ฮาญัร ( อาหรับ: هَاجَر ) รู้จักกันในชื่อฮาการ์ในพระคัมภีร์ฮีบรู เป็นภรรยา[1] นบีอิบรอฮีม (อับราฮัม) และเป็นมารดาของนบีอิสมาอีล (อิชมาเอล) นางเป็นผู้หญิงที่นับถือในศาสนาอิสลาม ตามความเชื่อของชาวมุสลิม นางเป็นทาสของกษัตริย์แห่งอียิปต์ที่มอบนางให้กับซาเราะฮ์ ภรรยาของอิบรอฮีม [2] แม้ว่า อัลกุรอานจะไม่ได้เอ่ยชื่อนาง แต่นางก็ถูกอ้างถึงและพาดพิงผ่านเรื่องราวของสามีของนาง ในที่สุดเธอก็ตั้งรกรากอยู่ในทะเลทรายปาราน ซึ่งถูกมองว่าเป็นหิญาซ ในมุมมองของอิสลาม กับนบีอิสมาอีล บุตรชายของนาง ฮาญัรได้รับเกียรติในฐานะหญิงมีเกรียติ ที่มีความสำคัญเป็นพิเศษของลัทธิเอกเทวนิยม เนื่องจากนบีอิสมาอีลเป็นบรรพบุรุษของนบีมุฮัมมัด [3]

هَاجَر

ฮาญัร
มีชื่อเสียงจากภรรยาของอิบรอฮีม (อับราฮัม) และมารดาของอิสมาอีล (อิชมาเอล)
คู่สมรสอิบรอฮีม
บุตรอิสมาอีล

เรื่องเล่า แก้

นบีอิบรอฮีมไม่มีบุตร ท่านเป็นนบีของอัลลอฮ์และเมื่อละทิ้งบ้านเกิดของท่าน ท่านกังวลว่าใครจะรับตำแหน่งนบีต่อจากท่าน และไม่ว่าท่านจะได้เป็นพ่อคนในวันหนึ่งหรือไม่ ฮาญัรผู้รับใช้ของภรรยาของท่านซึ่งได้รับของขวัญ จากนางได้ทำให้นบีอิบรอฮีมมีบุตร จากการวิจัยสมัยใหม่ ฮาญัรไม่ใช่นางสนมแต่เป็นเจ้าหญิง บุตรสาวของกษัตริย์แห่งอียิปต์ [4] ต่อมาฮาญัรให้กำเนิดบุตรที่จะเติบโตเป็นคนชอบธรรมและพร้อมที่จะทนทุกข์และอดทน ฮาญัรตั้งชื่อเขาว่า อิสมาอีล แปลว่า "อัลลอฮ์ทรงได้ยินแล้ว" [5]

นักวิชาการอิสลาม มุฮัมมัด สะอีด อับดุรเราะห์มาน กล่าวต่อไปนี้โดยใช้ชื่อภาษาอาหรับว่า ฮาญัร แปลว่า ฮาการ์; “หลังจากฮาญัรให้กำเนิดนบีอิสมาอีล ซาเราะฮ์เริ่มรู้สึกอิจฉา นางจึงขอให้นบีอิบรอฮีมเอาพวกเขาไปจากนาง อัลลอฮ์ได้ทรงวะฮีย์แก่นบีอิบรอฮีมว่าท่านควรพาฮาญัรและทารกอิสมาอีลและพาพวกท่านไปที่มักกะฮ์ ดังนั้นท่านจึงพาพวกเขาไปและทิ้ง ฮาญัรและอิสมาอีล บุตรของนางไว้ในที่เปลี่ยวซึ่งไม่มีน้ำ จากนั้นท่านก็ทิ้งพวกเขาและกลับไปที่คานาอัน (บางส่วนของยุคปัจจุบัน - ดินแดนเลบานอน ซีเรีย จอร์แดน อิสราเอล และปาเลสไตน์) ฮาญัรถามท่านว่า "ท่านทิ้งเราไว้ที่หุบเขาร้างนี้เพื่อใคร" แต่นบีอิบรอฮีมไม่ตอบและทิ้งนางไว้ และนางกล่าวว่า 'อัลลอฮ์ได้สั่งให้ท่านทำเช่นนี้ใช้หรือไม่' ท่านตอบว่า 'ใช่' นางกล่าวว่า 'แล้วอัลลอฮ์จะไม่ทรงให้เราหลงทาง'" [6]

นบีอิบรอฮีมยอมจำนนต่อพระบัญชาของอัลลอฮ์ และยอมจำนนต่อการแยกจากภรรยาและบุตรชายอย่างอดทน จากนั้นท่านก็หันไปทางที่พวกเขาอยู่ในบ้านอันศักดิ์สิทธิ์และขอดุอาอ์เผื่อพวกเขาในคำต่อไปนี้ (การตีความความหมาย): ' “โอ้พระเจ้าของเรา! “โอ้พระเจ้าของเรา แท้จริงข้าพระองค์ได้ให้ลูกหลานของข้าพระองค์ พำนักอยู่ ณ ที่ราบลุ่มนี้โดยไม่มีพืชผลใดๆ ซึ่งอยู่ใกล้บ้านอันเป็นเขตหวงห้ามของพระองค์ โอ้พระเจ้าของเรา เพื่อให้พวกเขาดำรงการละหมาด ขอพระองค์ทรงให้จิตใจจากปวงมนุษย์ มุ่งไปยังพวกเขา และทรงประทานปัจจัยยังชีพที่เป็นพืชผลแก่พวกเขาหวังว่าพวกเขาจะขอบคุณ” ' [อัลกุรอาน ซูเราะฮ์อิบรอฮีม 14:37]

