ฮัมซะฮ์ อิบน์ อับดุลมุฏฏอลิบ

ฮัมซะฮ์ อิบน์ อับดุลมุฏฏอลิบ (อาหรับ: حمزة ابن عبد المطّلب) (ค.ศ.570[1]–625)[2]: 4  เป็นเศาะฮะบะฮ์ และเป็นลุงของศาสดา (نَـبِي) มุฮัมมัด

ฮัมซะฮ์
حمزة
อะมีร
อะซาดุลลอฮ์ (ราชสีห์ของอัลลอฮ์)
เศาะฮะบะฮ์
ผู้พลีชีพเพื่อศาสนา
เลขาธิการแห่งสงครามของรัฐอิสลามประจำเมืองมะดีนะฮ์
ถัดไปคอลิด อิบน์ อัลวะลีด
ประสูติค.ศ.570
มักกะฮ์, แคว้นฮิญาซ, อาระเบีย
ฮัมซะฮ์ อิบน์ อับดุลมุฏฏอลิบ
สวรรคต22 ธันวาคม ค.ศ.624 ในช่วงสงครามอุฮุด
ภูเขาอูฮุด
คู่อภิเษกSalma
Daughter of Al-Milla
Khawla bint Qays
พระราชบุตรUmama
Amir ibn Hamaza
Yaala ibn Hamza
Umara ibn Hamza
และอีกมากมาย
حمزة
ราชวงศ์บนูฮาชิม
พระราชบิดาอับดุลมุฏฏอลิบ อิบน์ ฮาชิม
พระราชมารดาฮาละฮ์ บินต์ วูฮัยบ์
ศาสนาอิสลาม ก่อนหน้านั้น พหุเทวนิยมอาหรับ
อาชีพเศาะฮะบะฮ์
Military officer

ชื่อตอนที่ยังอยู่ในวัยเด็กคือ "อบูอุมามะฮ์"[2]: 2  (أَبُو عُمَارَةَ) และ "อบูยะอฺลา"[2]: 3  (أَبُو يَعْلَى). โดยมีสมญานามว่า ราชสีห์ของอัลลอฮ์[2]: 2  (أسد الله) และ ราชสีห์แห่งสวรรค์ (أسد الجنّة) ส่วนศาสดามุฮัมมัดได้ให้สมญานามว่า ซัยยิดุช-ชุฮาดา’ (سَـيِّـدُ الـشُّـهَـدَاء "หัวหน้าของผู้สละชีพ")[3]

ครอบครัว

แก้

บิดามารดา

แก้

พ่อของฮัมซะฮ์ชื่อว่าอับดุลมุฏฏอลิบ อิบน์ ฮาชิม อิบน์ อับดุลมะนาฟ อิบน์ กุซ็อย จากเผ่ากุเรชในเมืองมักกะฮ์[2]: 2  แม่ของชื่อว่า ฮาละฮ์ บินต์ วะฮับ จากกลุ่มบนูซุครอของเผ่ากุเรช[2]: 2 

ฮัมซะฮ์แก่กว่ามุฮัมหมัด 4 ปี[2]: 4  แต่ซุบัยร์แย้งในฮะดีษว่า "ตุวัยบะฮได้เลื้ยงดูทั้งฮัมซะฮ์และมุฮัมหมัด" อิบน์ ซัยยิด จึงสรุปว่าฮัมซะฮ์แก่กว่ามุฮัมหมัดแค่ 2 ปี โดยหลังจากนั้นเขาพูดว่า "มีแต่พระองค์เท่านั้นที่รู้"[4] อิบน์ ฮะญัร บันทึกว่า: "ฮัมซะฮ์เกิดก่อนมูฮัมหมัดประมาณ 2 - 4 ปี"[5]

ฮัมซะฮ์มีความสามารถในการต่อสู้, ยิงธนู และศึกสงคราม[3]

การแต่งงานและลูกหลาน

แก้

ฮัมซะฮ์แต่งงานสามครั้งและมีลูกหกคนได้แก่[2]: 3 

  1. ซัลมา บินต์ อุมัยส์
    1. อุมามะฮ์ บินต์ ฮัมซะฮ์
  2. ซัยนับ บินต์ อัล-มิลลา
    1. อามีร อิบน์ ฮัมซะฮ์
    2. บักร์ อิบน์ ฮัมซะฮ์ เสียชีวิตตั้งแต่เด็ก
  3. เคาละฮ์ บินต์ ก็อยส์
    1. ยาลา อิบน์ ฮัมซะฮ์
    2. อุมามะฮ์ อิบน์ ฮัมซะฮ์[6]
    3. อะตีกะฮ์ บินต์ ฮัมซะฮ์[7]
    4. บัรรา บินต์ ฮัมซะฮ์

