เกรียร์ การ์สัน

เกรียร์ การ์สัน, ซีบีอี (อังกฤษ: Greer Garson; 29 กันยายน ค.ศ. 1904 – 6 เมษายน ค.ศ. 1996) เป็นนักแสดงและนักร้องชาวอังกฤษ มีชื่อเสียงจากภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เธอถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ สาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยมถึงเจ็ดครั้ง รวมถึงถูกเสนอชื่อติดต่อกันถึงห้าครั้ง (1941–1945) และได้รับรางวัลจากการแสดงในภาพยนตร์เรื่อง กุหลาบแห่งความดี (1942)[1] เธอยังถูกบันทึกบนบันทึกสถิติโลกกินเนสส์ในหัวข้อ "การกล่าวสุนทรพจน์ในการรับรางวัลออสการ์ที่ยาวนานที่สุด"[2] ด้วยเวลา 5 นาที 30 วินาที[3]

เกรียร์ การ์สัน

ภาพประชาสัมพันธ์ของการ์สันในคริสต์ทศวรรษ 1940
เกิดไอลีน อีฟลีน เกรียร์ การ์สัน
29 กันยายน ค.ศ. 1904(1904-09-29)
แมเนอร์พาร์ก อีสต์แฮม เอสเซกซ์ อังกฤษ
เสียชีวิต6 เมษายน ค.ศ. 1996(1996-04-06) (91 ปี)
แดลลัส รัฐเท็กซัส สหรัฐ
พลเมืองสหราชอาณาจักร (1904–1996)
สหรัฐ (1951–1996)
ศิษย์เก่าคิงส์คอลเลจลอนดอน
มหาวิทยาลัยเกรโนเบิล
อาชีพ
  • นักแสดง
  • นักร้อง
  • นักสังคมสงเคราะห์
ปีปฏิบัติงาน1932–1986
คู่สมรส

การ์สันเสียชีวิตเมื่อวันที่ 6 เมษายน ค.ศ. 1996 ด้วยภาวะหัวใจล้มเหลว[4] เธอยังมีชื่อบนดวงดาวในฮอลลีวูดวอล์กออฟเฟม อยู่ที่ 1651 ไวน์สตรีต ในลอสแอนเจลิส และเป็นนักแสดงคนสำคัญของเมโทร-โกลด์วิน-เมเยอร์

ชีวิตช่วงแรก แก้

เกรียร์ การ์สัน เกิดเมื่อวันที่ 29 กันยายน ค.ศ. 1904[5] ที่แมเนอร์พาร์กในอีสต์แฮม (ซึ่งต่อมาอยู่ในเอสเซกซ์ ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของลอนดอน) เธอเป็นบุตรเพียงคนเดียวของแนนซี โซเฟีย "นีนา" (สกุลเดิม เกรียร์; 1880–1958) และจอร์จ การ์ซัน (1865–1906) เสมียนในธุรกิจนำเข้าของลอนดอน บิดาของเธอเกิดที่ลอนดอน และเป็นบุตรของชาวสกอตแลนด์[5] มารดาของเธอ เกิดที่ดรูมาลอร์ ซึ่งเป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ ใกล้กับเบลเทอร์เบ็ตในเทศมณฑลคาวาน ประเทศไอร์แลนด์[6] ชื่อ เกรียร์ เกิดจากการตัดชื่อของแม็กเกรเกอร์ ซึ่งเป็นอีกนามสกุลหนึ่ง[7]

ปู่ของเธอ เดวิด เกรียร์ (ป. 1848–1913) เคยเป็นสิบเอกของกองกำลังตำรวจไอริชในคาสเซิลเวลลัน เทศมณฑลดาวน์ ต่อมาในคริสต์ทศวรรษ 1870 หรือ 1880 เขาได้กลายเป็นคนรับใช้ของตระกูลแอนเนสลีย์ที่สร้างเมืองคาสเซิลเวลลัน ระหว่างที่ทำงานที่นั่น เขาปลีกตัวไปพักอาศัยในบ้านหลังใหญ่ที่ชื่อว่า "แคลร์เมาต์" ซึ่งสร้างบนพื้นที่ราบต่ำที่รู้จักกันในชื่อพิกสตรีตหรือแบ็กเวย์ ใกล้กับชิลลีเดยส์บิลเดอส์ยาร์ด มีข้อมูลบางแหล่งรายงานผิดพลาดว่าเกรียร์ การ์สัน เกิดที่นั่น (สารานุกรมภาพยนตร์นานาชาติเดอะแม็กมิลลัน ให้ข้อมูลว่าเธอเกิดที่เทศมณฑลดาวน์ และเกิดปี 1908)[8]

การ์สันเรียนภาษาฝรั่งเศสและวรรณกรรมสมัยศตวรรษที่ 18 ที่คิงส์คอลเลจลอนดอน และศึกษาในระดับสูงกว่าปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยเกรโนเบิล เธอมีความตั้งใจอยากเป็นนักแสดง และเธอได้รับเลือกให้เป็นหัวหน้าห้องสมุดวิจัยลินตัสของแผนกการตลาดบริษัทเลเวอร์บราเทอส์ เพื่อนร่วมงานของเธอ จอร์จ แซนเดอส์ เขียนในอัตชีวประวัติของเขาว่า การ์สันแนะนำให้เขาเป็นนักแสดง[9][10]

