เกาะนียัซ
นียัซ (อินโดนีเซีย: Nias) หรือ นีฮา (นียัซ: Niha) เป็นเกาะที่อยู่ทางฝั่งตะวันตกของเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย นียัซยังเป็นชื่อเรียกของกลุ่มเกาะนียัซ (อินโดนีเซีย: Kepulauan Nias) ซึ่งประกอบด้วยเกาะนียัซและหมู่เกาะฮีนาโก เกาะนียัซมีพื้นที่ 5,121.3 ตารางกิโลเมตร (รวมเกาะเล็ก ๆ นอกชายฝั่ง) ส่วนมากเป็นพื้นที่ลุ่ม อยู่เหนือระดับน้ำทะเล 800 เมตร มีประชากร 756,338 คน (รวมเกาะเล็ก ๆ นอกชายฝั่ง) จากสำมะโนประชากรในปี พ.ศ. 2553 ส่วนจำนวนประชากรที่มีการประมาณไว้ล่าสุดในเดือนมกราคม พ.ศ. 2557 คือ 788,132 คน[1]
ชื่อท้องถิ่น: Tanö Niha | |
---|---|
ภูมิศาสตร์ | |
ที่ตั้ง | เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ |
พิกัด | 1°6′N 97°32′E / 1.100°N 97.533°E |
พื้นที่ | 5,121.3 ตารางกิโลเมตร (1,977.3 ตารางไมล์) |
ระดับสูงสุด | 800 ม. (2600 ฟุต) |
จุดสูงสุด | ไม่มีชื่อ |
การปกครอง | |
อินโดนีเซีย | |
จังหวัด | สุมาตราเหนือ |
อำเภอ | นียัซ, นียัซใต้, นียัซเหนือ, นียัซตะวันตก |
ประชากรศาสตร์ | |
ประชากร | 788,132 คน (พ.ศ. 2557 จากสำมะโนประชากร) |
ความหนาแน่น | 147.8/กม.2 (382.8/ตารางไมล์) |
กลุ่มชาติพันธุ์ | ชาวนียัซ, ชาวมลายู, ชาวบาตัก และชาวจีน |
ภูมิศาสตร์
แก้เกาะนียัซนั้นตั้งอยู่ในแนวหมู่เกาะขนานชายฝั่งตะวันตกของเกาะสุมาตรา มีเกาะซีมือลูเออตั้งอยู่ห่างออกไปทางตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 140 กิโลเมตร (87 ไมล์) ส่วนหมู่เกาะบาตู (ซึ่งในทางบริหารเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอนียัซใต้และมีประชากรเชื้อสายใกล้เคียงกัน) ตั้งอยู่ห่างออกไปทางตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 80 กิโลเมตร (50 ไมล์)
การปกครอง
แก้เกาะนียัซเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดสุมาตราเหนือ กลุ่มเกาะนียัซประกอบด้วย 131 เกาะ โดยมีเกาะนียัซเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุด ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2557 เกาะนียัซมีประชากร 788,132 คน[1] โดยมีคนจากหลายเชื้อชาติ เช่น ชาวนียัซ (ชาวพื้นเมือง) มลายู บาตู และจีน
แผ่นดินไหวและสึนามิ
แก้ในวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ได้เกิดแผ่นดินไหวในมหาสมุทรอินเดีย โดยมีจุดศูนย์กลางทางตอนเหนือของเกาะเพียงไม่กี่กิโลเมตรทำให้เกิดแผ่นดินไหวและสึนามิสูง 10 เมตรเข้าถล่มชายฝั่งจนส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 122 คน และอีกหลายร้อยคนต้องไร้ที่พักอาศัย
แผ่นดินไหวอีกครั้งในวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2548 ได้เกิดแผ่นดินไหวขนาด 8.7 แมกนิจูดทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 800 ราย อาคารหลายร้อยแห่งพังถล่มลงมาและมีผู้ไร้ที่พักอาศัยหลายพันคน และยังทำให้ชายฝั่งของเกาะเปลี่ยนไป[2] ในปี พ.ศ. 2550 ซึ่งเป็นเวลา 2 ปีหลังจากเกิดแผ่นดินไหวนั้นก็ยังมีผู้ลี้ภัยอยู่ภายในค่ายจำนวนกว่าหลายหมื่นคน
แผ่นดินไหวทั้งสองครั้งได้รับการบันทึกว่าเป็นแผ่นดินไหวที่รุนแรงที่สุดในอินโดนีเซียนับตั้งแต่แผ่นดินไหวปี พ. ศ. 2443[3]
ระเบียงภาพ
แก้-
ครอบครัวบนเกาะ
-
นักรบ
-
บ้านชาวเกาะ (โอโมเซอบูวา)
-
งานแต่งงาน
-
รูปปั้นบรรพบุรุษชาวนียัซ
-
ชาวนียัซและชาวดัตช์
-
ครอบครัวชาวนียัซ
-
สถานที่บวงสรวง
-
เสื้อเกราะของชาวนียัซ
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 "Estimasi Penduduk Menurut Umur Tunggal Dan Jenis Kelamin 2014" (PDF) (ภาษาอินโดนีเซีย). Kementerian Kesehatan. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2014.
- ↑ Sieh, Kerry (1 มิถุนายน 2005). "A Geologist in the Field" (PDF). Discover Magazine. Caltech. สืบค้นเมื่อ มีนาคม 2014.
- ↑ "Largest Earthquakes in the World Since 1900". U.S. Geological Survey. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2010. สืบค้นเมื่อ 9 กรกฎาคม 2011.
บรรณานุกรม
แก้- Oktorino, Nino (2019). Seri Nusantara Membara: Invasi ke Sumatra (ภาษาอินโดนีเซีย). Jakarta: Elex Media Komputindo. ISBN 978-602-04-8798-4.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Nias Island Website เก็บถาวร 2020-08-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Nias Online เก็บถาวร 2020-09-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Nias Bangkit