เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่ ตั้งอยู่ในท้องที่อำเภอโนนดินแดงและอำเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่
ไอยูซีเอ็นกลุ่ม 4 (เขตบริหารสิ่งแวดล้อม)
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่
แผนที่แสดงที่ตั้งเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่
แผนที่แสดงที่ตั้งเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่
ตำแหน่งที่ตั้งในประเทศไทย
แผนที่แสดงที่ตั้งเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่
แผนที่แสดงที่ตั้งเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่ (ประเทศไทย)
ที่ตั้งอำเภอโนนดินแดงและอำเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์
พิกัด14°14′25.5″N 102°37′13.6″E / 14.240417°N 102.620444°E / 14.240417; 102.620444
พื้นที่340 ตารางกิโลเมตร
จัดตั้ง2539
หน่วยราชการกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
กลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ *
  แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก
ประเทศ ไทย
ภูมิภาค **เอเชียและแปซิฟิก
ประเภทมรดกทางธรรมชาติ
เกณฑ์พิจารณา(x)
อ้างอิง590
ประวัติการขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียน2548 (คณะกรรมการสมัยที่ 29)
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก
** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก

ประวัติ แก้

พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าดงใหญ่ เดิมมีเนื้อที่ 631,250 ไร่ เป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์แห่งสุดท้ายของจังหวัดบุรีรัมย์ และเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่สำคัญ ได้แก่ ห้วยลำนางรอง ห้วยลำปลายมาศ ซึ่งไหลหล่อเลี้ยงชีวิตชาวบุรีรัมย์และจังหวัดใกล้เคียงตลอดมา ถูกบุกรุกแผ้วถางยึดถือครองทำการเกษตรทำให้มีพื้นที่เหลือน้อยลงไปทุกที สำนักงานป่าไม้เขตนครราชสีมา ได้ส่งเจ้าหน้าที่ออกทำการสำรวจพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าดงใหญ่ เพื่อกั้นพื้นที่ให้เป็นป่าอนุรักษ์ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 และ 17 มีนาคม 2535 พบว่าสภาพป่าไม้มีความอุดมสมบูรณ์ มีสัตว์ป่าอาศัยอยู่อย่างชุกชุมและได้เสนอรายงานให้กรมป่าไม้จัดตั้งเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ต่อมากรมป่าไม้ได้ส่งเจ้าหน้าที่ที่ส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า ออกไปทำการสำรวจข้อมูลและควบคุมพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าดงใหญ่ เพื่อกำหนดให้เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่ จังหวัดบุรีรัมย์

พื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่ อยู่ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าดงใหญ่ ท้องที่ตำบลนางรอง ตำบลโนนดินแดง กิ่งอำเภอโนนดินแดง ตำบลโคกมะม่วง ตำบลหูทำนบ อำเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์ มีเนื้อที่ 212,500 ไร่ หรือประมาณ 340 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน โดยมีทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 348 ตัดผ่าน และรอบแนวเขต เป็นพื้นที่จัดสรรให้ราษฎรทำกินและอยู่อาศัยมีการตัดเส้นทางเข้าไปจนชิดแนวป่า ซึ่งง่ายต่อการบุกรุกถือครองพื้นที่ป่าไม้ ต่อมาทางราชการได้ดำเนินการอพยพย้ายราษฎรออกจากพื้นที่ป่า เพื่อให้เป็นที่อยู่อาศัย หลบภัย ขยายพันธุ์ และประกอบกิจกรรมของสัตว์ป่าโดยปลอดภัย ช่วยรักษาพันธุ์ไม้ชนิดต่าง ๆ ไว้ และยังช่วยรักษาแหล่งต้นน้ำลำธารซึ่งไหลหล่อเลี้ยงชีวิตประชาชนชาวบุรีรัมย์ให้คงอยู่ตลอดไป

เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อุทยานแห่งชาติทับลาน อุทยานแห่งชาติปางสีดา อุทยานแห่งชาติตาพระยา และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่ได้รับการประกาศให้เป็นแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติจากยูเนสโก ภายใต้ชื่อ "กลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่"

ลักษณะภูมิประเทศ แก้

พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าดงใหญ่ แบ่งพื้นที่เป็น 2 โซน คือโซน ก และโซน ข

