อำเภอบ้านโป่ง

อำเภอในจังหวัดราชบุรี ประเทศไทย
(เปลี่ยนทางจาก อ.บ้านโป่ง)

อำเภอบ้านโป่ง เป็นอำเภอสำคัญอำเภอหนึ่งในจังหวัดราชบุรี เดิมชื่อ อำเภอท่าผา ต่อมาได้ย้ายที่ว่าการอำเภอไปยังตำบลบ้านโป่งเพื่อให้ใกล้สถานีรถไฟบ้านโป่งมากขึ้น จึงเปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอบ้านโป่ง ปัจจุบัน บ้านโป่งเป็นอำเภอเป็นศูนย์กลางความเจริญและการคมนาคมทางภาคตะวันตกของประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์โดยสารที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการผลิตปลาสวยงามที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และมีสถานีชุมทางรถไฟที่แยกไปได้ถึงสามเส้นทาง

อำเภอบ้านโป่ง
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Ban Pong
สถานีรถไฟบ้านโป่งก่อนมีการก่อสร้างรถไฟทางคู่ โดยสถานีบ้านโป่งเดิมถูกสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 และเป็นสถานีรถไฟประจำอำเภอบ้านโป่ง
สถานีรถไฟบ้านโป่งก่อนมีการก่อสร้างรถไฟทางคู่ โดยสถานีบ้านโป่งเดิมถูกสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 และเป็นสถานีรถไฟประจำอำเภอบ้านโป่ง
คำขวัญ: 
เมืองคนงาม สระน้ำศักดิ์สิทธิ์
พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน ย่านการค้าอุตสาหกรรม
แผนที่จังหวัดราชบุรี เน้นอำเภอบ้านโป่ง
แผนที่จังหวัดราชบุรี เน้นอำเภอบ้านโป่ง
พิกัด: 13°48′50.4014″N 99°52′16.041″E / 13.814000389°N 99.87112250°E / 13.814000389; 99.87112250
ประเทศ ไทย
จังหวัดราชบุรี
พื้นที่
 • ทั้งหมด390.000 ตร.กม. (150.580 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด171,514 คน
 • ความหนาแน่น439.78 คน/ตร.กม. (1,139.0 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 70110,
70190 (เฉพาะตำบลกรับใหญ่)
รหัสภูมิศาสตร์7005
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอบ้านโป่ง ถนนทรงพล ตำบลบ้านโป่ง อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี 70110
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ที่ตั้งและอาณาเขต

แก้

อำเภอบ้านโป่งมีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียง ดังนี้

ประวัติ

แก้

ตามจดหมายเหตุราชบุรี อำเภอบ้านโป่ง เดิมตั้งอยู่ที่ตำบลท่าผา เรียกว่าอำเภอท่าผา[1] ต่อมารัฐบาลได้สร้างทางรถไฟสายใต้ขึ้นและเห็นว่าถ้าหากที่ว่าการอำเภอตั้งอยู่ที่ตำบลท่าผาแล้วการคมนาคมก็ไม่สู้สะดวก จึงให้ย้ายที่ว่าการอำเภอมาตั้งที่ตำบลบ้านโป่ง เรียกว่า อำเภอบ้านโป่ง สืบมาจนกระทั่งทุกวันนี้

บริเวณที่ตั้งอำเภอบ้านโป่งนี้ เดิมเป็นป่าโปร่งสัตว์ชอบมาอาศัย และกินดินโป่งเป็นอาหาร (ดินโป่งเป็นดินชนิดหนึ่งที่มีรสเค็ม) โดยเฉพาะสัตว์จำพวกเลียงผาชอบมาก ตามตำนานเก่าแก่เล่าว่าคำ "บ้านโป่ง" เดิมทีเดียวเรียกว่า "บ้านทับโป่ง" ซึ่งเล่ากันว่ามีกระท่อมหรือบ้าน (ทับ) อยู่ข้างดินโป่ง แต่ชาวบ้านนิยมเรียก "บ้านโป่ง" เพราะสะดวกและสั้นดีและต่อมาทางราชการก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอบ้านโป่งตามไปด้วย

