ไรเชอเนา (เยอรมัน: Reichenau) เป็นเกาะที่ตั้งอยู่กลางทะเลสาบคอนสแตนซ์ในประเทศเยอรมนี ประมาณพิกัดภูมิศาสตร์ 47°42′N 9°4′E / 47.700°N 9.067°E / 47.700; 9.067 ตัวเกาะตั้งอยู่ระหว่างกนาเดินเซและอุนเทอร์เซเกือบทางตะวันตกของเมืองคอนสแตนซ์ เกาะติดต่อกับแผ่นดินใหญ่ด้วยทาง (causeway) ที่สร้างเสร็จในปี ค.ศ. 1838 แต่ตัวเกาะก็ยังแยกจากทางที่ "Bruckgraben" ถึง 10 เมตรที่เป็นสะพานตื้นที่ให้เรือเล็กผ่านได้เท่านั้น จุดที่สูงที่สุดของเกาะอยู่ที่ "โฮควาร์ท" (Hochwart) ที่มีความสูง 438.7 เมตรหรือ 43 เมตรจากระดับน้ำในทะเลสาบ

แอบบีย์หลวงไรเชอเนา

Reichskloster Reichenau
? – ค.ศ. 1540 หรือ 1548
ไรเชอเนาในคอนสแตนซ์ และโบเดินเซ (เยอรมนีสีเหลือง, สวิตเซอร์แลนด์สีเขียว)
ไรเชอเนาในคอนสแตนซ์ และโบเดินเซ (เยอรมนีสีเหลือง, สวิตเซอร์แลนด์สีเขียว)
สถานะอิมพีเรียลแอบบีย์ของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
เมืองหลวงอารามไรเชอเนา
การปกครองเทวาธิปไตย
ยุคประวัติศาสตร์ยุคกลาง
• ก่อตั้ง
ค.ศ. 724
• ได้รับ "อิมพีเรียลอิมมีเดียซี" (Reichsfreiheit)
ไม่ทราบ
• ฐานะอธิปไตยเสียแก่
    ราชรัฐมุขนายกคอนสแตนซ์
 
ค.ศ. 1540 หรือ 1548 คริสต์ทศวรรษ 1540
 
ค.ศ. 1757–1803
ก่อนหน้า
ถัดไป
Duchy of Swabia ดัชชีชวาเบีย
รัฐมุขนายกคอนสแตนซ์ Bishopric of Constance
เกาะอารามไรเชอเนา
Monastic Island of Reichenau *
  แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก
อารามนักบุญเปโตรและเปาโล
ประเทศธงของประเทศเยอรมนี เยอรมนี
ประเภทมรดกทางวัฒนธรรม
เกณฑ์พิจารณา(iii) (iv) (vi)
ประวัติการขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียน2543 (คณะกรรมการสมัยที่ 24)
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก
** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก

ไรเชอเนาได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกโลกโดยยูเนสโกในปีค.ศ. 2000 ในฐานะมรดกทางวัฒนธรรม เพราะเป็นที่ตั้งของอาราม คือ "อารามไรเชอเนา" อาสนวิหารของแอบบีย์อุทิศให้แก่พระแม่มารีย์และนักบุญมาระโกผู้นิพนธ์พระวรสาร โบสถ์อีกสองแห่งอุทิศให้แก่นักบุญจอร์จ และนักบุญเปโตรและเปาโลอัครทูต งานศิลปะที่สำคัญของไรเชอเนาก็รวมทั้งงานจิตรกรรมฝาผนังสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาแบบออทโท (Ottonian Renaissance) ที่เป็นภาพปาฏิหาริย์ของพระเยซูภายในโบสถ์เซนต์จอร์จที่เป็นงานที่เขียนในคริสต์ศตวรรษที่ 10 ผู้ดูแลแอบบีพำนักอยู่ในบ้านสองชั้นที่เป็นบ้านแบบบ้านโครงไม้ (timber framing) ที่สร้างในคริสต์ศตวรรษที่ 14 ซึ่งเป็นบ้านโครงไม้ที่เก่าที่สุดในทางตอนใต้ของประเทศเยอรมนี

ในบรรดาที่ดินที่ไกล ๆ ที่เป็นของแอบบีย์ก็คือหมู่บ้านไรเชอเนา ที่เป็นหมู่บ้านของทามินส์ในรัฐเกราบึนเดิน (Graubünden) ในสวิตเซอร์แลนด์ที่ตั้งชื่อตามแอบบีย์

ในปัจจุบันไรเชอเนามีชื่อเสียงว่าเป็นบริเวณการเกษตรกรรมที่สำคัญในการปลูกผักและไร่องุ่น "วอลล์มาทิงเกอร์รีด" (Wollmatinger Ried) ติดกับเกาะเป็นบริเวณอนุรักษ์ธรรมชาติที่เป็นบริเวณที่เป็นหนอง (wetland) หญ้ารีด (reed) ที่เป็นที่หยุดพักของนกหลายพันธุ์ระหว่างการอพยพประจำปี

