เกาะปริ่มน้ำ
เกาะปริ่มน้ำ เป็นเกาะเล็กที่มีทรายกองบนพื้นผิวของแนวปะการังสูงเหนือระดับน้ำทะเลเล็กน้อย สามารถเกิดขึ้นในบริเวณที่มีอากาศร้อนทั้งในมหาสมุทรแปซิฟิก, มหาสมุทรอินเดีย, มหาสมุทรแอตแลนติก (รวมทั้งในทะเลแคริบเบียนและแนวปะการังเกรตแบร์ริเออร์รีฟและเบลีซแบร์ริเออร์รีฟ)
การก่อตัวและส่วนประกอบ
แก้เกาะปริ่มน้ำเกิดขึ้นเมื่อกระแสน้ำมหาสมุทรนำพาตะกอนมาสะสมบริเวณแนวปะการังจากนั้นตะกอนก็จะค่อย ๆ สะสมและก่อตัวขึ้นบนผิวหน้าของแนวปะการัง[1][2] บางครั้งตะกอนเหล่านี้ก็จะเกิดขึ้นบริเวณที่มีลมพัดพานำตะกอนมาสะสม
ส่วนมากตะกอนบนเกาะจะเป็นตะกอนชนิดเดียวกัน ซึ่งอาจเป็นซากปะการัง หรือซากกระดูกสัตว์ที่มาจากรอบ ๆ เกาะ[3] หากเกาะนี้ส่วนมาประกอบด้วยทรายจะเรียกว่าคีย์แต่หากเกาะนั้นส่วนมากประกอบด้วยกรวดจะเรียกว่าโมตู (motu)
ตะกอนจะประกอบด้วยแคลเซียมคาร์บอเนต (CaCO3) ส่วนใหญ่อยู่ในรูปอะราโกไนต์ แคลไซต์ และแมกนีเซียมแคลไซต์ ซึ่งมาจากกะละปังหา สาหร่ายใบมะกรูด ปะการัง สัตว์จำพวกมอลลัสกา ฟอรามินิเฟอรา และยังมีตะกอนซิลิเกตจากซากฟองน้ำและอื่น ๆ[4][5][6][7] และเมื่อเวลาผ่านไปดินและพืชผักจะค่อย ๆ เกิดขึ้นบนผิวเกาะ รวมถึงจะค่อย ๆ มีปุ๋ยขี้นกสะสมตัวขึ้น
อ้างอิง
แก้- ↑ Hopley, D. (1981). "Sediment movement around a coral cay, Great Barrier Reef, Australia". Pacific Geology. 15: 17–36.
- ↑ Gourlay, M.R. (1988) "Coral cays: products of wave action and geological processes in a biogenic environment" pp. 497–502. In Choat, J.H. et al. (eds.) Proceedings of the 6th International Coral Reef Symposium: Vol. 2: Contributed Papers. Townsville, Australia.
- ↑ Hopley, D. (1982) The Geomorphology of the Great Barrier Reef – Quaternary Development of Coral Reefs. Wiley-Interscience Publication, John Wiley and Sons Ltd., New York, ISBN 0471045624.
- ↑ Chave, K. (1964) "Skeletal Durability and Preservation". In: J. Imbrie and N. Newell (Eds.), Approaches to Palaeoecology. John Wiley and Sons Inc., Sydney.
- ↑ Folk, R.; Robles, P. (1964). "Carbonate sands of Isla Perez, Alacran Reef Complex, Yucatan". Journal of Geology. 72 (3): 255–292. doi:10.1086/626986. JSTOR 30075161.
- ↑ Scoffin, T.P. (1987) Introduction to Carbonate Sediments and Rocks. Blackwell, Glasgow, ISBN 0216917891.
- ↑ Yamano, H., Miyajima, T. and Koike, I. (2000). "Importance of foraminifera for the formation and maintenance of a coral sand cay: Green Island, Australia". Coral Reefs. 19: 51. doi:10.1007/s003380050226.
{{cite journal}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)