เขตห้ามล่าสัตว์ป่าพันท้ายนรสิงห์

เขตห้ามล่าสัตว์ป่าในจังหวัดสมุทรสาคร

เขตห้ามล่าสัตว์ป่าพันท้ายนรสิงห์ เป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่าประเภทพื้นที่คุ้มครองทางทะเลในอำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร ครอบคลุมพื้นที่ 14,426 ไร่ (23.082 ตารางกิโลเมตร) จัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2554[1]

เขตห้ามล่าสัตว์ป่าพันท้ายนรสิงห์
ไอยูซีเอ็นประเภท 4 (เขตบริหารสิ่งแวดล้อม)[1]
แผนที่
ที่ตั้งอำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร
พิกัด13°29′58″N 100°16′22″E / 13.499502°N 100.272645°E / 13.499502; 100.272645
พื้นที่14,426 ไร่ (23.082 ตารางกิโลเมตร)
จัดตั้งพ.ศ. 2554
หน่วยราชการกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

ภูมิศาสตร์

แก้

เขตห้ามล่าสัตว์ป่าพันท้ายนรสิงห์ มีเนื้อที่ 14,426 ไร่ (23.082 ตารางกิโลเมตร) ความยาวรอบพื้นที่ 80.64 กิโลเมตร (50.11 ไมล์) ตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลบางหญ้าแพรก ตำบลโคกขาม ตำบลพันท้ายนรสิงห์ ตำบลบางกระเจ้า ตำบลบ้านบ่อ ตำบลบางโทรัด ตำบลกาหลง ตำบลนาโคก อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร[2]

ภูมิประเทศ

แก้

เขตห้ามล่าสัตว์ป่านี้ตั้งอยู่ในลุ่มน้ำท่าจีน สาขาที่ราบแม่น้ำท่าจีน ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำชั้น 5 กินพื้นที่บริเวณชายฝั่งตั้งแต่ปากแม่น้ำท่าจีนออกมาต่อเนื่องกับที่ราบชายฝั่งทะเลอ่าวมหาชัย สภาพเป็นป่าชายเลน มีพื้นที่ทับซ้อนกันกับป่าสงวนแห่งชาติป่าอ่าวมหาชัย ฝั่งตะวันตก และฝั่งตะวันออก[2]

พืชพรรณ

แก้

เขตห้ามล่าสัตว์ป่าพันท้ายนรสิงห์ประกอบด้วยป่าชายเลน เช่น โกงกางใบเล็ก[3] แสม[4] ซึ่งแต่เดิมพื้นที่ป่าชายเลนมีจำนวนน้อยและเกือบตายทั้งหมด รวมถึงประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง แต่ในภายหลังได้เร่งฟื้นฟูสภาพป่าชายเลนทำให้ปัญหาดังกล่าวดีขึ้น และทำให้พื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่านี้กลายเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำและเป็นแหล่งอนุรักษ์ฟื้นฟูระบบนิเวศ[5]

สัตว์ป่า

แก้

เขตห้ามล่าสัตว์ป่าพันท้ายนรสิงห์ มีสัตว์ป่าในบัญชีท้ายประกาศจำนวน 173 ลำดับ มีสัตว์ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง (CR) จำนวน 5 ชนิด คือ วาฬบรูด้า, โลมาหัวบาตรหลังเรียบ, นกชายเลนปากช้อน, นกปากช้อนหน้าดำ และเหยี่ยวดำ มีสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ (EN) จำนวน 2 ชนิด คือ โลมาอิรวดี และนกกระสาใหญ่

 
ปูก้ามหัก (Macrophthalmus tomentosus) ที่พบในพื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าพันท้ายนรสิงห์

นอกจากนี้ยังประสบปัญหาลิงแสมจำนวนมากที่บุกรุกชุมชนและมีบริมาณเกินสมดุล[6]

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ได้แก่:[7]

นก ได้แก่:[7]

สัตว์เลื้อยคลาน ได้แก่:[7]