  • วันที่ 11 พฤษภาคม 2445 เปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดสุพรรณบุรีกับจังหวัดราชบุรี โดยโอนพื้นที่หมู่บ้านโป่ง หมู่บ้านหัวเกาะ และหมู่บ้านจรเข้ลาดท้อง อำเภอสองพี่น้อง แขวงเมืองสุพรรณบุรี มณฑลนครไชยศรี มาขึ้นกับอำเภอลาดบัวขาว แขวงเมืองราชบุรี มณฑลราชบุรี[2]
  • วันที่ 19 พฤศจิกายน 2459 ประกาศใช้พระราชบัญญัติสุขาภิบาลตำบลบ้านโป่ง ในท้องที่ตำบลบ้านโป่ง อำเภอบ้านโป่ง มณฑลราชบุรี[3] เป็น สุขาภิบาลตำบลบ้านโป่ง (สุขาภิบาลท้องที่บ้านโป่ง)
  • วันที่ 1 พฤศจิกายน 2468 ตั้งตำบลเขาขลุง แยกออกจากตำบลหนองปลาหมอ และตั้งตำบลกรับใหญ่ แยกออกจากตำบลท่าผา[4]
  • วันที่ 23 พฤษภาคม 2469 เปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดราชบุรีกับจังหวัดนครปฐม โดยโอนพื้นที่ตำบลหนองดินแดง และตำบลวังเย็น ของอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ไปขึ้นกับอำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม[5]
  • วันที่ 20 ธันวาคม 2474 เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลท้องที่บ้านโป่ง ตามความจำเป็นแห่งการบริหารงานของสุขาภิบาล[6] และเพื่อความเหมาะสมในการบริหารกิจการและการทะนุบำรุงท้องถิ่น
  • วันที่ 10 ธันวาคม 2478 จัดตั้งสุขาภิบาลท้องที่บ้านโป่ง ขึ้นเป็น เทศบาลเมืองบ้านโป่ง[7]
  • วันที่ 1 เมษายน 2480 เปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดราชบุรีกับจังหวัดกาญจนบุรี โดยโอนพื้นที่อำเภอท่ามะกา (ยกเว้นตำบลลาดบัวขาว) ไปขึ้นกับจังหวัดกาญจนบุรี และโอนพื้นที่ตำบลลาดบัวขาว อำเภอท่ามะกา มาขึ้นกับอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี[8]
  • วันที่ 27 มีนาคม 2481 ยุบตำบลบางพัง รวมเข้ากับตำบลท่าผา และเรียกชื่อตำบลว่า ตำบลท่าผา ยุบตำบลดอนกระเบื้อง รวมเข้ากับตำบลหนองอ้อ และเรียกชื่อตำบลว่า ตำบลหนองอ้อ ยุบตำบลโพพยอม รวมเข้ากับตำบลคุ้งพยอม และเรียกชื่อตำบลว่า ตำบลคุ้งพยอม ยุบตำบลสวนกล้วย รวมเข้ากับตำบลนครชุมน์ และเรียกชื่อตำบลว่า ตำบลนครชุมน์[9]
  • วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2486 เปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดราชบุรีกับจังหวัดนครปฐม โดยโอนพื้นที่ตำบลสระกะเทียม กับพื้นที่หมู่ 3,6–7,9–14 (ในขณะนั้น) ของตำบลบ้านยาง และพื้นที่หมู่ 6–7,10–11 (ในขณะนั้น) ซึ่งอยู่เหนือคลองยางหรือคลองบางตาล ของตำบลหนองกบ อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ไปขึ้นกับอำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม