เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว

19°23′33″N 98°53′32″E / 19.39250°N 98.89222°E / 19.39250; 98.89222

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว
ไอยูซีเอ็นกลุ่ม 4 (เขตบริหารสิ่งแวดล้อม)
ดอยหลวงเชียงดาว
แผนที่แสดงที่ตั้งเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว
แผนที่แสดงที่ตั้งเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว
ตำแหน่งที่ตั้งในประเทศไทย
แผนที่แสดงที่ตั้งเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว
แผนที่แสดงที่ตั้งเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว (ประเทศไทย)
ที่ตั้งอำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่
เมืองใกล้สุดจังหวัดเชียงใหม่
พิกัด19°23′03″N 98°50′48″E / 19.3841°N 98.8468°E / 19.3841; 98.8468
พื้นที่521 ตารางกิโลเมตร
จัดตั้งพ.ศ. 2521
หน่วยราชการกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว เป็นพื้นที่อนุรักษ์ประเภทเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าในประเทศไทย ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ มีเนื้อที่ประมาณ 521 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 325,625 ไร่ ครอบคลุมเนื้อที่ของตำบลเมืองแหง ในอำเภอเวียงแหง ตำบลเมืองงาย ตำบลเมืองคอง ตำบลเชียงดาว และตำบลแม่นะ มีสภาพภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสูงสลับซับซ้อน สภาพป่าเป็นป่าดิบแล้ง ป่าดิบเขา ป่าสน สลับกับทุ่งหญ้า โดยมีจุดน่าสนใจ คือ ดอยหลวงเชียงดาว ซึ่งเป็นภูเขาหินปูนที่สูงที่สุดในประเทศไทย มีความสูง 2,275 เมตร นับเป็นดอยหรือภูเขาที่มีความสูงเป็นอันดับ 3 ของประเทศไทย รองจากดอยอินทนนท์ และดอยผ้าห่มปก ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2521[1]

ประวัติ

แก้

ดอยหลวงเชียงดาว เดิมมีชื่อว่า "ดอยเพียงดาว" แต่ผู้ที่อาศัยอยู่ในท้องถิ่นได้เรียกเพี้ยนมาเป็น "เชียงดาว" อย่างในปัจจุบัน และมีชื่อดั้งเดิมว่า "ดอยอ่างสลุง" โดยมีความเชื่อว่าในอดีต สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเคยเสด็จมาพร้อมพระอรหันต์ 8 รูป ทรงลงสรงน้ำในที่แห่งนี้ ขณะที่ "หลวง" ในภาษาเหนือ หมายถึง "ใหญ่"

ดอยหลวงเชียงดาว เป็นเทือกเขาที่มีความยาวติดต่อกันเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาเชียงดาว ซึ่งเป็นส่วนต่อเนื่องกับเทือกเขาถนนธงชัย เกิดจากการกัดเซาะของน้ำทะเลในยุคเพอร์เมียน (250–300 ล้านปีก่อน) ซึ่งลักษณะของหินปูนไม่สามารถรองรับน้ำได้ แต่จะถูกกัดเซาะ จึงกลายมาเป็นเทือกเขาและดอยต่าง ๆ ในบริเวณนี้ ซึ่งเดิมเคยเป็นทะเลมาก่อน

 
ทะเลเมฆ ณ ดอยหลวงเชียงดาว

ดอยหลวงเชียงดาว มีดอยที่สูงด้วยกันทั้งหมด 3 แห่ง นอกจากดอยหลวงเชียงดาวแล้ว ยังมี "ดอยสามพี่น้อง" และ "ดอยกิ่วลม" อีกซึ่งอยู่ใกล้กัน และถึงแม้ดอยหลวงเชียงดาว จะเป็นยอดดอยที่มีความสูงเช่นเดียวกับดอยอินทนนท์ และดอยผ้าห่มปกแล้ว แม้จะอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่เช่นเดียวกัน แต่ทว่าความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตของที่นี่แตกต่างไปโดยสิ้นเชิง โดยจะมีสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นอยู่เป็นจำนวนมาก และพืชพรรณที่หายากหลายชนิด อีกทั้งยังเป็นแหล่งอาศัยของกวางผา สัตว์กีบคู่ประเภทเดียวกับเลียงผา ที่พบเพียงไม่กี่แห่งเท่านั้นในประเทศไทย[2]

อ้างอิง

แก้
  1. "เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว". สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 มีนาคม 2016.
  2. "ตะลุยธรรมชาติ". สารคดี, ไทยพีบีเอส. ศุกร์ที่ 16 พฤศจิกายน 2555.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้