เกย์ไพรด์
เกย์ไพรด์ (อังกฤษ: Gay pride) หรือ แอลจีบีทีไพรด์ (อังกฤษ: LGBT pride) เป็นการสนับสนุนการยอมรับตัวเอง (self-affirmation), ความมีเกียรติ (dignity), ความเท่าเทียม (equality) และการสร้างการรับรู้ (increased visibility) ของ ชาวรักร่วมเพศ, ชาวรักสองเพศ และชาวข้ามเพศ (LGBT) ในฐานะความเป็นกลุ่มทางสังคม "ไพรด์" ในฐานะคู่ตรงข้ามของความน่าละอาย (shame) และบาดแผลทางสังคม (social stigma) เป็นภาพหลักที่ช่วยส่งเสริมการเคลื่อนไหวเรียกร้องสิทธิของมีความหลากหลายเพศ (LGBT rights) อย่างแพร่หลาย คำว่าไพรด์ จึงกลายเป็นเหมือนชื่อของความภาคภูมิใจของบรรดาบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ ปรากฏใช้ทั้งในชื่อของหน่วยงาน องค์กร หนังสือ วารสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ เช่น ไพรด์ไลบรารี (Pride Library)
กิจกรรมไพรด์นั้นมีตั้งแต่ลักษณะตึงเครียดไปจนถึงงานรื่นเริง โดยส่วนมากมักจัดระหว่างช่วงเดือนไพรด์ (LGBT Pride Month) หรือตามโอกาสต่าง ๆ ที่ระลึกถึงจุดเปลี่ยนในประวัติศาสตร์ความหลากหลายทางเพศในชาตินั้น ๆ เช่น มอสโกไพรด์ (Moscow Pride) ในเดือนพฤษภาคมซึ่งเป็นการฉลองการครบรอบการยกเลิกกฎหมายว่าด้วยการรักร่วมเพศเป็นสิ่งผิดกฎหมายเมื่อพฤษภาคม 1993
สัญลักษณ์ทั่วไปของไพรด์คือธงสายรุ้ง, อักษรกรีกพิมพ์เล็ก แลมบ์ดา (λ), สามเหลี่ยมชมพู และ สามเหลี่ยมดำ สัญลักษณ์สองประการที่ยกมานั้นถูกนำมาเปลี่ยนความหมาย (reappropriated) ใหม่จากการใช้ในฐานะเครื่องหมายแห่งความน่าละอาย (badges of shame) ในค่ายกักกันของนาซี[4]
เดือนไพรด์
แก้เดือนมิถุนายนของทุกปีเป็นเดือนไพรด์ของชาว LGBT (LGBT Pride Month) เพื่อเป็นการระลึกถึงเหตุการณ์จลาจลสโตนวอลล์ ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงปลายเดือนมิถุนายน 1969 ตลอดเดือนมิถุนายน ทั่วโลกจึงมีการจัดกิจกรรมไพรด์ต่าง ๆ ขึ้น เพื่อย้ำเตือนถึงบทบาทของชาว LGBT ทั่วโลก นักกิจกรรมไบเซ็กชวล เบรนดา ฮอเวิร์ด (Brenda Howard) ได้รับการขนานนามว่าเป็น "มารดาแห่งไพรด์" ("Mother of Pride") ด้วยผลงานของเธอในการประสานงานจัดการเดินขบวนไพรด์ (LGBT Pride march) ครั้งแรก และยังเป็นต้นคิดของแนวคิดการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ของวันไพรด์เดย์ (Pride Day) ที่ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของการเฉลิมฉลองไพรด์ที่จัดกันทั่วโลกทุก ๆ เดือนมิถุนายน[5][6] นอกจากนี้ฮอวาร์ดและนักกิจกรรมไบเซ็กชวล รอเบิร์ต เอ มาร์ติน (Robert A. Martin) หรือที่รู้จักในนามดอนนี่ เดอะ พังก์ (Donny the Punk) และนักกิจกรรมเกย์ แอ็ล. เครก ชูนมาเกอร์ (L. Craig Schoonmaker) ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้ทำให้คำว่า "ไพรด์" เป็นที่นิยม (popularising) เพื่อใช้ในการแทนกิจกรรมต่าง ๆ เหล่านี้[7][8][9][10][9]
มีประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาสองคนที่เคยประกาศเดือนไพรด์อย่างเป็นทางการ คือบิลล์ คลินตัน ซึ่งประกาศให้มิถุนายนเป็นเดือน "ไพรด์ของเกย์และเลสเบี้ยน" ("Gay & Lesbian Pride Month") ในปี 1999[11] และปี 2000[12] และในปี 2009 ถึง 2016 ในแต่ละปี บารัค โอบามา ได้ประกาศให้มิถุนายนเป็นเดือนไพรด์ของ LGBT (LGBT Pride Month) ตลอดวาระการเป็นประธานาธิบดีของเขา[13] ส่วนดอนัลด์ ทรัมป์ เป็นประธานาธิบดีจากพรรครีพับบลิกันคนแรกที่รับรู้การมีอยู่ของเดือนไพรด์ในปี 2019 ผ่านการทวีตข้อความ ไม่ได้ผ่านการประกาศอย่างเป็นทางการ (proclamation) เหมือนที่ประธานาธิบดีทั้งสองคนที่ผ่านมาเคยทำ[14]
ดูเพิ่ม
