เขตการปกครองของไต้หวัน

ไต้หวัน หรือเรียกในชื่อทางการว่า สาธารณรัฐจีน แบ่งเขตการปกครองตามกฎหมายออกเป็นหลายระดับ[1] เนื่องจากไต้หวันมีสถานะทางการเมืองที่ซับซ้อน ทำให้ระบบการแบ่งเขตการปกครองโดยนิตินัยเดิมที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ และระบบพฤตินัยที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ

ตามรัฐธรรมนูญ สาธารณรัฐจีนแบ่งออกเป็น มณฑล [zh] และนครปกครองโดยตรง โดยแต่ละมณฑลแบ่งออกเป็น นครภายใต้มณฑล และเทศมณฑล (อำเภอ) แต่ในปัจจุบัน มณฑลได้รับการปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพ และไม่มีบทบาทหน้าที่อีกต่อไป[2]

ด้วยความที่มณฑลไม่มีบทบาทหน้าที่ในทางปฏิบัติ ไต้หวันจึงมีการแบ่งเขตการปกครองระดับบนสุดออกเป็น 22 แห่ง โดยแต่ละแห่งจะมีรัฐบาลท้องถิ่นที่นำโดยหัวหน้าที่มาจากการเลือกตั้งและสภาท้องถิ่น งานที่รัฐบาลท้องถิ่นรับผิดชอบหรือรับผิดชอบบางส่วน ได้แก่ การบริการสังคม การศึกษา การวางผังเมือง การโยธาสาธารณะ การจัดการน้ำ การคุ้มครองสิ่งแวดล้อม การขนส่ง และความปลอดภัยสาธารณะ และเขตการปกครองระดับบนสุดจึงมีอยู่ด้วยกัน 3 ประเภท ได้แก่ นครปกครองโดยตรง นครภายใต้มณฑล และเทศมณฑล (อำเภอ) โดยที่ทั้งนครปกครองโดยตรงและนครภายใต้มณฑลจะแบ่งย่อยออกเป็นเขต ส่วนเทศมณฑลจะแบ่งย่อยออกเป็นเมือง ตำบล และนครภายใต้เทศมณฑล เขตการปกครองเหล่านี้สามารถปกครองตนเองได้ระดับหนึ่ง และมีหน่วยงานของรัฐที่มีผู้นำที่มาจากการเลือกตั้งและสภาท้องถิ่น ซึ่งจะแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบร่วมกันกับเทศมณฑล

เมื่อสาธารณรัฐจีนล่าถอยมายังไต้หวันในปี 1949 สาธารณรัฐจีนมีดินแดนที่อ้างสิทธิ์ซึ่งประกอบด้วย 35 มณฑล, 12 นครปกครองโดยตรง, 1 เขตปกครองพิเศษ และ 2 เขตปกครองตนเอง อย่างไรก็ตาม สาธารณรัฐจีนได้ควบคุมเพียงแค่มณฑลไต้หวัน และเกาะบางเกาะของมณฑลฝูเจี้ยนเท่านั้น นอกจากนี้ สาธารณรัฐจีนยังได้ควบคุมเกาะปราตัสและเกาะไท่ผิงในหมู่เกาะสแปรตลี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของหมู่เกาะทะเลจีนใต้ที่มีข้อพิพาท โดยหลังจากการถอยล่าไปไต้หวันของสาธารณรัฐจีน บรรดาเกาะดังกล่าวได้รับการกำหนดให้อยู่ภายใต้การบริหารของนครเกาสฺยง[3]

นับตั้งแต่ปี 1949 รัฐบาลได้ทำการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ภายใต้การควบคุม ได้แก่ ยกไทเปให้กลายเป็นนครปกครองโดยตรงในปี 1967 เช่นเดียวกับเกาสฺยงในปี 1979 และปรับปรุงการบริหารระดับมณฑลให้มีความคล่องตัวขึ้น โดยถ่ายโอนอำนาจหน้าที่ของมณฑลไปยังรัฐบาลกลาง (มณฑลฝูเจี้ยนในปี 1956 และมณฑลไต้หวันในปี 1998)[4] ในปี 2010 ได้มีการยกฐานะซินเป่ย์ ไถจง และไถหนาน ขึ้นเป็นนครปกครองโดยตรง และในปี 2014 ได้มีการยกฐานะเทศมณฑลเถายฺเหวียน ขึ้นเป็นนครปกครองโดยตรง การยกฐานะครั้งนี้ทำให้เขตการปกครองต่าง ๆ ที่กล่าวไปมีฐานะปัจจุบันเป็นเขตการปกครองระดับบนสุด[5]

