เคมบริดจ์แอนะลิติกา

บริษัทที่ปรึกษาทางการเมือง

เคมบริดจ์แอนะลิติกา (อังกฤษ: Cambridge Analytica, ย่อ: CA) เป็นบริษัทที่ปรึกษาการเมืองบริติชซึ่งใช้การทำเหมืองข้อมูล การเป็นนายหน้าข้อมูล (data brokerage) และการวิเคราะห์ข้อมูลร่วมกับการสื่อสารยุทธศาสตร์สำหรับกระบวนการเลือกตั้ง[5][6] บริษัทฯ ก่อตั้งเป็นสาขาหนึ่งของเอสซีแอลกรุ๊ป (SCL Group)[7] ครอบครัวของรอเบิร์ต เมอร์เซอร์ (Robert Mercer) ผู้จัดการกองทุนบริหารความเสี่ยงชาวอเมริกันผู้สนับสนุนอุดมการณ์อนุรักษนิยมทางการเมืองหลายอุดมการณ์ เป็นเจ้าของบริษัทฯ บางส่วน[7][8] ปัจจุบันบริษัทฯ มีสำนักงานในกรุงลอนดอน นครนิวยอร์ก และวอชิงตัน ดี.ซี.[9]

เคมบริดจ์แอนะลิติกา
ประเภทการทำเหมืองข้อมูล, การวิเคราะห์ข้อมูล
ก่อตั้ง2013
เลิกกิจการ1 พฤษภาคม ค.ศ. 2018 (2018-05-01)
สำนักงานใหญ่กรุงลอนดอน
บุคลากรหลัก
อเล็กซานเดอร์ นิกซ์ (ซีอีโอ)[1]
Robert Mercer (นักลงทุน)[2]
Rebekah Mercer (นักลงทุน)
สตีฟ แบนนัน (อดีตรองประธาน)[3]
บริษัทแม่เอสซีแอลกรุ๊ป จำกัด[4]
เว็บไซต์cambridgeanalytica.org

ซีอีโอ อเล็กซานเดอร์ นิกซ์ (Alexander Nix) กล่าวว่า CA เกี่ยวข้องในการแข่งขันทางการเมืองในสหรัฐ 44 ครั้งในปี 2557;[10] ในปี 2558 บริษัทฯ ให้บริการวิเคราะห์ข้อมูลแก่การรณรงค์ประธานาธิบดีของเท็ด ครูซ ในปี 2559 CA ทำงานให้กับการรณรงค์ประธานาธิบดีของดอนัลด์ ทรัมป์[11] ตลอดจนการรณรงค์ลีฟ.อียูให้การถอนตัวจากสหภาพยุโรปของสหราชอาณาจักร บทบาทของ CA ในการรณรงค์เหล่านี้เป็นข้อโต้เถียงและเป็นหัวข้อการสืบสวนทางอาญาที่กำลังดำเนินอยู่ในสหรัฐและสหราชอาณาจักร[12][13][14] นักรัฐศาสตร์ตั้งคำถามถึงข้ออ้างของ CA เกี่ยวกับประสิทธิภาพของวิธีการการกำหนดเป้าหมายผู้ออกเสียงเลือกตั้งของบริษัทฯ[15][16]

ในเดือนมีนาคม 2561 สื่อหลายสำนักเผยแพร่ข่าววัตรปฏิบัติธุรกิจของเคมบริดจ์แอนะลิติกา เดอะนิวยอร์กไทมส์ และ ดิออฟเซิร์ฟเวอร์ รายงานเรื่องการละเมิดข้อมูลของเฟซบุ๊กและเคมบริดจ์แอนะลิติกา ซึ่งถูกนักวิจัยภายนอกใช้สารสนเทศส่วนบุคคลที่ได้มาจากผู้ใช้เฟซบุ๊กจากบริษัทฯ เพื่อความมุ่งหมายทางการเมือง โดยอ้างว่าเก็บรวบรวมสารสนเทศดังกล่าวเพื่อความมุ่งหมายทางวิชาการ ไม่นานจากนั้น ข่าวช่อง 4 แพร่สัญญาณการสอบสวนนอกไม่เปิดเผยแสดงภาพนิกซ์โอ้อวดเกี่ยวกับการใช้โสเภณี ปฏิบัติการล่อสินบน และฮันนีเทรพ (honey trap) เพื่อทำให้นักการเมืองที่เป็นเป้าหมายของการวิจัยของฝ่ายตรงข้าม (opposition research) เสียชื่อเสียง และกล่าวว่าบริษัทฯ "ดำเนินการรณรงค์ดิจิทัลทั้งหมดของ (ดอนัลด์ ทรัมป์)" กรรมการสารสนเทศสหราชอาณาจักรสนองต่อรายงานของสื่อโดยออกหมายค้นเซิร์ฟเวอร์ของบริษัทฯ[17][18] เฟซบุ๊กแบนเคมบริดจ์แอนะลิติกามิให้โฆษณาบนแพลตฟอร์ม โดยกล่าวว่าเฟซบุ๊กถูกหลอก[19][20] วันที่ 23 มีนาคม 2561 ศาลสูงบริติชอนุมัติหมายค้นของสำนักงานกรรมาธิการสารสนเทศเพื่อค้คนสำนักงานกรุงลอนดอนของเคมบริดจ์แอนะลิติกา[21]

ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้เฟซบุ๊ก 50 ล้านคนได้มาจากผู้ใช้เฟซบุ๊ก 270,000 คนที่แบ่งปันข้อมูลโดยใช้แอพ "ดิสอีสยัวร์ดิจิทัลไลฟ์" (thisisyourdigitallife) โดยอนุญาตให้แอพภายนอกนี้เข้าถึงข้อมูลของพวกเขาได้ย้อนไปในปี 2558 เหตุนี้ยังให้สารสนเทศเกี่ยวกับเครือข่ายเพื่อนกับบุคคลเหล่านั้นแก่แอพ ผู้พัฒนาแอพละเมิดเงื่อนไขการใช้งานของเฟซบุ๊กโดยมอบข้อมูลแก่เคมบริดจ์แอนะลิติกา[22]

อ้างอิง แก้

  1. Cheshire, Tom (21 October 2016). "Behind the scenes at Donald Trump's UK digital war room". Sky News.
  2. Cadwalladr, Carole (18 มีนาคม 2018). "'I made Steve Bannon's psychological warfare tool': meet the data war whistleblower". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม 2018.
  3. Illing, Sean (16 October 2017). "Cambridge Analytica, the shady data firm that might be a key Trump-Russia link, explained". Vox. สืบค้นเมื่อ 24 March 2018.
  4. "Cambridge Analytica LLC: Private Company Information". Bloomberg. สืบค้นเมื่อ 20 March 2018.
  5. Editorial, Reuters (20 March 2018). "Factbox: Who is Cambridge Analytica and what did it do?". U.S. สืบค้นเมื่อ 23 March 2018.
  6. "Exposed: Undercover secrets of Trump's data firm". Channel 4 News. 20 March 2018. สืบค้นเมื่อ 22 March 2018.
  7. 7.0 7.1 Issenberg, Sasha (12 พฤศจิกายน 2015). "Cruz-Connected Data Miner Aims to Get Inside U.S. Voters' Heads". Bloomberg. สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2016.
  8. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ politico
  9. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ ca
  10. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ wpost
  11. Alex Altman (10 October 2016). "Silent Partners". Time: 44.
  12. Confessore, Nicholas; Hakim, Danny (6 มีนาคม 2017). "Data Firm Says 'Secret Sauce' Aided Trump; Many Scoff". The New York Times. ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 7 มีนาคม 2017.
  13. Reinbold, Fabian; Schnack, Thies (6 ธันวาคม 2016). "Ich ganz allein habe Trump ins Amt gebracht". Der Spiegel.
  14. Doward, Jamie; Cadwalladr, Carole; Gibbs, Alice (4 มีนาคม 2017). "Watchdog to launch inquiry into misuse of data in politics". The Guardian. ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 14 มิถุนายน 2017.
  15. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ :1
  16. Trump, Kris-Stella (23 March 2018). "Analysis | Four and a half reasons not to worry that Cambridge Analytica skewed the 2016 election". Washington Post (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0190-8286. สืบค้นเมื่อ 23 March 2018.
  17. "Cambridge Analytica CEO 'admits to dirty tricks'". The Week.
  18. "Cambridge Analytica Boasted of Disappearing Emails in Campaigns". Bloomberg L.P. 20 March 2018.
  19. Rosenberg, Matthew; Confessore, Nicholas; Cadwalladr, Carole (17 มีนาคม 2018). "How Trump Consultants Exploited the Facebook Data of Millions". The New York Times. ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 17 มีนาคม 2018.
  20. Cadwalladr, Carole; Graham-Harrison, Emma (17 มีนาคม 2018). "Revealed: 50 million Facebook profiles harvested for Cambridge Analytica in major data breach". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม 2018.
  21. CNBC (23 March 2018). "UK High Court grants Cambridge Analytica search warrant to ICO". CNBC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-03-23. สืบค้นเมื่อ 23 March 2018.
  22. "Here's how Facebook allowed Cambridge Analytica to get data for 50 million users". Recode. สืบค้นเมื่อ 27 March 2018.