โดยให้ถือคลองยางหรือคลองบางตาล ตั้งแต่บ้านปลายน้ำติดต่อเขตตำบลปากแรต อำเภอบ้านโป่ง ถึงบ้านคลองขุดจรดเขตตำบลหนองดินแดง อำเภอเมืองนครปฐม เป็นเส้นแบ่งเขต[10] และเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดราชบุรีกับจังหวัดกาญจนบุรี โดยโอนพื้นที่อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ไปขึ้นกับจังหวัดกาญจนบุรี เว้นแต่ท้องที่ตำบลบ้านม่วง ท้องที่ตำบลหนองอ้อ (เฉพาะพื้นที่หมู่ 15-21) และท้องที่ตำบลนครชุมน์ (เฉพาะพื้นที่หมู่ 1-13) ให้ไปขึ้นกับอำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี[11]
  • วันที่ 30 มีนาคม 2486 เปลี่ยนแปลงชื่อเทศบาลเมืองบ้านโป่ง อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี เป็น เทศบาลเมืองบ้านโป่ง อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดกาญจนบุรี[12]
  • วันที่ 5 พฤษภาคม 2489 เปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดกาญจนบุรีกับจังหวัดราชบุรี โดยโอนพื้นที่อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดกาญจบุรี มาขึ้นกับจังหวัดราชบุรี และโอนพื้นที่ตำบลเขาขลุง กับตำบลกรับใหญ่ ของอำเภอท่ามะกา มาขึ้นกับอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี[13]
  • วันที่ 3 ธันวาคม 2489 โอนพื้นที่ตำบลบ้านม่วง ตำบลนครชุมน์ ของอำเภอโพธาราม มาขึ้นกับอำเภอบ้านโป่ง และโอนพื้นที่หมู่ 1-6 (ในขณะนั้น) ของตำบลดอนกระเบื้อง ของอำเภอโพธาราม มาขึ้นกับตำบลหนองอ้อ อำเภอบ้านโป่ง[14]
  • วันที่ 21 มิถุนายน 2492 ตั้งตำบลดอนกระเบื้อง แยกออกจากตำบลหนองอ้อ[15]
  • วันที่ 3 พฤษภาคม 2498 เปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองบ้านโป่ง ตามความจำเป็นแห่งการบริหารงานของสุขาภิบาล[16] ให้ครอบคลุมท้องที่ตำบลบ้านโป่งทั้งตำบล ท้องที่หมู่ 1-2,4,9-12 ตำบลปากแรต และท้องที่หมู่ 3-4 ตำบลสวนกล้วย
  • วันที่ 13 กันยายน 2498 โอนพื้นที่หมู่ 1,10 (ในขณะนั้น) เฉพาะส่วนที่ถูกตัดเข้าไปในเขตเทศบาลเมืองบ้านโป่ง ของตำบลปากแรต ไปขึ้นกับตำบลบ้านโป่ง มีอาณาเขตตรงตามหลักเขตเทศบาล และโอนพื้นที่หมู่ 12-13 (ในขณะนั้น) ของตำบลปากแรต ไปตั้งเป็นหมู่ 10-11 ของตำบลสวนกล้วย ตามลำดับ[17]
  • วันที่ 1 มีนาคม 2501 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลหนองปลาหมอ ในท้องที่ตำบลหนองปลาหมอ[18]
  • วันที่ 31 กรกฎาคม 2505 จัดตั้งสุขาภิบาลห้วยกระบอก ในท้องที่หมู่ 9 ตำบลกรับใหญ่[19]