สถานที่ตั้ง

แก้

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 "Protected Planet | Phan Thai Norasing". Protected Planet.
  2. 2.0 2.1 เขตห้ามล่าสัตว์ป่าพันท้ายนรสิงห์ (PDF). ส่วนจัดการพื้นที่อนุรักษ์สัตว์ป่า สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช.
  3. Insight, The Bangkok. "CPF รวมพลังพนักงาน ชุมชน ภาครัฐ สานต่อโครงการ 'ปลูก ปัน ป้อง ป่าชายเลน' สมุทรสาคร เพิ่มพื้นที่ป่าชายเลน | The Bangkok Insight". LINE TODAY.
  4. "อุทยานการเรียนรู้พันท้ายนรสิงห์". thai.tourismthailand.org (ภาษาอังกฤษ).
  5. "ถอดบทเรียน... ฟื้นฟูระบบนิเวศป่าชายเลน อ่าวตัว ก. สมุทรสาคร". bangkokbiznews. 2020-07-28.
  6. "เร่งนับจำนวนลิงแสม ควบคุมการขยายพันธุ์ ให้ สมดุลธรรมชาติ". www.matichon.co.th. สืบค้นเมื่อ 2025-01-04.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  7. 7.0 7.1 7.2 "ชนิดสัตว์ป่าในพื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าพันท้ายนรสิงห์". gdcatalog.go.th. สืบค้นเมื่อ 2025-01-04.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  8. "ส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่าบึงเกริงกะเวียและหนองน้ำชับ" [Bueng Kroengkawia–Nong Sam Sap non-hunting area] (PDF). Department of National Parks, Wildlife and Plant Conservation. 1 November 1978. สืบค้นเมื่อ 11 September 2022.[ลิงก์เสีย]
  9. "ส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่าบึงฉวาก" [Bueng Chawak non-hunting area] (PDF). Department of National Parks, Wildlife and Plant Conservation. 29 March 1983. สืบค้นเมื่อ 11 September 2022.[ลิงก์เสีย]
  10. "ส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่าเขาประทับช้าง" [Khao Pratap Chang non-hunting area] (PDF). Department of National Parks, Wildlife and Plant Conservation. 3 July 1986. สืบค้นเมื่อ 11 September 2022.[ลิงก์เสีย]
  11. "ส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่าพันท้ายนรสิงห์" [Phantai Norasing non-hunting area] (PDF). Department of National Parks, Wildlife and Plant Conservation. 19 October 2011. สืบค้นเมื่อ 11 September 2022.[ลิงก์เสีย]
  12. "ส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่าอุทยานสมเด็จพระศรีนครีนทร์" [Somdet Phra Srinagarindra non-hunting area] (PDF). Department of National Parks, Wildlife and Plant Conservation. 9 May 1989. สืบค้นเมื่อ 11 September 2022.[ลิงก์เสีย]
  13. "ส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่าถ้ำค้างคาว–เขาช่องพราน" [Tham Khang Khao–Khao Chong Phran non-hunting area] (PDF). Department of National Parks, Wildlife and Plant Conservation. 15 June 1982. สืบค้นเมื่อ 11 September 2022.[ลิงก์เสีย]
  14. "ส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่าถ้ำละว้า–ถ้ำดาวดึงล์" [Tham Lawa–Tham Daowadueng non-hunting area] (PDF). Department of National Parks, Wildlife and Plant Conservation. 8 June 1976. สืบค้นเมื่อ 11 September 2022.[ลิงก์เสีย]
  15. "ส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่าวัดราษฎร์ศรัทธากะยาราม" [Wat Rat Sattha Kayaram non-hunting area] (PDF). Department of National Parks, Wildlife and Plant Conservation. 13 September 1977. สืบค้นเมื่อ 11 September 2022.[ลิงก์เสีย]
  16. "ส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่าวัดถ้ำระฆัง–เขาพระนอน" [Wat Tham Rakhang–Khao Phra Non non-hunting area] (PDF). Department of National Parks, Wildlife and Plant Conservation. 15 June 1982. สืบค้นเมื่อ 11 September 2022.[ลิงก์เสีย]