลดความเครียด เนื่องจากส่วนมากผู้ที่มีความเครียดสูงมักจะมีความดันโลหิตสูง
ลดอาการเบาหวาน(Diabetes) เบาหวานชนิดนี้ส่วนมากเกิดในผู้ใหญ่ อายุเกิน 40 ปี ที่น้ำตาลสูงในเลือด เจี่ยวกู้หลานมีสรรพคุณกระตุ้นตับอ่อนให้ผลิตฮอร์โมนอินซูลิน เพื่อมาเผาผลาญน้ำตาล ทำให้น้ำตาลในกระแสเลือดที่สูงมีระดับลดลง
ป้องกันโรคหัวใจ (Heart disease)เจียวกู้หลานกระตุ้นให้ผนังหลอดเลือดผลิตแก๊สไนตริกออกไซด์ไลน์(Nitric oxide) ซึ่งทำให้หลอดเลือดขยายตัว เลือดมีช่องให้ไหลเวียนสะดวก ดังนั้นหัวใจไม่ต้องใช้กำลังสูบฉีดเลือด ทำให้หัวใจไม่ต้องทำงานหนัก ไม่เสื่อมเร็ว จึงมีผลดีต่อหัวใจ
ต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant properties) อนุมูลอิสระทำให้ก่อโรคแห่งความเสื่อมโทรมต่างๆ เช่น โรคมะเร็ง (cancer) โรคชรา โรคเข่าอักเสบ ในเจี่ยวกู้หลานมีสาร Gynpennoside ที่ป้องกันไม่ให้อนุมูลอิสระเกิดขึ้นมาทำลายเซลล์ต่างๆในร่างกาย
- ลดความดันโลหิต
- ปรับความดันโลหิตไห้อยู่ในระดับปกติ
- ลดเบาหวาน
- ลดไขมันในเลือด
- เพิ่มไขมันดีในเลือด
- เพิ่มการไหลเวียนของเลือด
- ป้องกันหลอดโลหิตอุดตัน
- ป้องกันโรคหัวใจ
- ต้านอนุมูลอิสระ
ส่วนของ ระบบประสาท แก้ไข
บำรุงสมอง ระบบประสาท (Nervous System) เจียวกู่หลานช่วยไห้ระบบไหลเวียนของเลือดดีขื้น ลดความเครียด เพิ่มความจำให้ดีขึ้น
ลดความเครียด & โรคซึมเศร้า (Stress & Depression) เจียวกู่หลานช่วยปรับสมดุล (Adaptogen)ในสมอง ทำให้ใช้รักษาความเครียดทั้งร่างกายและจิตใจ (Physical and mental stress) ทำให้นอนหลับดี ลดความเครียดได้ ไม่ทำให้เกิดโรคซึมเศร้า ซึ่งปัจจุบันพบว่ามีคนเป็นโรคนี้กันมาก
ช่วยในการนอนหลับ (Help in sleep) เจียวกู่หลานมีผลต่อการทำงานของสมองให้สงบ ซึ่งเป็นผลดีสำหรับการนอนหลับ
- บำรุงสมอง บำรุงประสาท
- ช่วยในการนอนหลับ
- เพิ่มความจำให้ดีขึ้น
- สมาธิดีขื้นกว่าเดิม
- บรรเทาอาการปวดหัวและไมเกรน
- คลายเครียด
- โรคซึมเศร้า
ส่วนของ ตับแก้ไข
ป้องกันโรคตับพอกและโรคตับอักเสบ ( fatty Liver & Hepatitis)
การบริโภคสมุนไพรเจียวกู่หลานหรือปัญจขันธ์มีประโยชน์ในการป้องกันโรคตับพอกชนิดไม่เกิดจากการดื่มสุรา โรคเบาหวาน ควบคุมน้ำหนักโดยลดไขมันบริเวณท้อง (Abdominal fat) ป้องกันตับเป็นพิษจากแอลกอฮอล์ และ โรคตับอักเสบ คนไข้โรคไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B) 100 คน ได้รับสมุนไพรเจี่ยวกู้หลาน เป็นเวลา 3 เดือน พบว่าอาการดีขึ้น 89 % นอกจากนี้ยังป้องกันตับเป็นพิษจากสารเคมีต่างๆ ซึ่งผู้วิจัยสรุปว่า เป็นเพระคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระสมุนไพรเจี่ยวกู้หลานหรือปัญจขันธ์
- ป้องกันโรคไขมันพอกตับ
- ป้องกันโรคตับอักเสบ
- โรคตับแข็ง
- มะเร็งตับ
ส่วนของ กระเพาะอาหารแก้ไข