  • วันที่ 26 พฤศจิกายน 2506 จัดตั้งสุขาภิบาลกระจับ ในท้องที่หมู่บ้านดอนกระเบื้อง ของตำบลดอนกระเบื้อง และหมู่บ้านหัวโป่ง บ้านหนองอ้อ บ้านหนองกระจ่อย บ้านทุ่งน้อย บ้านหนองตะแคง และบ้านนาหุบ ของตำบลหนองอ้อ[20]
  • วันที่ 8 ธันวาคม 2507 จัดตั้งสุขาภิบาลท่าผา ในท้องที่บางส่วนของตำบลท่าผา[21]
  • วันที่ 2 พฤษภาคม 2515 เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลท่าผา[22] เพื่อความเหมาะสมในการบริหารกิจการและการทะนุบำรุงท้องถิ่น ให้ครอบคลุมท้องที่หมู่ 1-20 ของตำบลท่าผา และหมู่ 4 ของตำบลปากแรต
  • วันที่ 24 สิงหาคม 2516 ยุบองค์การบริหารส่วนตำบลหนองปลาหมอ เป็น สภาตำบลหนองปลาหมอ[23]
  • วันที่ 22 พฤษภาคม 2517 จัดตั้งตำบลดอนกระเบื้อง กับตำบลหนองอ้อ (เฉพาะนอกเขตสุขาภิบาลกระจับ) ตำบลเขาขลุง ตำบลหนองกบ ตำบลสวนกล้วย ตำบลนครชุมน์ ตำบลบ้านม่วง ตำบลคุ้งพยอม ตำบลเบิกไพร และตำบลลาดบัวขาว เป็นสภาตำบลเขาขลุง สภาตำบลหนองอ้อ สภาตำบลหนองกบ สภาตำบลดอนกระเบื้อง สภาตำบลสวนกล้วย สภาตำบลนครชุมน์ สภาตำบลบ้านม่วง สภาตำบลคุ้งพยอม สภาตำบลเบิกไพร และสภาตำบลลาดบัวขาว[24] ตามลำดับ
  • วันที่ 3 มีนาคม 2538 ยกฐานะจากสภาตำบลดอนกระเบื้อง (เฉพาะนอกเขตสุขาภิบาลกระจับ) สภาตำบลสวนกล้วย สภาตำบลปากแรต สภาตำบลเบิกไพร และสภาตำบลเขาขลุง เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลดอนกระเบื้อง องค์การบริหารส่วนตำบลสวนกล้วย องค์การบริหารส่วนตำบลปากแรต องค์การบริหารส่วนตำบลเบิกไพร และองค์การบริหารส่วนตำบลเขาขลุง[25] ตามลำดับ
  • วันที่ 30 มกราคม 2539 ยกฐานะจากสภาตำบลบ้านม่วง เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านม่วง[26]
  • วันที่ 25 ธันวาคม 2539 ยกฐานะจากสภาตำบลคุ้งพยอม สภาตำบลลาดบัวขาว สภาตำบลหนองกบ สภาตำบลนครชุมน์ สภาตำบลกรับใหญ่ (เฉพาะนอกเขตสุขาภิบาลห้วยกระบอก) สภาตำบลหนองปลาหมอ และสภาตำบลหนองอ้อ (เฉพาะนอกเขตสุขาภิบาลกระจับ) เป็น องค์การบริหารส่วนตำบลคุ้งพยอม องค์การบริหารส่วนตำบลลาดบัวขาว องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกบ องค์การบริหารส่วนตำบลนครชุมน์ องค์การบริหารส่วนตำบลกรับใหญ่ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองปลาหมอ และองค์การบริหารส่วนตำบลหนองอ้อ[27] ตามลำดับ
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลห้วยกระบอก สุขาภิบาลกระจับ และสุขาภิบาลท่าผา เป็นเทศบาลตำบลห้วยกระบอก เทศบาลตำบลกระจับ และเทศบาลตำบลท่าผา ตามลำดับ[28] ด้วยผลของกฎหมาย
  • วันที่ 30 กันยายน 2557 จัดตั้งเทศบาลตำบลท่าผา เป็น เทศบาลเมืองท่าผา[29]

