เจงกิส ข่าน (วิดีโอเกม)

เจงกิส ข่าน (อังกฤษ: Genghis Khan) หรือชื่อเต็มต้นฉบับคือ อาโอกิโอกามิโตะชิโรกิเมจิกะ: เจงกิส ข่าน (ญี่ปุ่น: 蒼き狼と白き牝鹿・ジンギスカン) เป็นเกมวางแผนผลัดกันเล่นใน ค.ศ. 1987 ที่พัฒนาโดยบริษัทโคอิ ซึ่งเปิดตัวครั้งแรกสำหรับเอ็นอีซี พีซี-9801,[1] เอ็มเอสเอกซ์ และชาร์ป เอกซ์68000 ใน ค.ศ. 1988,[2][3] ดอส และนินเท็นโดเอนเตอร์เทนเมนต์ซิสเตมใน ค.ศ. 1990,[4][5] และอามิกาใน ค.ศ. 1990[6] โดยเป็นเกมที่สองในซีรีส์ ต่อจากอาโอกิโอกามิโตะชิโรกิเมจิกะ สำหรับพีซี-88, พีซี-98 และเอ็มเอสเอกซ์

เจงกิส ข่าน
เจงกิส ข่าน
หน้าปกสำหรับเวอร์ชันนินเท็นโดเอนเตอร์เทนเมนต์ซิสเตมของทวีปอเมริกาเหนือ
ผู้พัฒนาโคอิ
ผู้จัดจำหน่ายโคอิ
ชุดเจงกิส ข่าน
เครื่องเล่นเอ็มเอสเอกซ์, แฟมิคอม, อามิกา, เอ็มเอส-ดอส
วางจำหน่ายพีซี-9801
เอ็มเอสเอกซ์ และเอกซ์68000
ดอส แฟมิคอม
อามิกา
แนววางแผนผลัดกันเล่น
รูปแบบผู้เล่นเดี่ยว หรือหลายผู้เล่น

โครงเรื่อง แก้

เกมดังกล่าวนำผู้เล่นเข้าสู่ชีวิตเสมือนจริงของเจงกิส ข่าน หรือหนึ่งในคู่แข่งของเขา ผู้เล่นจะต้องจัดงานแต่งงาน, พ่อปกครองลูก, แต่งตั้งสมาชิกในครอบครัวให้ดำรงตำแหน่งรัฐบาล และต่อสู้เพื่อพิชิตโลกเก่า กองทัพจะต้องเกณฑ์ทหาร และทหารจะต้องได้รับการฝึกหากผู้เล่นจะปกครองดินแดนจากอังกฤษถึงญี่ปุ่น

รูปแบบการเล่น แก้

เกมดังกล่าวมีสองวิธีในการเล่น อย่างแรกคือการพิชิตมองโกล โดยเริ่มขึ้นใน ค.ศ. 1175 ซึ่งเป็นโหมดผู้เล่นเดี่ยว ที่ผู้เล่นควบคุมขุนศึกเตมูจิน และพวกเขาต้องยึดครองดินแดนโดยการรักษาเศรษฐกิจให้มีเสถียรภาพ, มีกองทัพพร้อมที่จะต่อสู้ รวมทั้งโดยการโจมตีดินแดนอื่น ส่วนอย่างที่สองคือการพิชิตโลก ซึ่งเป้าหมายคือการพิชิตทุกประเทศที่เป็นปฏิปักษ์

สำหรับการพิชิตโลก ซึ่งเริ่มต้นใน ค.ศ. 1206 ได้เริ่มด้วยการเลือกจำนวนผู้เล่นและความยาก โดยรองรับผู้เล่น 1–4 คน ซึ่งผู้เล่นต้องเลือกว่าต้องการเป็นใคร ได้แก่ เจงกิส ข่าน (มองโกล), จักรพรรดิอเล็กซิออสที่ 1 (ไบแซนไทน์), พระเจ้าริชาร์ด (อังกฤษ) หรือโยริโตโมะ (ญี่ปุ่น) จากนั้น ผู้เล่นแต่ละคนจะต้องสุ่มเลือกค่าสถิติของผู้นำและผู้สืบทอด ผู้เล่นจะต้องหยุดตัวเลขสุ่มเพื่อเลือกค่าสถิติที่แน่นอน สิ่งนี้จะทำจนกว่าจะเลือกค่าสถิติทั้งหมดสำหรับตัวละครบางตัว แต่สามารถทำใหม่ได้ หลังจากที่ทุกคนพร้อมแล้ว เกมก็จะเริ่มต้นขึ้น โดยประเทศในทวีปยูเรเชียได้หมุนเวียนแทรกซอน เมื่อพวกเขาแทรกซอนไปในประเทศหนึ่ง ก็หมายความว่าพวกเขาได้ใช้ตาเดินของพวกเขา เมื่อมาถึงประเทศของผู้เล่น พวกเขาต้องเลือกสามตัวเลือก ซึ่งตัวเลือกเหล่านี้ประกอบด้วยการฝึกทหาร, การซื้อสินค้า/ปริมาณบางอย่างจากพ่อค้า, การเกณฑ์ทหาร, การส่งสนธิสัญญา หรือการทำสงคราม โดยแต่ละการกระทำจะลบหนึ่งตัวเลือกออกไปจนกว่าจะใช้ครบสามตัวเลือก จากนั้น วงจรจะดำเนินต่อไป เมื่อทุกประเทศใช้ตาเดินของตนแล้ว ฤดูกาลจะเปลี่ยนไปและวงจรก็จะผ่านไปอีกครั้ง แต่ในลำดับที่ต่างกัน ฤดูกาลเป็นตัวกำหนดว่าผู้เล่นจะต้องให้ค่าจ้างกองทัพเมื่อใด, ชาวนาเก็บเกี่ยวพืชผลเมื่อใด, ต้องแจกจ่ายอาหารเมื่อใด ฯลฯ