โรคกระเพาะ & ลดอาการกรดไหลย้อน (Gastritis & Reflux Acids) เจียวกู่หลานช่วยขับลมในท้อง
รักษาแผลในกระเพาะอาหาร (Peptic ulcer) เจียวกู่หลานมีสารซาโปนินที่มีคุณสมบัติรักษาแผลในกระเพาะอาหารได้
ระบบขับถ่าย (Excretory system) เจียวกู่หลานช่วยช่วยย่อยอาหารและ ช่วยให้ระบบขับถ่ายดีขึ้น
- แผลในกระเพาะอาหาร
- โรคกระเพาะ
- กรดไหลย้อน
- ช่วยย่อยอาหาร
- ช่วยให้ระบบขับถ่ายดีขึ้น
- แผลที่ลำไส้เล็กส่วนต้น
- ขับสารพิษในร่างกาย
- มะเร็งกระเพาะอาหาร
- มะเร็งหลอดอาหาร
ส่วนของ ปอดแก้ไข
ป้องกันโรคปอด (Lungs Protection)การบริโภคสมุนไพรเจี่ยวกู้หลาน ช่วยให้ปอดแข็งแรงป้องกันโรคปอดจากมลภาวะทางอากาศ
รักษาหลอดลมอักเสบเรื้อรัง(Chronic bronchitis) เจียวกู่หลานสามารถรักษาโรคเกี่ยวกับ ปอด โดยเฉพาะหลอดลมอักเสบเรื้อรัง ใช้ในลักษณะเป็นชาชงแล้วดื่ม จะสามารถทุเลาโรคหลอดลมอักเสบได้.
- หลอดลมอักเสบเรื้อรัง
- เจ็บคอ
- แก้ไอ
- ละลายเสมหะ
- บำรุงปอด
- มะเร็งปอด
- หืด
ส่วนของ ไตแก้ไข
ประสบการณ์จากคนญี่ปุ่น ดื่มเจียวกู่หลาน มีส่วนช่วยเรื่อง กรวยไตอักเสบ ดื่มประมาณ 4-5 เดือน กรวยไตอักเสบ ก็ค่อยๆดีขึ้น ลุกขึ้นมาฉี่ตอนกลางคืนก็น้อยลง
46. กรวยไตอักเสบ
ส่วนอื่น ๆแก้ไข
- ยับยั้งแบคทีเรีย ฆ่าเชื้อ
- ต้านการอักเสบ
- ลดอาการบวม
- อาการปวดข้อ
- สิวผิวหนัง
- มะเร็งผิวหนัง
- ขับปัสสาวะ
- อาการเมาค้าง
- ลดน้ำหนัก ไขมันหน้าท้อง
สรรพคุณเพิ่มเติม คลิก สรรพคุณเจียวกู่หลาน หรือ สนใจสั่งซื้อคลิก สั่งซื้อสินค้า วิธีดื่มชาเจียวกู่หลาน คลิก วิธีดื่ม
เจียวกู่หลานเหมาะสำหรับผู้ที่แก้ไข
- ผู้ที่รักและดูแลสุขภาพ
- ความดันโลหิตสูง
- น้ำตาลในเลือดสูง
- ไขมันในเลือดสูง
- โรคหัวใจ
- โรคภูมิแพ้
- แผลในกระเพาะอาหาร
- กรดไหลย้อน
- โรคอ้วน
- ทำงานหนักใช้ความคิดเยอะ
- ความจำถดถอย
- เครียดจากการทำงาน
- ทำงานออฟฟิศที่ต้องนั่งนานๆ
- ใช้ชีวิตที่ไม่เป็นเวลาทั้งเรื่องการนอน การกิน การทำงาน
- การนอนหลับไม่ดี
- ระบบขับถ่ายไม่ดี
- ดื่มสุรา-สูบบุหรี่
- ขาดการออกกำลังกาย
- ผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้า
ไม่มีผลการรักษาโรคโดยตรง
เนื้อหาอ้างอิงจากหนังสือ “ปัญจขันธ์ สมุนไพรอมตะ เหมือนโสมแต่ดีกว่า”
วิธีบริโภค เจียวกู่หลานแก้ไข
เจียวกู่หลาน ถูกพัฒนาเป็นสินค้าเพื่อสุขภาพมากมาย ในรูปแบบต่างๆดังนี้ แคปซูล ชาชง เครื่องดื่มสำเร็จรูป แล้วนำไปผสมกับเครื่องดื่มชนิดอื่นฯ
อ้างอิงแก้ไข
- Gynostemma at Drug Digest
- History of Jiaogulan
- Listing of Latin Botanical names for species classified in the Gynostemma genus
- Royalfarm Jiaogulan
- เจียวกู้หลานป่า
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: Gynostemma pentaphyllum |
แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข
- ข้อมูลเกี่ยวข้องกับ Gynostemma pentaphyllum จากวิกิสปีชีส์