การแบ่งเขตการปกครอง

แก้

การปกครองท้องที่

แก้

อำเภอบ้านโป่งแบ่งเขตการปกครองย่อยเป็น 15 ตำบล 151 หมู่บ้าน ได้แก่

1. บ้านโป่ง (Ban Pong) 0
2. ท่าผา (Tha Pha) 20 หมู่บ้าน
3. กรับใหญ่ (Krap Yai) 10 หมู่บ้าน
4. ปากแรต (Pak Raet) 17 หมู่บ้าน
5. หนองกบ (Nong Kop) 15 หมู่บ้าน
6. หนองอ้อ (Nong O) 15 หมู่บ้าน
7. ดอนกระเบื้อง (Don Krabueang) 09 หมู่บ้าน
8. สวนกล้วย (Suan Kluai) 13 หมู่บ้าน
9. นครชุมน์ (Nakhon Chum) 12 หมู่บ้าน
10. บ้านม่วง (Ban Muang) 08 หมู่บ้าน
11. คุ้งพยอม (Khung Phayom) 14 หมู่บ้าน
12. หนองปลาหมอ (Nong Pla Mo) 16 หมู่บ้าน
13. เขาขลุง (Khao Khlung) 18 หมู่บ้าน
14. เบิกไพร (Boek Phrai) 12 หมู่บ้าน
15. ลาดบัวขาว (Lat Bua Khao) 08 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น

แก้

ท้องที่อำเภอบ้านโป่งประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 17 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลเมืองบ้านโป่ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านโป่งทั้งตำบล
  • เทศบาลเมืองท่าผา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าผาทั้งตำบลและตำบลปากแรต (บางส่วนของหมู่ที่ 4)
  • เทศบาลตำบลกระจับ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองอ้อ (บางส่วนของหมู่ที่ 3–5, 9–11, 13–15) และตำบลดอนกระเบื้อง (หมู่ที่ 4 และบางส่วนของหมู่ที่ 5, 9)
  • เทศบาลตำบลห้วยกระบอก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกรับใหญ่ (บางส่วนของหมู่ที่ 9)
  • เทศบาลตำบลกรับใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกรับใหญ่ (หมู่ที่ 1–8, 10 และบางส่วนของหมู่ที่ 9)
  • เทศบาลตำบลเบิกไพร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเบิกไพรทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลปากแรต ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปากแรต (หมู่ที่ 1–3, 5–17 และบางส่วนของหมู่ที่ 4) (นอกเขตเทศบาลเมืองท่าผา)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกบ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองกบทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองอ้อ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองอ้อ (หมู่ที่ 1–2, 6–8, 12 และบางส่วนของหมู่ที่ 3–5, 9–11, 13–15) (นอกเขตเทศบาลตำบลกระจับ)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลดอนกระเบื้อง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดอนกระเบื้อง (หมู่ที่ 1–3, 6–8 และบางส่วนของหมู่ที่ 5, 9) (นอกเขตเทศบาลตำบลกระจับ)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสวนกล้วย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสวนกล้วยทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลนครชุมน์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนครชุมน์ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านม่วง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านม่วงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลคุ้งพยอม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคุ้งพยอมทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองปลาหมอ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองปลาหมอทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขลุง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเขาขลุงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลลาดบัวขาว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลลาดบัวขาวทั้งตำบล

สถานที่สำคัญ

แก้
สถานที่ทางศาสนา
  1. วัดชมภูพล
  2. วัดดอนตูม
  3. วัดท่าผา
  4. วัดบ้านโป่ง
  5. วัดปลักแรด
  6. วัดโพธิ์รัตนาราม
  7. วัดม่วง
  8. วัดมะขาม
  9. วัดรางวาลย์
  10. วัดลาดบัวขาว
  11. วัดสระสี่มุม
  12. วัดใหญ่นครชุมน์
สถาบันการศึกษา
  1. โรงเรียนกรับใหญ่ว่องกุศลกิจพิทยาคม
  2. โรงเรียนรัตนราษฎร์บำรุง
  3. โรงเรียนสารสิทธิ์พิทยาลัย
  4. วิทยาลัยเทคนิคราชบุรี 2
  5. โรงเรียนธีรศาสตร์