เข้ารับอิสลาม

แก้

เขาเข้ารับอิสลามในช่วงปลายปี 615 หรือต้นปี 616[2]: 3  ในขณะที่เขากลับมาจากการล่าสัตว์ในทะเลทราย ได้มีคนบอกเขาว่าอบูญะฮัลได้ "ทำร้ายและต่อว่าท่านศาสดา"[2]: 3  "ต่อว่าศาสนาของท่านและพยายามทำให้ท่านขายหน้า" แต่มุฮัมหมัดก็ไม่ตอบโต้อะไรทั้งสิ้น[8]: 131  ฮัมซะฮ์จึง "รู้สึกโกรธ" และ "รีบไปหาอบูญะฮัล"ที่กะอ์บะฮ์ ขณะที่อบูญะฮัลกำลังนั่งอยู่กับผู้อาวุโส เขาจึงตีอบูญะฮัลด้วยคันธนูของเขา แล้วพูดว่า "เจ้าจะยังทำร้ายเขามั้ย ถ้าฉันอยู่ในศาสนาของเขาและพูดเหมือนอย่างที่เขาพูดล่ะ? ชกฉันสิถ้าเจ้ากล้า!"[8]: 132  คนข้าง ๆ อบูญะฮัลพยายามจะช่วยเขา แต่อบูญะฮัลพูดว่า "ปล่อยให้อบูอุมารา [ฮัมซะฮ์] อยู่คนเดียวเถอะ ขอสาบานต่อพระเจ้า ข้าได้ดูถูกหลานชายของเขาอย่างมาก"[8]: 132  หลังจากเหตุการณ์ครั้งนั้น ฮัมซะฮ์ได้เข้าไปในบ้านอัล-อัรกอมและเข้าอิสลาม[2]: 3 

ประสบการทางทหาร

แก้

ครั้งแรก

แก้

มุฮัมมัดได้ส่งฮัมซะฮ์พร้อมกับคนขี่ม้า 30 คนไปที่อ่าวแถวแคว้นญุฮัยนะฮ์เพื่อหยุดคารวานชาวกุเรชที่กลับจากซีเรีย ฮัมซะฮ์ได้พบอบูญะฮัลที่กำลังคุมกองคารวานพร้อมกับคนขี่ม้า 300 คนที่ชายหาด มัจดี อิบน์ อัมร์ อัล-ญุฮัยมีได้พูดแทรกว่า "สำหรับเขาคือสันติภาพทั้งคู่" และทั้งสองกลุ่มจึงแยกจากกันโดยไม่มีการต่อสู้ใด ๆ ทั้งสิ้น[2]: 4 [8]: 283 

เสียชีวิต

แก้
 
สุสานของฮัมซะฮ์ใกล้เทือกเขาอุฮุด

ฮัมซะฮ์พลีชีพในสงครามอุฮุดเมื่อวันที่ 22 มีนาคม ค.ศ.625 (3 เชาวาล ฮ.ศ.3) ขณะที่มีอายุ 59 ปี (จันทรคติ)

ฮัมซะฮ์ถูกฆ่าโดยวะฮ์ชี อิบน์ ฮัรบ์ทาสชาวอบิสสิเนียของฮินด์ บินต์ อุตบะฮ์ภายใต้สัญญาว่าเขาจะเป็นอิสระถ้าเขาฆ่าฮัมซะฮ์ได้ เนื่องจากเธอแค้นที่ฮัมซะฮ์ฆ่าลุงของเธอที่สงครามบะดัร [8]

หลังจากนั้นวะฮ์ชีได้เปิดท้องและนำตับให้ฮินด์ บินต์ อุตบะฮ์[2] และเธอเคี้ยวตับของเขาแล้วคายทิ้ง "จากนั้นเธอทำลายร่างกายของฮัมซะฮ์โดยนำบางส่วนจากร่างกายมาทำสร้อยข้อเท้า, สร้อยคอ และจี้ แล้วนำมันกลับไปที่มักกะฮ์"[2]

มุฮัมมัดได้กล่าวว่า "ฉันเห็นมลาอิกะฮ์ (เทวทูต) กำลังอาบน้ำให้ฮัมซะฮ์ในสวรรค์"[2]

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "Companions of The Prophet", Vol.1, By: Abdul Wahid Hamid
  2. 2.00 2.01 2.02 2.03 2.04 2.05 2.06 2.07 2.08 2.09 2.10 2.11 2.12 2.13 2.14 Muhammad ibn Saad. Kitab al-Tabaqat al-Kabair vol. 3. Translated by Bewley, A. (2013). The Companions of Badr. London: Ta-Ha Publishers.
  3. 3.0 3.1 "Prophetmuhammadforall.org" (PDF). www.prophetmuhammadforall.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-07-27. สืบค้นเมื่อ 2018-10-20.
  4. Ibn Sayyid al-Nas, Uyun al-Athar.
  5. Ibn Hajar al-Asqalani, Finding the Truth in Judging the Companions.
  6. Al-Jibouri, Yasin T. "Descendants of the Prophet's Paternal Uncles". Muhammad, Messenger of Peace and Tolerance. Qum: Ansariyan Publications.
  7. Muhammad ibn Saad. Kitab al-Tabaqat al-Kabir vol. 8. Translated by Bewley, A. (1995). The Women of Madina, p. 288. London: Ta-Ha Publishers.
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 8.4 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Ishaq