อำเภอเดิมบางนางบวช

อำเภอในจังหวัดสุพรรณบุรี ประเทศไทย
(เปลี่ยนทางจาก อ.เดิมบางนางบวช)

เดิมบางนางบวช เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดสุพรรณบุรี เดิมเป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดชัยนาท ก่อนที่จะย้ายมาขึ้นกับเมืองสุพรรณบุรี และรวมท้องที่ตำบลในอำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท และอำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี ตั้งขึ้นเป็นอำเภอในปี พ.ศ. 2454[1] ชื่อว่า "อำเภอเดิมบาง" ก่อนที่จะเปลี่ยนชื่อเป็น "อำเภอเดิมบางนางบวช" ในปี พ.ศ. 2482[2]

อำเภอเดิมบางนางบวช
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Doem Bang Nang Buat
แผนที่จังหวัดสุพรรณบุรี เน้นอำเภอเดิมบางนางบวช
แผนที่จังหวัดสุพรรณบุรี เน้นอำเภอเดิมบางนางบวช
พิกัด: 14°51′13″N 100°5′52″E / 14.85361°N 100.09778°E / 14.85361; 100.09778
ประเทศ ไทย
จังหวัดสุพรรณบุรี
พื้นที่
 • ทั้งหมด552.3 ตร.กม. (213.2 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด70,781 คน
 • ความหนาแน่น128.16 คน/ตร.กม. (331.9 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 72120
รหัสภูมิศาสตร์7202
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอเดิมบางนางบวช
หมู่ที่ 2 ตำบลเขาพระ อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี 72120
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ประวัติ แก้

ในวันที่ 21 พฤษภาคม 2454 กระทรวงมหาดไทยได้แยกพื้นที่ตำบลนางเริง ตำบลเขาพระ ตำบลท่ารวก ตำบลท่าช้าง ตำบลหัวเขา ตำบลวังศรีราช ตำบลหัวนา ตำบลป่าสะแก ตำบลลำพันบอง ตำบลบ่อกรุ ตำบลห้วยขมิ้น ตำบลนางบวช อำเภอนางบวช (อำเภอสามชุก) ตำบลท่ามะนาว ตำบลโคกช้าง อำเภอสิงห์ (อำเภอบางระจัน) เมืองสิงห์บุรี ตำบลเดิมบาง และตำบลกำมะเชียน อำเภอเดิมบาง (เดิม) แขวงเมืองไชยนาท ไปจัดตั้งเป็น อำเภอเดิมบาง[3] ขึ้นกับเมืองสุพรรณบุรี ส่วนท้องที่อำเภอเดิมบาง (เดิม) ที่ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านเชี่ยน ได้ตั้งขึ้นเป็นอำเภอชื่อว่า "อำเภอบ้านเชี่ยน" ซึ่งเปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอหันคา ในปัจจุบัน

ในปี พ.ศ. 2482 ได้เปลี่ยนชื่อ "อำเภอเดิมบาง" เป็น "อำเภอเดิมบางนางบวช"[2] จนถึงปัจจุบัน

ที่ตั้งและอาณาเขต แก้

อำเภอเดิมบางนางบวชตั้งอยู่ตอนเหนือสุดของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียง ดังนี้

การแบ่งเขตการปกครอง แก้

การปกครองส่วนภูมิภาค แก้

อำเภอเดิมบางนางบวชแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 14 ตำบล ได้แก่

1. เขาพระ (Khao Phra) 8. หัวเขา (Hua Khao)
2. เดิมบาง (Doem Bang) 9. หัวนา (Hua Na)
3. นางบวช (Nang Buat) 10. บ่อกรุ (Bo Kru)
4. เขาดิน (Khao Din) 11. วังศรีราช (Wang Si Rat)
5. ปากน้ำ (Pak Nam) 12. ป่าสะแก (Pa Sakae)
6. ทุ่งคลี (Thung Khli) 13. ยางนอน (Yang Non)
7. โคกช้าง (Khok Chang) 14. หนองกระทุ่ม (Nong Krathum)
 

การปกครองส่วนท้องถิ่น แก้

ท้องที่อำเภอเดิมบางนางบวชประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 16 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลเขาพระ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลเขาพระและตำบลเดิมบาง
  • เทศบาลตำบลนางบวช ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลนางบวช
  • เทศบาลตำบลบ่อกรุ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลบ่อกรุ
  • เทศบาลตำบลเขาดิน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเขาดินทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลปากน้ำ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปากน้ำทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลเดิมบาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเดิมบาง (นอกเขตเทศบาลตำบลเขาพระ)
  • เทศบาลตำบลหนองกระทุ่ม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองกระทุ่มทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลทุ่งคลี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทุ่งคลีทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเขาพระ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเขาพระ (นอกเขตเทศบาลตำบลเขาพระ)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลนางบวช ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนางบวช (นอกเขตเทศบาลตำบลนางบวช)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโคกช้าง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโคกช้างทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหัวเขา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหัวเขาทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหัวนา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหัวนาทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อกรุ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ่อกรุ (นอกเขตเทศบาลตำบลบ่อกรุ)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลป่าสะแก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังศรีราชและตำบลป่าสะแกทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลยางนอน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลยางนอนทั้งตำบล

สถานพยาบาล แก้

อำเภอเดิมบางนางบวชมีโรงพยาบาลของรัฐ 1 แห่ง และเอกชน 1 แห่ง

  • โรงพยาบาลเดิมบางนางบวช (112 เตียง) [4]
  • โรงพยาบาลหมอสำเริง (26 เตียง)

อ้างอิง แก้

  1. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย ประกาศตั้งอำเภอเดิมบางและเปลี่ยนชื่ออำเภอเดิมบางเก่าเป็นอำเภอบ้านเชียน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 28 (0 ง): 299–300. May 21, 1911.
  2. 2.0 2.1 "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนนามอำเภอ กิ่งอำเภอ และตำบลบางแห่ง พุทธศักราช ๒๔๘๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 56 (0 ก): 354–363. April 17, 1939. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-02-19. สืบค้นเมื่อ 2021-05-17.
  3. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย ประกาศตั้งอำเภอเดิมบางและเปลี่ยนชื่ออำเภอเดิมบางเก่าเป็นอำเภอบ้านเชียน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 28 (0 ง): 299–300. May 21, 1911.
  4. http://www.waterforthai.go.th/disaster-info-country/disaster-info-province/?pcode=SPB[ลิงก์เสีย]