เกาะเซนต์ลอว์เรนซ์

เกาะเซนต์ลอว์เรนซ์ (อังกฤษ: St. Lawrence Island; Central Siberian Yupik: Sivuqaq; รัสเซีย: Остров Святого Лаврентия, อักษรโรมัน: Ostrov Svyatogo Lavrentiya) เป็นเกาะทางทิศตะวันตกนอกชายฝั่งอะแลสกาในทะเลเบริง ไม่ไกลจากช่องแคบเบริง หมู่บ้านแกมเบลล์ที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของแหลมบนเกาะ อยู่ห่างจากคาบสมุทรชุกชีในรัสเซียตะวันออกไกล เกาะเป็นส่วนหนึ่งของอะแลสกา แต่ใกล้กับรัสเซียมากกว่าแผ่นดินใหญ่อะแลสกา คาดว่าเกาะเซนต์ลอว์เรนซ์เคยเป็นหนึ่งในสะพานแผ่นดิน ที่ทวีปเอเชียกับอเมริกาเหนือเชื่อมติดกันในสมัยไพลสโตซีน[1] เกาะในเป็นเกาะใหญ่เป็นอันดับ 6 ของสหรัฐอเมริกา และเป็นเกาะที่ใหญ่เป็นอันดับ 113 ของโลก ถือเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่ภูเขาไฟทะเลแบริง (Bering Sea Volcanic Province)[2] และหนูผีเซนต์ลอว์เรนซ์ (Sorex jacksoni) เป็นหนูผีชนิดที่พบได้เฉพาะบนเกาะนี้เท่านั้น[3]

เซนต์ลอว์เรนซ์
แผนที่ระยะใกล้ของเกาะเซนต์ลอว์เรนซ์
เซนต์ลอว์เรนซ์ตั้งอยู่ในรัฐอะแลสกา
เซนต์ลอว์เรนซ์
เซนต์ลอว์เรนซ์
ที่ตั้งในรัฐอะแลสกา
ภูมิศาสตร์
ที่ตั้งทะเลเบริง
พิกัด63°21′44″N 170°16′02″W / 63.36222°N 170.26722°W / 63.36222; -170.26722
พื้นที่1,791.56 ตารางไมล์ (4,640.1 ตารางกิโลเมตร)
ความยาว90 ไมล์ (140 กม.)
ความกว้าง22 ไมล์ (35 กม.)
จุดสูงสุดAtuk Mountain, 2,070 ฟุต (630 เมตร)
การปกครอง
สหรัฐ
รัฐอะแลสกา
เมืองใหญ่สุดSavoonga (ประชากร 835 - 2020 คน)
ประชากรศาสตร์
ประชากร1,475 (2020)
ความหนาแน่น0.32/กม.2 (0.83/ตารางไมล์)
กลุ่มชาติพันธุ์ชาวยูปิกไซบีเรีย

อ้างอิง แก้

  1. "Tools and Implements: St. Lawrence Island and the Bering Strait Region". University of Missouri-Columbia Museum of Anthropology. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-24. สืบค้นเมื่อ 2006-05-24.
  2. The 40Ar/39Ar chronology and eruption rates of Cenozoic volcanism in the eastern Bering Sea Volcanic Province, Alaska
  3. "Wildlife Notebook Series: Shrews". Alaska Department of Fish and Game.

ข้อมูล

แหล่งข้อมูลอื่น แก้