ตามมาตรา 4 ของรัฐบัญญัติการปกครองส่วนท้องถิ่น กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับนครปกครองโดยตรงยังมีผลบังคับใช้กับเทศมณฑลที่มีประชากรเกิน 2 ล้านคนด้วย แม้ว่าในปัจจุบันบทบัญญัตินี้จะไม่ได้บังคับใช้กับเทศมณฑลใด ๆ ของไต้หวัน แต่ก็เคยบังคับใช้กับเทศมณฑลไทเป (ปัจจุบันคือนครซินเป่ย์) และเทศมณฑลเถายฺเหวียน (ปัจจุบันคือนครเถายฺเหวียน)

ประวัติศาสตร์ แก้

เมื่อประเทศจีนเปลี่ยนแปลงรูปแบบรัฐจากระบอบราชาธิปไตยเป็นระบอบสาธารณรัฐในปี 1912 นั้น พรรคชาตินิยม (國民黨 Guómíndǎng; Kuomintang) ได้เถลิงอำนาจในประเทศจีน เขตการปกครองยังคงเป็นเหมือนในสมัยราชาธิปไตย เวลานั้น ประเทศจีนมี

เฉพาะพื้นที่ไต้หวันปัจจุบันนั้นเดิมประกอบด้วย มณฑลไต้หวัน (臺灣省 Táiwān Shěng; Taiwan Province) และมณฑลฝูเจี้ยน (福建省 Fújiàn Shěng; Fujian Province)

ต่อมาในปี 1949 สงครามกลางเมืองส่งผลให้พรรคสังคมนิยม (共产党 Gòngchǎndǎng; Communist Party) ได้เป็นใหญ่ในประเทศจีน พรรคสังคมนิยมเปลี่ยนรูปแบบการปกครองจากระบอบประชาธิปไตยเป็นระบอบสังคมนิยม และเรียกประเทศเสียใหม่ว่า "สาธารณรัฐประชาชนจีน" พรรคชาตินิยมจึงหนีไปยังเกาะไต้หวัน และจัดตั้งการปกครองบนพื้นที่ไต้หวันแยกเป็นประเทศต่างหากจากสาธารณรัฐประชาชนจีน เรียกว่า "สาธารณรัฐจีน" แต่พรรคสังคมนิยมยังคงถือว่า พื้นที่ไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณรัฐประชาชนจีน กับทั้งสาธารณรัฐจีนเองก็ยังไม่เป็นที่ยอมรับของนานาชาติว่าเป็นประเทศเอกราชมาจนปัจจุบัน

สาธารณรัฐจีนนั้นชั้นแรกยังบริหารตามเขตการปกครองเดิม คือ มีมณฑลไต้หวัน กับมณฑลฝูเจี้ยน และมณฑลทั้ง 2 แบ่งออกเป็นเทศบาลมณฑล และเทศมณฑล กับทั้งมีเขตการปกครองพิเศษเรียกว่า เทศบาลพิเศษ อยู่ในสังกัด แต่ภายหลังมีการจัดระเบียบใหม่ ในช่วงปี 1967 ถึง 2010 มีการแยกเทศบาลพิเศษออกจากมณฑลเพื่อให้ปกครองตนเองโดยขึ้นตรงต่อรัฐบาลกลาง นอกจากนี้ ตั้งแต่ปี 1997 เป็นต้นมา มีการให้เทศบาลมณฑลกับเทศมณฑลปกครองตนเองโดยขึ้นตรงต่อรัฐบาลกลางเช่นกัน ไม่ปกครองผ่านมณฑลอีก แต่ยังคงสังกัดมณฑลอย่างเดิม ปัจจุบัน มณฑลจึงเหลืออยู่แต่ในนาม แต่ก็ยังมิได้ยุบเลิกไปเสียทีเดียว[6][7]