การตอบรับ แก้

ใน ค.ศ. 1989 นิตยสารคอมพิวเตอร์เกมมิงเวิลด์กล่าวถึงเกมเจงกิส ข่าน ว่า "การจำลองประวัติศาสตร์ที่เกรี้ยวกราดที่สุด, น่าพอใจที่สุด และเข้มข้นที่สุด จนกระทั่งบัดนี้!"[7] ส่วนในการสำรวจเกมสงครามก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 20 เมื่อ ค.ศ. 1990 นิตยสารดังกล่าวได้ให้สี่ดาวจากเต็มห้า[8] และเมื่อ ค.ศ. 1993 ได้ให้สามดาว[9] ขณะที่ออร์สัน สก็อต การ์ด มองว่าเกมนี้ไม่ดี โดยเขียนในนิตยสารคอมพิวต์!ที่เปรียบเทียบกับเกมโรแมนซ์ว่า "ความน่าเบื่อได้กลับมา" ในส่วนของรูปแบบการเล่น[10] แต่นักวิจารณ์อีกคนของนิตยสารดังกล่าวระบุว่า "เกมเจงกิส ข่าน เป็นข้อกำหนดเบื้องต้นที่ยอดเยี่ยมสำหรับประสบการณ์ความเป็นผู้นำที่แท้จริง เพราะมันบังคับให้คุณต้องประเมินทรัพยากรของคุณก่อนตัดสินใจ"[11] ครั้นใน ค.ศ. 2008 อาร์มาญัน ยาวูซ ผู้ร่วมก่อตั้งเทเวิลส์ ซึ่งเป็นบริษัทผู้พัฒนาสัญชาติตุรกี อ้างว่าเกมเจงกิส ข่าน ของบริษัทโคอิมีอิทธิพลต่อซีรีส์เมาต์แอนด์เบลดของพวกเขา[12]

อ้างอิง แก้

  1. "Aoki Ookami to Shiroki Mejika - Genghis Khan". PC-9801 Database. Tokugawa Corp. สืบค้นเมื่อ 1 January 2012.
  2. "Genghis Khan (MSX)". GameFAQs. สืบค้นเมื่อ 1 January 2012.
  3. "Genghis Khan (X68000)". GameFAQs. สืบค้นเมื่อ 1 January 2012.
  4. "Genghis Khan (PC)". GameFAQs. สืบค้นเมื่อ 1 January 2012.
  5. "Genghis Khan (NES)". GameFAQs. สืบค้นเมื่อ 1 January 2012.
  6. "Genghis Khan (Amiga)". GameFAQs. สืบค้นเมื่อ 1 January 2012.
  7. Wilson, Johnny (Jan 1989). "IBM Goes to War". Computer Gaming World. pp. 24–25.
  8. Brooks, M. Evan (October 1990). "Computer Strategy and Wargames: Pre-20th Century". Computer Gaming World. p. 11. สืบค้นเมื่อ 16 November 2013.
  9. Brooks, M. Evan (August 1993). "Wargame Survey Version 2.0". Computer Gaming World. p. 128. สืบค้นเมื่อ 12 July 2014.
  10. Card, Orson Scott (March 1989). "Gameplay". Compute!. p. 11. สืบค้นเมื่อ 10 November 2013.
  11. Atkin, Denny (December 1989). "Grow Up!". Compute!. pp. 94–100.
  12. McCarroll, John (12 September 2008). "RPGFan Exclusive Interview: Armağan Yavuz, Taleworlds Entertainment". RPGFan. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 October 2008. สืบค้นเมื่อ 28 July 2019.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้