  • โซน ก สภาพพื้นที่เป็นที่ราบสูง คือ มีภูเขาสูงทางด้านทิศตะวันตกและค่อย ๆ ลาดต่ำไปทางทิศตะวันออก มีระดับความสูงของพื้นที่จากระดับน้ำทะเลเฉลี่ยประมาณ 250–658 เมตร มียอดเขาทีสูงที่สุด ประมาณ 685 เมตร
  • โซน ข สภาพพื้นที่เป็นภูเขาสูง ตรงกลางพื้นที่ล้อมรอบด้วยป่าพื้นราบ มีระดับความสูงของพื้นที่จากระดับน้ำทะเลเฉลี่ยประมาณ 230–483 เมตร มียอดเขาสูงสุด คือ เขาเนินหิน มีความสูงประมาณ 483 เมตร

ลักษณะภูมิอากาศ แก้

สภาพภูมิอากาศ แบ่งออกเป็น 3 ฤดู คือ ฤดูร้อน, ฤดูหนาว, ฤดูฝน

  • ฤดูร้อน ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์–พฤษภาคม อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 24 องศาเซลเซียส
  • ฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายน–มกราคม
  • ฤดูฝน ระหว่างเดือนมิถุนายน–ตุลาคม

ความอุดมสมบูรณ์ แก้

ชนิดป่าและพันธุ์ไม้ แก้

สภาพพื้นที่ป่าส่วนใหญ่เป็นป่าดิบแล้ง มีไม้มีค่าทางเศรษฐกิจขึ้นอยู่ในพื้นที่เป็นจำนวนมาก เช่น ไม้มะค่าโมง, ไม้มะค่าแต้, ไม้ประดู่, ตะเคียนหิน, ยางนา, ชิงชัน, ตะเคียนทอง, พยุง, เคี่ยมคะนอง ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีไม้พื้นล่างและกล้วยไม้ชนิดต่าง ๆ อีกมากมาย เช่น เฟิร์นชนิดต่าง ๆ

สัตว์ป่า แก้

เนื่องจากพื้นที่นี้มีสภาพเป็นป่าดงดิบที่อุดมสมบูรณ์ มีพื้นที่กว้างขวาง แต่ในปัจจุบันพื้นที่ป่าถูกทำลายลงไปมากและสัตว์ป่าก็ถูกล่าไปมิใช่น้อย จากการเข้าไปสำรวจของเจ้าหน้าที่และได้รับการบอกเล่าว่า เมื่อประมาณ พ.ศ. 2535 ได้มีผู้พบเห็นกูปรีซึ่งเป็นสัตว์ป่าสงวนที่หายากมากชนิดหนึ่ง นอกจากนั้นยังพบเลียงผา ซึ่งก็เป็นสัตว์ป่าสงวนอีกชนิดหนึ่ง และยังมีสัตว์ป่าอีกหลายชนิดเป็นจำนวนมาก เช่น ตะกวด, ตะพาบน้ำ, นิ่ม, งูชนิดต่าง ๆ และนกชนิดต่าง ๆ ได้แก่ นกขุนทอง, นกเงือก, นกหัวขวาน, นกปรอด, เหยี่ยวรุ้ง, นกเป็ดแดง ซึ่งจากการสำรวจในปัจจับันพบแล้ว ประมาณ 130 ชนิด

จุดเด่นที่น่าสนใจ แก้

โป่งอีหล้า แหล่งน้ำ ได้แก่ บริเวณซับน้ำล้อม, ร้อยรู จุดชมวิวไก้ฟ้าผาแดง

สิ่งอำนวยความสะดวก แก้

เนื่องจากหน่วยงานของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่ เป็นหน่วยงานใหม่อยู่ระหว่างการควบคุมพื้นที่ยังไม่ได้ประกาศเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าที่สมบูรณ์ จึงไม่มีงบประมาณที่จะสร้างบ้านพักรับรองและสถานที่ศึกษาวิจัยสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ โดยส่วนรวมแล้วการศึกษาค้นคว้าวิจัยและทัศนะศึกษาทางธรรมชาติด้วยการเดินเท้าและพักโรงแรมด้วยการกางเต็นท์

การเดินทาง แก้

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่ อยู่ห่างจากจังหวัดบุรีรัมย์ ประมาณ 100 กิโลเมตร สามารถเดินทางไปได้ 2 เส้นทาง ได้แก่

  1. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 218 สายบุรีรัมย์–นางรอง ผ่านอำเภอปะคำ อำเภอโนนดินแดง
  2. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 348 หรือใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 219 สายบุรีรัมย์–ประโคนชัย ผ่านอำเภอละหานทราย อำเภอโนนดินแดง ก็ได้เช่นกัน

อ้างอิง แก้

  • [1] - เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่ จังหวัดบุรีรัมย์