แก้- วันถนนคริสโตเฟอร์ (Christopher Street Day)
- สภาว่าด้วยศาสนากับบุคคลรักร่วมเพศ (Council on Religion and the Homosexual)
- ยูโรไพรด์ (Europride)
- InterPride / IALGPC
- รายชื่อกิจกรรม LGBT
- เสาร์ซาวเอ็ด
อ้างอิง
แก้- ↑ "History of the LGBT rainbow flag on its 37th anniversary". New York Daily News. 2015. สืบค้นเมื่อ 25 November 2018.
- ↑ Morgan, Thad (June 2, 2017). "How Did the Rainbow Flag Become an LGBT Symbol?". History Network. A&E Networks. สืบค้นเมื่อ 25 November 2018.
- ↑ Van Niekerken, Bill (June 22, 2018). "A history of gay rights in San Francisco". San Francisco Chronicle. สืบค้นเมื่อ 25 November 2018.
- ↑ "Symbols of the Gay, Lesbian, Bisexual, and Transgender Movements". Lambda. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 16, 2007. สืบค้นเมื่อ July 30, 2007.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อthirteen.org
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อqueerty.com
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อPride trope, Homolexis
- ↑ Donaldson, Stephen (1995). "The Bisexual Movement's Beginnings in the 70s: A Personal Retrospective". In Tucker, Naomi (ed.). Bisexual Politics: Theories, Queries, & Visions. New York: Harrington Park Press. pp. 31–45. ISBN 1-56023-869-0.
- ↑ 9.0 9.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อMoor-2019
- ↑ Donaldson, Stephen (1995). "The Bisexual Movement's Beginnings in the 70s: A Personal Retrospective". In Tucker, Naomi (ed.). Bisexual Politics: Theories, Queries, & Visions. New York: Harrington Park Press. pp. 31–45. ISBN 1-56023-869-0.
- ↑ Clinton, Bill (11 June 1999). "Proclamation 7203 — Gay and Lesbian Pride Month, 1999". Presidential Proclamation. สืบค้นเมื่อ 8 July 2019.
- ↑ Clinton, Bill (2 June 2000). "Proclamation 7316 — Gay and Lesbian Pride Month, 2000". Presidential Proclamation. สืบค้นเมื่อ 8 July 2019.
- ↑ Estepa, Jessica (June 1, 2017). "President Trump hasn't declared June as Pride Month – at least, not yet". USA Today (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ March 12, 2019.
- ↑ Posted on May 31, 2019, at 5:04 p.m. ET (2019). "Trump Marks Pride Month While Attacking LGBT Rights". Buzzfeednews.com. สืบค้นเมื่อ 2019-06-03.
{{cite web}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
บรรณานุกรม
แก้- Alwood, Edward (1996), Straight News: Gays, Lesbians, and the News Media, Columbia University Press, New York (ISBN 0-231-08436-6).
- Carter, David (2004), Stonewall: The Riots That Sparked the Gay Revolution, St. Martin's Press (ISBN 0-312-34269-1).
- Duberman, Martin (1993), Stonewall Dutton, New York (ISBN 0-452-27206-8).
- Loughery, John (1998), The Other Side of Silence – Men's Lives and Gay Identities: A Twentieth-Century History, New York, Henry Holt and Company (ISBN 0-8050-3896-5).
- Marotta, Toby (1981), The Politics of Homosexuality, Boston, Houghton Mifflin Company (ISBN 0-395-31338-4).
- Teal, Donn (1971), The Gay Militants, New York, Stein and Day (ISBN 0-8128-1373-1).
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Interpride – องค์กรไพรด์สากล