ดินแดน แก้

ในปี 1945 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สาธารณรัฐจีนได้ไต้หวัน (ฟอร์โมซา) และเผิงหู (เพสคาโดเรส) จากจักรวรรดิญี่ปุ่น ต่อมาในปี 1949 และ 1950 รัฐบาลสาธารณรัฐจีนที่นำโดยก๊กมินตั๋งแพ้สงครามกลางเมืองจีน จึงถอยไปตั้งรัฐบาลที่ไทเป ไต้หวัน รัฐบาลสาธารณรัฐจีนสูญเสียอำนาจปกครองเกือบทั้งหมดในจีนแผ่นดินใหญ่ โดยเหลือเพียงเกาะนอกชายฝั่งบางส่วนเท่านั้น

การเปลี่ยนแปลงเขตการปกครอง แก้

ข้างล่างนี้เป็นตารางสรุปการเปลี่ยนแปลงเขตการปกครองของไต้หวัน

ชื่อ หมายเหตุ
มณฑลฝูเจี้ยน เมืองหลวงของมณฑลย้ายจากฝูโจวมายังจินเฉิง เทศมณฑลจินเหมิน ในปี 1949 รัฐบาลมณฑลถูกลดขนาดลงในปี 1956 และยุบเลิกในปี 2019
มณฑลไต้หวัน เมืองหลวงของมณฑลย้ายจากไทเปมายังหมู่บ้านใหม่จงซิงในปี 1956 รัฐบาลมณฑลถูกลดขนาดลงในปี 1998 และยุบเลิกในปี 2018
นครเกาสฺยง เดิมเป็นนครภายใต้มณฑล ได้รับการยกฐานะเป็นนครปกครองโดยตรงในปี 1979 และในปี 2010 ได้ควบรวมเทศมณฑลเกาสฺยงเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของนครเกาสฺยง
นครซินเป่ย์ (นครไทเปใหม่) เดิมเป็นเทศมณฑลไทเป ได้รับการยกฐานะเป็นนครปกครองโดยตรงในปี 2010
นครไถจง ยกฐานะเป็นนครปกครองโดยตรงโดยการควบรวมนครไถจงกับเทศมณฑลไถจงในปี 2010
นครไถหนาน ยกฐานะเป็นนครปกครองโดยตรงโดยการควบรวมนครไถหนานกับเทศมณฑลไถหนานในปี 2010
นครไทเป เดิมเป็นนครภายใต้มณฑล ได้รับการยกฐานะเป็นนครปกครองโดยตรงในปี 1967
นครเถา-ยฺเหวียน เดิมเป็นเทศมณฑลเถา-ยฺเหวียน ได้รับการยกฐานะเป็นนครปกครองโดยตรงในปี 2014

การยกฐานะครั้งนี้ทำให้เขตการปกครองต่าง ๆ ดังกล่าวมีฐานะปัจจุบันเป็นเขตการปกครองระดับบนสุด ซึ่งได้แก่ มณฑลในนาม 2 แห่งที่ไม่มีอำนาจหน้าที่ในการบริหาร, นครปกครองโดยตรง 6 แห่ง, และเขตการปกครองที่อยู่ภายใต้มณฑล ได้แก่ เทศมณฑล 13 แห่ง และนคร 3 แห่ง[8]

