เข็มรัตน์ กองสุข
รองศาสตราจารย์ เข็มรัตน์ กองสุข ศิลปินแห่งชาติ ปี 2555 สาขาทัศนศิลป์ (ประติมากรรม) และอาจารย์คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
เข็มรัตน์ กองสุข | |
---|---|
เกิด | 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2490 เข็มรัตน์ กองสุข |
อาชีพ | ศิลปิน, อาจารย์ |
ศิลปินแห่งชาติ | สาขาทัศนศิลป์ - ประติมากรรม พ.ศ. 2555 |
ประวัติ
แก้รองศาสตราจารย์ เข็มรัตน์ กองสุข เกิดเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พุทธศักราช 2490 เป็นชาวจังหวัดสุรินทร์ โดยกำเนิด สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ปริญญาศิลปบัณฑิต เกียรตินิยม อันดับ ๒ (ประติมากรรม) และระดับปริญญาโท ปริญญาศิลปมหาบัณฑิต (ประติมากรรม) จากคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เริ่มรับราชการในตาแหน่งอาจารย์ ที่คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เกษียณอายุในตาแหน่งรองศาสตราจารย์ ระดับ ๙ และได้รับการต่ออายุราชการ ๕ ปีขณะนี้กาลังทางานค้นคว้าพัฒนาผลงานทางวิชาการระดับศาสตราจารย์
การศึกษา
แก้- ระดับมัธยมศึกษา จากโรงเรียนสุรวิทยาคาร จังหวัดสุรินทร์
- ระดับ ปวช. (แผนกวิจิตรศิลป์) โรงเรียนเพาะช่าง
- ระดับปริญญาตรี ศบ. (ประติมากรรม) เกียรตินิยม อันดับ ๒ คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
- ระดับปริญญาโท ศม. (ประติมากรรม) คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
การแสดงผลงาน/ประสบการณ์
แก้๒๕๑๙
แก้- การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ ๒๓
- การแสดงศิลปกรรมของ ธนาคารศรีนคร ครั้งที่ ๑
- การแสดงศิลปกรรมกลุ่มศิลปากร ๒๐
๒๕๒๐–๒๒
แก้- การแสดงศิลปกรรมของคณาจารย์ คณะจิตรกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร
๒๕๒๔–๒๕
แก้- การแสดงประติมากรรมของกลุ่มประติมากรรม ครั้งที่ ๑, ๒
๒๕๒๕
แก้- การแสดงผลงานจิตรกรรมสีน้ำของกลุ่มไวท์ ครั้งที่ ๑
- นิทรรศการศิลปกรรมร่วมสมัยของธนาคารกสิกรไทย
๒๕๒๖–๒๘
แก้- การแสดงผลงานประติมากรรมของกลุ่มประติมากร ของสมาคมประติมากรไทย
๒๕๓๐
แก้- การแสดงศิลปกรรมของมหาวิทยาลัยศิลปากร PAKING KWANG-CHO, THE PEOPLE'S REPUBLIC OF CHINA
๒๕๒๕–๓๘
แก้- การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ ๒๘, ๒๙, ๓๑, ๓๒, ๓๓, ๓๔, ๓๕, ๓๖, ๔๑
รางวัล
แก้- ๒๕๐๙ - รางวัลที่ ๑ (จิตรกรรมสีน้ำ) การแสดงผลงานของนักเรียน โรงเรียนเพาะช่าง
- ๒๕๑๐ - รางวัลที่ ๑, ๒ (จิตรกรรมสีน้ำ) และรางวัลที่ ๑ (วาดเส้น) การแสดงผลงานของนักเรียนโรงเรียนเพาะช่าง
- ๒๕๑๑ - รางวัลที่ ๑ (จิตรกรรมสีน้ำ, วาดเส้น และสร้างสรรค์) และรางวัลที่ ๒, ๓ (จิตรกรรมสีน้ำ, วาดเส้น) การแสดงผลงานของนักเรียนโรงเรียนเพาะช่าง
- ๒๕๑๔ - ได้รับทุนการศึกษาของมูลนิธิสมเด็จกรมพระยานริศฯ
- ๒๕๑๙ - รางวัลเกียรตินิยม อันดับ ๒ เหรียญเงิน ประเภทประติมากรรม การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ ๒๓
- ๒๕๒๕ - รางวัลเกียรตินิยม อันดับ ๓ เหรียญทองแดง ประเภทประติมากรรม การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ ๒๘ ผลงานชื่อ "เกิด"
- ๒๕๒๖ - รางวัลเกียรตินิยม อันดับ ๒ เหรียญเงิน ประเภทประติมากรรม การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ ๒๙ ผลงานชื่อ "แม่ลูก"
- - รางวัลเกียรตินิยม อันดับ ๓ เหรียญทองแดง ประเภทประติมากรรม การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ ๒๙ ผลงานชื่อ "ในคืนเดือนเพ็ญ"
- - รางวัลชนะเลิศศิลปกรรม (จิตรกรรม) การประกวดศิลปกรรมร่วมสมัย ธนาคารกสิกรไทย
- ๒๕๒๘ - รางวัลเกียรตินิยม อันดับ ๒ เหรียญเงิน ประเภทประติมากรรม การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ ๓๑ ผลงานชื่อ "พลังแห่งอิสรภาพ"
- ๒๕๒๙ - รางวัลเกียรตินิยม อันดับ ๒ เหรียญเงิน ประเภทประติมากรรม การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ ๓๒ ผลงานชื่อ "เมล็ดพันธุ์แห่งจินตนาการ หมายเลข ๒"
- ๒๕๓๐ - รางวัลเกียรตินิยม อันดับ ๒ เหรียญเงิน ประเภทประติมากรรม การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ ๓๓ ผลงานชื่อ "มนุษย์กับความปรารถนา"
- ๒๕๓๑ - รางวัลเกียรตินิยม อันดับ ๑ เหรียญทอง ประเภทประติมากรรม การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ ๓๔ ผลงานชื่อ "ชีวิตและศรัทธา"
- ๒๕๓๒ - รางวัลเกียรตินิยม อันดับ ๒ เหรียญเงิน ประเภทประติมากรรม การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ ๓๕ ผลงานชื่อ "เมล็ดพันธุ์แห่งจินตนาการ ๒๕๓๒"
- ๒๕๓๓ - รางวัลเกียรตินิยม อันดับ ๒ เหรียญเงิน ประเภทประติมากรรม การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ ๓๖ ผลงานชื่อ "สองหัว"
- ๒๕๓๗ - ได้รับโล่ห์เกียรติยศในฐานะศิษย์เก่าดีเด่น สาขาศิลปกรรม จากโรงเรียนสุรวิทยาคาร จังหวัดสุรินทร์
- ๒๕๓๘ - รางวัลเกียรตินิยม อันดับ ๑ เหรียญทอง ประเภทประติมากรรม การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ ๔๑ ผลงานชื่อ "อนุสาวรีย์แห่งความทรงจำ"
- - ได้รับการยกย่องให้เป็นศิลปินชั้นเยี่ยม ประเภทประติมากรรม
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2553 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[1]
- พ.ศ. 2550 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[2]
- พ.ศ. 2556 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)[3]
- พ.ศ. 2552 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[4]
อ้างอิง
แก้- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๓, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๔๙, ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๑๘ ข หน้า ๙๑, ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๕๖, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๑๐๕, ๒๔ ตุลาคม ๒๕๕๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา ประจำปี ๒๕๕๒, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๖ ข หน้า ๓๔๑, ๖ มิถุนายน ๒๕๕๓