เจมส์ จอร์จ เฟรเซอร์
เซอร์ เจมส์ จอร์จ เฟรเซอร์ (อังกฤษ: James George Frazer; 1 มกราคม ค.ศ. 1854 – 7 พฤษภาคม ค.ศ. 1941) เป็นนักมานุษยวิทยาสังคมชาวสกอตแลนด์ เป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งวิชามานุษยวิทยา และริเริ่มการศึกษาปรัมปราวิทยาและศาสนาเปรียบเทียบ[2]
เจมส์ จอร์จ เฟรเซอร์ | |
---|---|
เกิด | 1 มกราคม ค.ศ. 1854 กลาสโกว์, สกอตแลนด์, สหราชอาณาจักร |
เสียชีวิต | 7 พฤษภาคม ค.ศ. 1941 เคมบริดจ์, อังกฤษ, สหราชอาณาจักร | (87 ปี)
สัญชาติ | สกอตแลนด์ |
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยกลาสโกว์ |
มีชื่อเสียงจาก | การศึกษาปรัมปราวิทยาและศาสนาเปรียบเทียบ |
รางวัล | ภาคีสมาชิกราชสมาคมแห่งลอนดอน[1] |
อาชีพทางวิทยาศาสตร์ | |
สาขา | มานุษยวิทยาสังคม |
ประวัติ
แก้เจมส์ จอร์จ เฟรเซอร์ เกิดที่เมืองกลาสโกว์ เมื่อ ค.ศ. 1854 เป็นบุตรคนโตในบรรดาสี่คนของแดเนียล เอฟ. เฟรเซอร์ เภสัชกร และแคเทอรีน เฟรเซอร์ ผู้สืบเชื้อสายมาจากทูตคนแรกที่เดินทางไปเจริญสัมพันธไมตรีกับทิเบต[3][4] เขาเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยกลาสโกว์ เมื่อ ค.ศ. 1869 ห้าปีต่อมา เฟรเซอร์ก็เรียนต่อที่วิทยาลัยทรินิที้ ในเคมบริดจ์ ในสาขาวิชาศิลปะคลาสสิก หลังจากเรียนจบ เขาได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์ด้านมานุษยวิทยาสังคมที่ลิเวอร์พูล แต่ต่อมาก็ลาออกกลับมาอยู่ที่เคมบริดจ์จนกระทั่งเสียชีวิต
เฟรเซอร์มีผลงานที่เป็นที่รู้จักคือหนังสือ The Golden Bough (คาคบทองคำ)[5] ซึ่งมีแนวคิดสำคัญถึงวิวัฒนาการสามขั้นของเวทมนตร์, ศาสนา และวิทยาศาสตร์ในสังคมมนุษย์ โดยขั้นแรก มนุษย์พยายามจะเอาชนะธรรมชาติโดยใช้ไสยศาสตร์ เวทมนตร์ พ่อมด หรือหมอผี โดยจะใช้วิธีการเซ่นสรวงบูชา การเต้นรำขับร้อง และการทำนาย, ขั้นที่สอง มนุษย์มีศาสนาจึงเกิดพวกนักบวชขึ้นมา ใช้วิธีการสวดมนต์ อ้อนวอน และทำพิธีกรรมต่าง ๆ เพื่อให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่นับถือเกิดความพอใจและขั้นสุดท้าย มนุษย์มีความเจริญในทางวิทยาศาสตร์ การอธิบายสิ่งต่าง ๆ โดยอาศัยหลักของเหตุผลจึงเกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง[6] ถึงแม้แนวคิดนี้จะมีนักวิชาการหลายท่านไม่เห็นด้วย แต่แนวคิดของเฟรเซอร์ก็มีส่วนสำคัญในการตีความ "ความเชื่อในเทวราชย์" (divine kingship)[7] ซึ่งเป็นผลมาจากการสร้างความเชื่อและพิธีกรรมโบราณขึ้นมาใหม่ และก่อให้เกิดความคิดชาตินิยม ซึ่งสร้างความเข้มแข็งให้กับอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ และแสดงให้เห็นความพยายามในการต่อสู้เพื่ออิสรภาพทางการเมือง[8]
เฟรเซอร์ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอัศวินในปี ค.ศ. 1914 เขาเสียชีวิตเมื่อ ค.ศ. 1941 ขณะมีอายุได้ 87 ปี[9]
อ้างอิง
แก้- ↑ doi:10.1098/rsbm.1941.0041
This citation will be automatically completed in the next few minutes. You can jump the queue or expand by hand - ↑ Mary Beard, "Frazer, Leach, and Virgil: The Popularity (and Unpopularity) of the Golden Bough," Comparative Studies in Society and History, 34.2 (April 1992:203–224).
- ↑ "Sir James George Frazer (1854-1941)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-22. สืบค้นเมื่อ 2015-03-30.
- ↑ Sir James Frazer -- NNDB
- ↑ คำว่า king (กษัตริย์) มาจากไหน -- บีบีซีไทย - BBC Thai
- ↑ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับศาสนา...[ลิงก์เสีย]
- ↑ "ประวัติศาสตร์ไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-06-18. สืบค้นเมื่อ 2015-03-30.
- ↑ คำสำคัญในระดับบัณฑิตศึกษาที่ควรรู้ โดย ปราโมทย์ ด่านประดิษฐ์
- ↑ Sir James George Frazer Sir James George Frazer, British anthropologist -- Encyclopædia Britannica
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ เจมส์ จอร์จ เฟรเซอร์