ระบบปัจจุบัน แก้

ภาพรวมของเขตการปกครองของสาธารณรัฐจีน
สาธารณรัฐจีน
พื้นที่เสรี[ก] แผ่นดินใหญ่[ข]
นครปกครองโดยตรง[ค][ง] มณฑล[จ] ไม่ได้ปกครอง[ฉ]
นคร[ค][ง][ช] เทศมณฑล[ค]
เขต[ซ] เขต
ชนพื้นเมือง
ภูเขา
[ค]
เขต[ซ] นคร
ภายใต้
เทศมณฑล
[ค][ง]
เมือง[ค][ซ] ตำบล[ค][ซ] ตำบล
ชนพื้นเมือง
ภูเขา
[ค][ซ]
หมู่บ้านในเมือง[ด] หมู่บ้านชนบท[ด]
ละแวก
หมายเหตุ
  1. เรียกอีกอย่างว่า พื้นที่ไต้หวัน หรือ พื้นที่ไถ-หมิ่น (จีน: 臺閩地區; แปลตรงตัว: "เขตไต้หวัน–ฝูเจี้ยน")
  2. แผ่นดินใหญ่ในที่นี้ประกอบด้วย จีนแผ่นดินใหญ่ ทิเบต และมองโกเลียนอก (ก่อนหน้านี้)
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 3.6 3.7 มีฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติมาจากการเลือกตั้ง
  4. 4.0 4.1 4.2 นครปกครองโดยตรง, นคร, และนครภายใต้เทศมณฑล ทั้งหมดนี้ในภาษาจีนเรียกว่า ชื่อ (จีน: ; พินอิน: shì; แปลตรงตัว: "นคร")
  5. ปัจจุบันเป็นมณฑลในนาม การปกครองระดับมณฑลได้ถูกยกเลิกแล้ว
  6. จากรัฐธรรมนูญสาธารณรัฐจีน พื้นที่แผ่นดินใหญ่มีโครงสร้างการปกครองเดียวกันกับพื้นที่เสรี ซึ่งปัจจุบันอยู่ภายใต้การควบคุมของพรรคคอมมิวนิสต์จีน โดยมีโครงสร้างที่แตกต่างกับของสาธารณรัฐจีน
  7. บางครั้งก็เรียกว่า นครภายใต้มณฑล (จีน: 省轄市) เพื่อที่จะแยกความแตกต่างจาก นครปกครองโดยตรง และนครภายใต้เทศมณฑล
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 8.4 มีผู้อำนวยการเขตที่มาจากการแต่งตั้ง เพื่อบริหารจัดการกิจการท้องถิ่น และดำเนินงานที่ได้รับมอบหมายจากหน่วยงานที่สูงกว่า
  9. 9.0 9.1 มีผู้ใหญ่บ้านที่มาจากการเลือกตั้ง เพื่อบริหารจัดการกิจการท้องถิ่น และดำเนินงานที่ได้รับมอบหมายจากหน่วยงานที่สูงกว่า


นครปกครองโดยตรง เทศมณฑล และนครภายใต้มณฑล แก้

ปัจจุบันมีเขตการปกครองระดับบนสุดอยู่ 3 ประเภท จำนวนรวมทั้งสิ้น 22 แห่ง และบริหารโดยตรงโดยรัฐบาลกลาง (สภาบริหาร, Executive Yuan) ตามรัฐบัญญัติการปกครองท้องถิ่นของไต้หวัน เขตการปกครองที่มีประชากรมากกว่า 1.25 ล้านคน สามารถยกขึ้นเป็นนครปกครองโดยตรงได้ เขตการปกครองที่มีประชากรระหว่าง 0.5 ถึง 1.25 ล้านคน สามารถยกขึ้นเป็นนครได้ และเทศมณฑลที่มีประชากรมากกว่า 2 ล้านคน สามารถให้สิทธิพิเศษบางอย่างในการปกครองตนเองซึ่งออกแบบมาสำหรับนครปกครองโดยตรง

ชื่อ อักษรจีน พินอิน เป๊ะอวยจี จำนวน
    นครปกครองโดยตรง 直轄市 zhíxiáshì ti̍t-hat-chhī 6
    เทศมณฑล xiàn koān 13
    นคร shì chhī 3

เขตการปกครองทั้ง 22 แห่งเหล่านี้ได้รับการบังคับใช้โดยรัฐบัญญัติการปกครองท้องถิ่น ในฐานะองค์กรปกครองตนเองท้องถิ่น แต่ละแห่งมีฝ่ายบริหารของตนเองที่เรียกว่า "รัฐบาลนคร/รัฐบาลเทศมณฑล" และฝ่ายนิติบัญญัติของตนเองที่เรียกว่า "สภานคร/สภาเทศมณฑล" ทั้งนายกเทศมนตรีนคร ผู้ปกครองเทศมณฑล และสมาชิกสภานิติบัญญัติ ทั้งหมดนี้ได้รับการเลือกตั้งจากประชาชนภายใต้เขตอำนาจของตนทุกสี่ปี

