อำเภอเมืองอ่างทอง

อำเภอในจังหวัดอ่างทอง ประเทศไทย
(เปลี่ยนทางจาก อ.เมืองอ่างทอง)

เมืองอ่างทอง เป็นอำเภอศูนย์กลางการปกครอง การบริหาร เศรษฐกิจ และการศึกษาของจังหวัดอ่างทอง

อำเภอเมืองอ่างทอง
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Mueang Ang Thong
คำขวัญ: 
พระศรีเมืองทองคุ้มบ้าน หลวงพ่อสดโอฬาร
ถิ่นฐานเกษตรกรรม ธรรมะครองใจ
แผนที่จังหวัดอ่างทอง เน้นอำเภอเมืองอ่างทอง
แผนที่จังหวัดอ่างทอง เน้นอำเภอเมืองอ่างทอง
พิกัด: 14°35′19″N 100°27′12″E / 14.58861°N 100.45333°E / 14.58861; 100.45333
ประเทศ ไทย
จังหวัดอ่างทอง
พื้นที่
 • ทั้งหมด104.161 ตร.กม. (40.217 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)
 • ทั้งหมด54,890 คน
 • ความหนาแน่น526.97 คน/ตร.กม. (1,364.8 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 14000
รหัสภูมิศาสตร์1501
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอเมืองอ่างทอง
ถนนเทศบาล 1 ตำบลบางแก้ว อำเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง 14000
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ที่ตั้งและอาณาเขต แก้

อำเภอเมืองอ่างทองตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังนี้

ประวัติศาสตร์ แก้

อำเภอเมืองอ่างทองเดิมเรียกว่า อำเภอเมือง ตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาตรงวัดไชยสงคราม (วัดกะเขา) ตำบลบ้านแห ต่อมาในปี พ.ศ. 2356 ทางราชการได้ย้ายเมืองอ่างทองไปตั้งที่บริเวณใต้ปากคลองบางแก้ว ตำบลบางแก้ว ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา อำเภอเมืองจึงย้ายตามไปด้วย ในปี พ.ศ. 2460 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอบางแก้ว ตามตำบลที่ตั้ง และเปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอเมืองอ่างทอง เมื่อปี พ.ศ. 2481

การแบ่งเขตการปกครอง แก้

การปกครองส่วนภูมิภาค แก้

อำเภอเมืองอ่างทองแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 14 ตำบล 81 หมู่บ้าน ได้แก่

ลำดับ อักษรไทย อักษรโรมัน จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2565)[1]
1. ตลาดหลวง Talat Luang
5,126
2. บางแก้ว Bang Kaeo
2,033
3. ศาลาแดง Sala Daeng
7,814
4. ป่างิ้ว Pa Ngio
5,668
5. บ้านแห Ban Hae
4,313
6. ตลาดกรวด Talat Kruat
1,986
7. มหาดไทย Mahatthai
1,566
8. บ้านอิฐ Ban It
6,795
9. หัวไผ่ Hua Phai
4,495
10. จำปาหล่อ Champa Lo
3,587
11. โพสะ Phosa
4,221
12. บ้านรี Ban Ri
1,853
13. คลองวัว Khlong Wua
2,173
14. ย่านซื่อ Yan Sue
3,568

การปกครองส่วนท้องถิ่น แก้

ท้องที่อำเภอเมืองอ่างทองประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 11 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลเมืองอ่างทอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตลาดหลวงและตำบลบางแก้วทั้งตำบล รวมทั้งบางส่วนของตำบลศาลาแดง ตำบลบ้านแห ตำบลบ้านอิฐ ตำบลโพสะ และตำบลย่านซื่อ
  • เทศบาลตำบลศาลาแดง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลศาลาแดง (นอกเขตเทศบาลเมืองอ่างทอง)
  • เทศบาลตำบลโพสะ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโพสะ (นอกเขตเทศบาลเมืองอ่างทอง)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลป่างิ้ว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลป่างิ้วและตำบลมหาดไทยทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแห ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านแห (นอกเขตเทศบาลเมืองอ่างทอง)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลตลาดกรวด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตลาดกรวดทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านอิฐ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านรีทั้งตำบลและตำบลบ้านอิฐ (นอกเขตเทศบาลเมืองอ่างทอง)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหัวไผ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหัวไผ่ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลจำปาหล่อ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลจำปาหล่อทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลคลองวัว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองวัวทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลย่านซื่อ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลย่านซื่อ (นอกเขตเทศบาลเมืองอ่างทอง)

ทรัพยากรธรรมชาติ แก้

  • ทรัพยากรดิน ดินมีความอุดมสมบูรณ์เหมาะสมสำหรับการเกษตร
  • ทรัพยากรน้ำ อำเภอเมืองอ่างทองมีแหล่งน้ำสำคัญคือ แม่น้ำเจ้าพระยา และคลองบางแก้วที่แยกตัวจากแม่น้ำเจ้าพระยา พร้อมทั้งมีคลองชลประทานครอบคลุมพื้นที่ทุกตำบล ทำให้มีน้ำใช้เพื่อการเกษตรได้ตลอดปี

เศรษฐกิจ แก้

  • อาชีพหลัก การเกษตร ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว ไม้ผล
  • อาชีพเสริม การปศุสัตว์เลี้ยงนกกระทา ไก่พื้นเมือง

สถานศึกษา แก้

การคมนาคม แก้

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.