ผลงานภาพยนตร์ แก้

ปี ชื่อ บทบาท รายละเอียดเพิ่มเติม
1939 ลาก่อนครูชิปส์ แคเทอรีน ชิปปิง เสนอชื่อเข้าชิง – รางวัลออสการ์ สาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม
Remember? ลินดา บรอนสัน ฮอลแลนด์
1940 Miracle of Sound, TheThe Miracle of Sound ตนเอง
สาวทรงเสน่ห์ เอลิซาเบธ เบนเน็ต
1941 Blossoms in the Dust เอ็ดนา แกลดนีย์ เสนอชื่อเข้าชิง – รางวัลออสการ์ สาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม
When Ladies Meet แคลร์ วูดรัฟ
1942 กุหลาบแห่งความดี เคย์ มินิเวอร์ รางวัลออสการ์ สาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม
ผู้หญิงหัวใจสุดแกร่ง พอลลา ริดจ์เวย์
1943 Youngest Profession, TheThe Youngest Profession ตนเอง
Madame Curie มารี กูว์รี เสนอชื่อเข้าชิง – รางวัลออสการ์ สาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม
1944 Mrs. Parkington ซูซี "สแปร์โรว์" พาร์กซิงตัน เสนอชื่อเข้าชิง – รางวัลออสการ์ สาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม
1945 Valley of Decision, TheThe Valley of Decision แมรี ราสเฟอร์ตี เสนอชื่อเข้าชิง – รางวัลออสการ์ สาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม
Adventure เอมิลี เซียส์
1947 Desire Me มารี โอแบร์
1948 Julia Misbehaves จูเลีย แพตเกต
1949 That Forsyte Woman ไอรีน ฟอร์ไซต์
1950 Screen Actors ตนเอง เรื่องสั้น, ไม่ได้เครดิต
Miniver Story, TheThe Miniver Story เคย์ มินิเวอร์
1951 The Law and the Lady เจน ฮอสกินส์
1953 Scandal at Scourie วิกตอเรีย แม็กเชสนีย์
จูเลียส ซีซาร์ แคลเปอร์เนีย
1954 Her Twelve Men แจน สจวร์ต
1955 Strange Lady in Town ดร. จูเลีย วินสโลว์ การ์ธ
1956 The Little Foxes เรยีนา กิดเดนส์ ภาพยนตร์โทรทัศน์
1960 Sunrise at Campobello เอเลนอร์ โรสเวลต์ รางวัลลูกโลกทองคำ สาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม – ภาพยนตร์ดรามา,
คณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์แห่งชาติ สาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม,
เสนอชื่อเข้าชิง – รางวัลออสการ์ สาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม
Pepe ตนเอง
Captain Brassbound's Conversion คุณหญิงซิเซลี เวนฟลิต ภาพยนตร์โทรทัศน์
1963 Invincible Mr. Disraeli แมรี แอน ดิสราเอลี
1966 Singing Nun, TheThe Singing Nun เจ้าหญิงมาเธอร์
1967 Happiest Millionaire, TheThe Happiest Millionaire คอร์ดีเลีย บิดเดิล
1968 The Little Drummer Boy ผู้บรรยายเรื่อง
1974 Crown Matrimonial พระราชินีแมรี ภาพยนตร์โทรทัศน์
1976 The Little Drummer Boy, Book II ผู้บรรยายเรื่อง
1978 สี่ดรุณี แคทริน มาร์ช
1986 Directed by William Wyler ตนเอง สารคดี

อ้างอิง แก้

  1. "Persons With Acting Nominations in 3 or More Consecutive Years" (PDF). Academy of Motion Picture Arts and Sciences. 2018-03-01. สืบค้นเมื่อ 2018-08-15.
  2. Robertson, Patrick (1988). Guinness Movie Facts & Feats (ภาษาอังกฤษ). Guinness Books. ISBN 978-0-85112-899-3.
  3. "The Longest Acceptance Speech". Infoplease. สืบค้นเมื่อ 29 April 2007.
  4. Zuniga, Janine (6 April 1996). "Actress Greer Garson Dies After Lengthy Illness". AP. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 September 2019. สืบค้นเมื่อ 30 September 2019.
  5. 5.0 5.1 Troyan, p. 8.
  6. Troyan, p. 10.
  7. Troyan, p. 9.
  8. Ephraim Katz, The Macmillan International Film Encyclopedia (1994)
  9. Sanders, George (1960). Memoirs of a Professional Cad. Hamish Hamilton. p. 54.
  10. Michael Troyan (12 September 2010). A Rose for Mrs. Miniver: The Life of Greer Garson. University Press of Kentucky. pp. 21–22. ISBN 978-0-8131-2842-9.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้