  • นครปกครองโดยตรง 6 แห่ง, นครภายใต้มณฑล 3 แห่ง, และเทศมณฑล 10 แห่ง อยู่บนเกาะหลักไต้หวัน
นครปกครองโดยตรง เทศมณฑล นคร
นครเกาสฺยง
นครซินเป่ย์ (นครไทเปใหม่)
นครไถจง
นครไถหนาน
นครไทเป
นครเถา-ยฺเหวียน
เทศมณฑลจางฮว่า
เทศมณฑลเจียอี้
เทศมณฑลซินจู๋
เทศมณฑลฮวาเหลียน
เทศมณฑลเหมียวลี่
เทศมณฑลหนานโถว
เทศมณฑลผิงตง
เทศมณฑลไถตง
เทศมณฑลอี๋หลาน
เทศมณฑลยฺหวินหลิน
นครเจียอี้
นครซินจู๋
นครจีหลง

เมือง ตำบล นครภายใต้เทศมณฑล และเขต แก้

เขตการปกครองระดับบนสุดทั้ง 22 แห่ง แบ่งย่อยออกเป็น 368 เขตการปกครอง สามารถจัดประเภทได้ดังตารางข้างล่างนี้

ชื่อ อักษรจีน พินอิน เป๊ะอวยจี อยู่ภายใต้การปกครองของ มีอำนาจปกครองตนเอง จำนวน
ตำบลชนพื้นเมืองภูเขา 山地鄉 shāndì xiāng soaⁿ-tē hiong เทศมณฑล ใช่ 24
ตำบล xiāng hiong เทศมณฑล ใช่ 122
เมือง zhèn tìn เทศมณฑล ใช่ 38
นครภายใต้เทศมณฑล 縣轄市 xiànxiáshì koān-hat-chhī เทศมณฑล ใช่ 14
เขตชนพื้นเมืองภูเขา 原住民區 yuánzhùmín qū gôan-chū-bîn khu นครปกครองโดยตรง ใช่ 6
เขต khu นครปกครองโดยตรง
นครภายใต้มณฑล
ไม่ 164

เขตการปกครองระดับล่าง แก้

เขตการปกครองทั้ง 368 แห่ง แบ่งย่อยออกเป็นหมู่บ้านและละแวก

ชื่อ อักษรจีน พินอิน เป๊ะอวยจี อยู่ภายใต้การปกครองของ จำนวน
หมู่บ้านชนบท cūn chhun ตำบลชนพื้นเมืองภูเขา
ตำบล
7,835
หมู่บ้านในเมือง เมือง
นครภายใต้เทศมณฑล
เขตชนพื้นเมืองภูเขา
เขต
ละแวก lín lîn หมู่บ้านชนบท
หมู่บ้านในเมือง
147,877

ผู้ใหญ่บ้านจะได้รับการเลือกตั้งจากประชาชนที่อยู่ภายใต้เขตอำนาจของตนทุก ๆ สี่ปี และหัวหน้าละแวกจะได้รับการแต่งตั้งจากผู้ใหญ่บ้าน

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. Hwang, Jim (October 1999). "Gone with the Times". Taiwan Review. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-26. สืบค้นเมื่อ 2012-01-11.
  2. "Taiwan Provincial Government Official Website". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 January 2019. สืบค้นเมื่อ 21 October 2018.
  3. "World: Asia-Pacific Analysis: Flashpoint Spratly". BBC. 14 February 1999.
  4. Hwang, Jim (1 ตุลาคม 1999). "Gone with the Times". Taiwan Review. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2012. สืบค้นเมื่อ 13 เมษายน 2012.
  5. "中華民國國情簡介 政府組織". Taipei: Government Information Office. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 May 2012. สืบค้นเมื่อ 13 April 2012.
  6. "臺灣省政府功能業務與組織調整暫行條例 in Chinese". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-05-19. สืบค้นเมื่อ 2014-03-30.
  7. "Taiwan Review-Gone with the Times". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-25. สืบค้นเมื่อ 2014-03-30.
  8. 中華民國國情簡介 政府組織 เก็บถาวร 2012-05-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

แหล่งข้อมูลอื่น แก้