ประวัติ

แก้

ชื่อไรเชอเนาในภาษาเยอรมันแอเลแมนนิก (Alemannic German) คือ "Sindleozesauua" หรือเรียกสั้น ๆ ว่า "Ow", "Auua" หรือ "เกาะ" ที่แผลงเป็นภาษาละตินว่า "Augia" และต่อมา "Augia felix" หรือ "Augia dives" ที่กลายมาเป็น "Richenow" และ "Reichenau"

อารามไรเชอเนาของคณะเบเนดิกตินก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 724 โดยนักบุญเพียร์มินผู้ที่เชื่อกันว่าหนีมาจากสเปนก่อนการรุกรานของมัวร์ มาอยู่ภายใต้ผู้อุปถัมภ์ที่รวมทั้งชาร์ล มาร์แตล และที่ใกล้เคียงกว่าก็คือเคานต์เบอร์โทลด์แห่งอฮาลอฟิงเกน และดุ๊กแห่งชวาเบีย ฮนาบี แต่นักบุญเพอร์มินก็มามีข้อขัดแย้งกับผู้อุปถัมภ์จนต้องออกจากไรเชอเนาในปี ค.ศ. 727 ภายใต้การนำของไฮโทผู้ที่สืบต่อจากนักบุญเพอร์มินสำนักสงฆ์ก็เริ่มรุ่งเรืองขึ้น และมาได้รับอิทธิพลจากจักรวรรดิการอแล็งเฌียงภายใต้การนำของอธิการวัลโดแห่งไรเชอเนา (ค.ศ. 740–ค.ศ. 814) โดยการให้การให้การศึกษาแก่ข้าราชสำนักอธิการเรกินเบิร์ตแห่งไรเชอเนา (-ค.ศ. 846) ก็สร้างงานสะสมหนังสือที่สำคัญให้แก่ไรเชอเนา แอบบอตวาลาห์ฟริด สตราโบ (ค.ศ. 842–ค.ศ. 849) มีชื่อเสียงว่าเป็นกวีและผู้เชี่ยวชาญในภาษาละตินคนสำคัญ

ตัวแอบบีย์ตั้งอยู่ริมถนนสายเหนือ-ใต้ระหว่างเยอรมนีกับอิตาลีตรงบริเวณที่ทะเลสาบค่อยหายความลดเลี้ยวลง แอบบีแห่งไรเชอเนาเป็นที่ตั้งของสถานศึกษา และโรงคัดหนังสือ (scriptorium) และห้องสร้างงานศิลปะที่อ้างกันว่าเป็นสถานที่ใหญ่ที่สุดและมีอิทธิพลสำคัญที่สุดในการผลิตเอกสารตัวเขียนสีวิจิตรในยุโรประหว่างปลายคริสต์ศตวรรษที่ 10 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 11 เมื่อส่วนนี้ของสวิตเซอร์แลนต์เป็นของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ตัวอย่างงานที่สำคัญของโรงคัดหนังสือคือ "หนังสือบทพระวรสารเฮนรีที่ 2" (Pericopes of Henry II) ที่สร้างให้แก่จักรพรรดิไฮน์ริชที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ที่ปัจจุบันอยู่ที่มิวนิก ไรเชอเนายังคงรักษาเรลิกบางอย่างอยู่แช่นเหยือกที่เชื่อกันว่ามาจากงานสมรสที่หมู่บ้านคานา

แอบบีย์มารุ่งเรืองที่สุดในสมัยของอธิการเบอร์โนแห่งไรเชอเนา (ค.ศ. 1008–ค.ศ. 1048) ในช่วงเวลานั้นก็มีนักวิชาการคนสำคัญ ๆ เช่น เฮอร์มันนัส คอนแทรคทัสมาพำนักและทำงานอยู่ที่ไรเชอเนา ในครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 11 ความสำคัญในการเป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรมของไรเชอเนาก็เริ่มลดถอยลงเนื่องมาจากการปฏิรูปสมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 7 และความขัดแย้งกับอารามนักบุญกอลล์ที่ตั้งอยู่ไม่ไกลนัก ในปี ค.ศ. 1540 สังฆราชแห่งคอนสแตนซผู้เป็นศัตรูเก่าของแอบบอตแห่งไรเชอเนาก็ได้เป็นลอร์ดแห่งไรเชอเนา ต่อมาไรเชอเนาก็เริ่มเสื่อมโทรมลงเรื่อยๆ

เมื่อแอบบีถูกยุบครั้งแรกในปี ค.ศ. 1757 และต่อมาอย่างถาวรในปี ค.ศ. 1803 นักบวชก็ต้องสึกภายใต้จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ส่วนหนึ่งของห้องสมุดอันมีชื่อเสียงของแอบบีย์ก็ตกไปเป็นของหอสมุดของรัฐที่คาร์ลสรูเออ (Karlsruhe) "นักภูมิศาสตร์บาวาเรีย" (Geographus Bavarus) และงานอื่นๆ อาจจะตกไปเป็นของหอสมุดแห่งแคว้นบาวาเรียในมิวนิก ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2001 ก็ได้มีกลุ่มนักพรตคณะเบเนดิกตินกลับมาตั้งสำนักที่นีเดอร์เซลล์

อ้างอิง

แก้

ดูเพิ่ม

แก้


แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

  วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ เกาะไรเชอเนา   วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ โบสถ์เซนต์จอร์จ