เนื่องจากการขาดแคลนน้ำในทะเลทราย ไม่นานนักทั้งแม่และลูกก็กระหายน้ำมาก ดังนั้น นางฮาญัรจึงวิ่งไปมาระหว่างเนินเขาเศาะฟาและมัรวะฮ์ เพื่อหาน้ำให้บุตรชายของนาง หลังจากวิ่งระหว่างเนินเขาทั้งสองเป็นครั้งที่เจ็ด มะลาอิกะฮ์ตนหนึ่งก็ปรากฏต่อหน้านาง ท่านช่วยนางและบอกนาวว่า อัลลอฮ์ทรงได้ยินเสียงร้องไห้ของอิสมาอีลและจะจัดหาน้ำให้พวกเขา เมื่อถึงจุดนั้น อัลลอฮ์ทรงบันดาลให้มีน้ำพุพุ่งออกมาจากพื้นดิน ซึ่งส้นเท้าของอิสมาอีลวางอยู่ และหลังจากนั้นเมืองมักกะฮ์ก็กลายเป็นที่รู้จักในด้านความเป็นเลิศและความอุดมสมบูรณ์ของน้ำ ต่อมาบ่อน้ำนี้ได้รับการตั้งชื่อว่า ซัมซัม และกลายเป็นแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์

สถานะ แก้

ฮาญัรถูกนำเสนอเป็นหญิงรับใช้ในพระคัมภีร์และแหล่งข้อมูลอิสลามบางแห่ง นักวิชาการชาวปากีสถาน มูฮัมหมัด อัชร็อฟ ชีนะห์ ให้เหตุผลว่าคำกล่าวอ้างดังกล่าวมาจากแหล่งที่มาของคริสเตียนและยิว และระบุว่านางเป็นธิดาแห่งกษัตริย์อียิปต์ที่มอบนางเป็นของขวัญให้กับนบีอิบรอฮีม [7]

มรดก แก้

ฮาญัรได้รับเกียรติจากชาวมุสลิมในฐานะสตรีผู้ฉลาด กล้าหาญ และเคร่งศาสนา อีกทั้งยังเป็นมารดาผู้ศรัทธาของบะนูอัดนาน เหตุการณ์ [8] ที่นางวิ่งระหว่างเนินเขาเศาะฟาและมัรวะฮ์ นั้นเป็นที่จดจำของชาวมุสลิมเมื่อพวกเขาทำหัจญ์ที่มักกะฮ์ ส่วนหนึ่งของการแสวงบุญคือการวิ่งระหว่างเนินเขา 7 ครั้ง เพื่อเป็นการระลึกถึงความกล้าหาญและความศรัทธาในอัลลอฮ์ของฮาญัรขณะที่นางค้นหาน้ำในทะเลทราย (ซึ่งเชื่อกันว่าปรากฎขึ้นจากบ่อน้ำซัมซัม อย่างน่าอัศจรรย์) และเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของการเฉลิมฉลองความเป็นแม่ในอิสลาม เพื่อให้งานสำเร็จลุล่วง ชาวมุสลิมบางคนยังดื่มจากบ่อน้ำซัมซัมและนำกลับไปบ้านด้วย

อ้างอิง แก้

  1. Parry, Lesley (2016). AQA GCSE religious studies. Specification A. Jan Hayes, Sheila Butler. London. ISBN 978-1-4718-6686-9. OCLC 963178846.
  2. Muhammad Ashraf Chheenah, (2nd Ed. 2016) Hajar the Princess, the Mother of the Arabs and Ishmael the Father of Twelve Princes, p. 90-98, Interfaith Studies and Research Centre, Islamabad (ISBN 9789699704000)
  3. Muhammad Ashraf Chheenah, (2nd Ed. 2016) Hagar the Princess, the Mother of the Arabs and Ishmael the Father of Twelve Princes, p. 109, Interfaith Studies and Research Centre, Islamabad (ISBN 9789699704000)
  4. Muhammad Ashraf Chheenah, (2nd Ed. 2016) Hagar the Princess, the Mother of the Arabs and Ishmael the Father of Twelve Princes, p. 90-98, Interfaith Studies and Research Centre, Islamabad (ISBN 9789699704000)
  5. Muhammad Ashraf Chheenah, (2nd Ed. 2016) Hagar the Princess, the Mother of the Arabs and Ishmael the Father of Twelve Princes, p. 181, Interfaith Studies and Research Centre, Islamabad (ISBN 9789699704000)
  6. Abdul-Rahman, Muhammad Saed (2003). Islam: Questions and Answers, Volume 1, Basic Tenets of Faith: Belief, Part 1. MSA Publication Limited. p. 305. ISBN 1-86179-080-5.
  7. Muhammad Ashraf Chheenah, (2nd Ed. 2016) Hagar the Princess, the Mother of the Arabs and Ishmael the Father of Twelve Princes, p. 90-98, Interfaith Studies and Research Centre, Islamabad (ISBN 9789699704000)
  8. Lings, Martin (1983). Muhammad: His Life Based on the Earliest Sources. Islamic Texts Society. ISBN 978-0-946621-33-0.