มีเกอลง (ฝรั่งเศส: Île Miquelon) หรือที่รู้จักในชื่อ กร็องด์มีเกอลง (ฝรั่งเศส: Grande Miquelon) เป็นหนึ่งในหมู่เกาะของกลุ่มเกาะแซ็งปีแยร์และมีเกอลง ซึ่งเป็นอาณานิคมโพ้นทะเลของประเทศฝรั่งเศสที่ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแอตแลนติก ห่างจากเกาะนิวฟันด์แลนด์ 22 กม. (14 ไมล์) ทั้งนี้ มีเกอลงตั้งอยู่ระหว่างเกาะเลอกัปทางทิศเหนือ และเกาะล็องกลาด (เรียกอีกอย่างว่าเปอติตมีเกอลง) ทางทิศใต้[2]

มีเกอลง
ชื่อท้องถิ่น:
Île Miquelon
เกาะมีเกอลงตอนกลาง ทางใต้ของเกาะเลอกัป และทางเหนือของเกาะล็องกลาด
มีเกอลงตั้งอยู่ในSaint Pierre and Miquelon
มีเกอลง
มีเกอลง
ภูมิศาสตร์
ที่ตั้งมหาสมุทรแอตแลนติก
พิกัด47°03′26.1″N 56°20′19.2″W / 47.057250°N 56.338667°W / 47.057250; -56.338667
กลุ่มเกาะแซ็งปีแยร์และมีเกอลง
แหล่งน้ำใกล้เคียงอ่าวเซนต์ลอว์เรนซ์
พื้นที่110 ตารางกิโลเมตร (42 ตารางไมล์)
จุดสูงสุดมอร์นเดอลากร็องด์มงตาญ (240 ม. (790 ฟุต))
การปกครอง
อาณานิคมโพ้นทะเลของประเทศฝรั่งเศสแซ็งปีแยร์และมีเกอลง
เทศบาลใหญ่สุดมีเกอลง-ล็องกลาด
ประชากรศาสตร์
เดมะนิมชาวมีเกอลง
ประชากร626 คน (ค.ศ. 2012)
ภาษาฝรั่งเศส
ข้อมูลอื่น ๆ
เว็บไซต์ทางการhttp://www.miquelon-langlade.com

ภูมินามวิทยา แก้

ชื่อมีเกอลงได้รับการอ้างว่าแผลงมาจากชื่อเล่นของชื่อ "มิเกล" (Mikel) ในภาษาบาสก์ ใน ค.ศ. 1579 ชื่อ มีเกอตง และ มีแกล ได้ปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรกตามการระบุโดยนักบินทางทะเลที่ชื่อมาร์แต็ง เดอ โอยาร์ซาบาล ซึ่งเป็นชาวบาสก์เชื้อสายฝรั่งเศส โดยชื่อนี้ค่อย ๆ วิวัฒนาการขึ้นเมื่อเวลาผ่านไปเป็น มีกลง และในที่สุดเป็น มีเกอลง (มิเกลูเน ในภาษาบาสก์)[1][3]

ภูมิศาสตร์ แก้

แนวชายฝั่งของมิเกอลงมีทั้งหาดทรายและกรวดจำนวนมากที่ล้อมรอบลากูน เช่นเดียวกับหน้าผาหินสูงตระหง่านถึง 25 ม. (82 ฟุต) บนชายฝั่งตะวันออก ในทางธรณีวิทยาของมันประกอบด้วยหินภูเขาไฟยุคหลังยุคออร์โดวิเชียนที่เปลี่ยนรูปเล็กน้อย ส่วนใหญ่เป็นหินไรโอไลต์ที่มีหินกรวดเหลี่ยม, หินแอนดีไซต์ และหินบะซอลต์ ส่วนทางตอนใต้ของเกาะมีเกอลงคือกร็องบาราชัว ที่เป็นลากูนขนาดใหญ่ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของแมวน้ำและความหลากหลายทางชีวภาพอื่น ๆ ตลอดจนเกาะมีเกอลงยังเป็นจุดหมายปลายทางที่รู้จักกันดีสำหรับการดูนกเช่นกัน[2]

เกาะมีเกอลงเชื่อมต่อกับเกาะเลอกัปด้วยสันดอนเชื่อมเกาะยาว 3 กม. (1.9 ไมล์) และกว้างน้อยกว่า 100 ม. (330 ฟุต) ส่วนเกาะมีเกอลงทางใต้เชื่อมต่อกับเกาะล็องกลาดด้วยคอคอดที่ก่อตัวขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ซึ่งมีความยาว 12 กม. (7.5 ไมล์) และกว้าง 6 ถึง 100 ม. (20 ถึง 328 ฟุต)[1]

ขณะที่เกาะแซ็งปีแยร์อยู่ตรงข้ามช่องแคบที่อันตรายและมีหมอกยาว 6 กม. (3.7 ไมล์) ซึ่งชาวประมงเรียกว่า "ปากนรก" (ฝรั่งเศส: La Gueule de L'Enfer) ซึ่งเป็นที่ตั้งของซากเรืออับปางกว่า 600 ลำ[1][4]

ภูมิอากาศ แก้

สภาพภูมิอากาศเป็นแบบฉบับของมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือและกระแสน้ำแลบราดอร์โดยมีพายุและลมแรงกว่า 60 กม./ชม. (37 ไมล์/ชม.) บ่อยครั้งเป็นเวลาเกือบหกเดือนของปี ส่วนฤดูร้อนมีอากาศเย็นและมีหมอกหนา อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ 5.5 องศาเซลเซียส (41.9 องศาฟาเรนไฮต์)[2]

ประชากร แก้

เกาะมีเกอลงประกอบด้วยเทศบาลมีเกอลง-ล็องกลาด ซึ่งมีประชากร 626 คนใน ค.ศ. 2012 ส่วนท่าอากาศยานมีเกอลงให้บริการประชาชนด้วยเครื่องบินเทอร์โบหรือเครื่องบินไอพ่นขนาดเล็ก ผู้อยู่อาศัยส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเมืองที่เรียกว่ามีเกอลง ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเกาะใกล้กับเกาะเลอกัป ผู้อยู่อาศัยรู้จักกันในฐานะชาวมีเกอลง และเป็นพลเมืองของฝรั่งเศส[5]

ระเบียงภาพ แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 St. Pierre & Miquelon Business Law Handbook: Strategic Information and Laws (ภาษาอังกฤษ). International Business Publications. p. 26. ISBN 9781438771090. สืบค้นเมื่อ 16 November 2016.
  2. 2.0 2.1 2.2 Bird, Eric. Encyclopedia of the World's Coastal Landforms (ภาษาอังกฤษ). Springer Science & Business Media. pp. 163–165. ISBN 9781402086380. สืบค้นเมื่อ 16 November 2016.
  3. "1579 – Voyages Avantureux, Martin de Hoyarçabal". Grand Colombier. สืบค้นเมื่อ 16 November 2016.
  4. Les Français peints par eux-mêmes: encyclopédie morale du dix-neuvième siècle (ภาษาฝรั่งเศส). L. Curmer. 1840. p. 640. สืบค้นเมื่อ 16 November 2016.
  5. Edward, David A. O.; Lane, Robert (2013). Edward and Lane on European Union Law (ภาษาอังกฤษ). Edward Elgar Publishing. p. 81. ISBN 9780857931054. สืบค้นเมื่อ 16 November 2016.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้