ระเบียงภาพ

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง พระเสนาภักดี ข้าหลวงมหาดไทย มณฑลปราจีบุรี ถึงแก่กรรม ให้พระบวรวงษ์เธอ พระองค์เจ้าสุทัศน์นิภาธร ไปรับราชการในตำแหน่งนี้แทน และเรื่อง พระบัณสดิฐบดี นายอำเภอท่าผา ขอลาออกจากตำแหน่งนายอำเภอ ให้นายบัว เป็นนายอำเภอแทน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 17 (7): 55. วันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2443
  2. "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 19 (6): 88–89. วันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2445
  3. "ประกาศ ใช้พระราชบัญญัติสุขาภิบาล อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 33 (0 ก): 235–237. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-12-03. สืบค้นเมื่อ 2022-03-04. วันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2459
  4. "ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. ๒๔๖๔ ในตำบลเขาขลุง และตำบลกลับใหญ่ ซึ่งแยกออกจากตำบลหนองปลาหมอและตำบลท่าผา ท้องที่อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 42 (0 ก): 203–204. วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468
  5. "ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. ๒๔๖๔ ในตำบลวังเย็นและตำบลหนองดินแดง ท้องที่อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี มณฑลราชบุรี ซึ่งโอนไปขึ้นอำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม มณฑลนครชัยศรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 43 (0 ก): 199. วันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2469
  6. "ประกาศ ขยายเขตสุขาภิบาลท้องที่บ้านโป่ง จ้งหวัดราชบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 48 (9 ก): 461–463. วันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2474
  7. "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี พุทธศักราช ๒๔๗๘" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 52 (0 ก): 1785–1789. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-12-03. สืบค้นเมื่อ 2022-03-04. วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2478
  8. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัด พุทธศักราช ๒๔๗๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 54 (0 ก): 40–54. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-16. สืบค้นเมื่อ 2022-03-05. วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2480
  9. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในจังหวัดราชบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 55 (0 ง): 4308–4312. วันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2481
  10. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดราชบุรี จังหวัดกาญจนบุรี และจังหวัดนครปฐม พุทธศักราช ๒๔๘๖" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 60 (7 ก): 244–246. วันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486
  11. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดราชบุรี จังหวัดกาญจนบุรี และจังหวัดนครปฐม พุทธศักราช ๒๔๘๖" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 60 (7 ก): 244–246. วันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486
  12. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนชื่อเทศบาลเมืองบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี เป็นเทศบาลเมืองบ้านโป่ง จังหวัดกาญจนบุรี พุทธศักราช ๒๔๘๖" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 60 (18 ก): 656–658. วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2486
  13. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดราชบุรีและจังหวัดกาญจนบุรี พ.ศ. ๒๔๘๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 63 (71 ก): 556–558. วันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2489
  14. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตอำเภอในจังหวัดราชบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 63 (77 ง): 1910–1911. วันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2489
  15. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอต่าง ๆ จังหวัดราชบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 66 (33 ง): 2697–2700. วันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2492
  16. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี พ.ศ. ๒๔๙๘" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 72 (33 ก): 695–699. วันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2498
  17. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 72 (69 ง): 2209–2210. วันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2498
  18. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 75 (18 ง): (ฉบับพิเศษ) 2-6. วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2501
  19. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลห้วยกระบอก จังหวัดราชบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 79 (69 ง): 1661–1662. วันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2505
  20. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลกระจับ อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 80 (114 ง): 2626–2627. วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2506
  21. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลท่าผา อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 81 (116 ง): 2924–2925. วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2507
  22. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การเปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลท่าผา อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 89 (69 ง): 1130–1131. วันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2515
  23. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งสภาตำบลตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๒๖ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 90 (108 ง): (ฉบับพิเศษ) 1-72. วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2516
  24. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งสภาตำบลตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๒๖ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 91 (87 ง): (ฉบับพิเศษ) 1-45. วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2517
  25. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 112 (ตอนพิเศษ 6 ง): 1–63. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-04-18. สืบค้นเมื่อ 2022-03-04. วันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2538
  26. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล (จำนวน ๒๑๔๓ แห่ง)" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (9 ง): 5–219. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-25. สืบค้นเมื่อ 2022-03-04. วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2539
  27. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (ตอนพิเศษ 52 ง): 1–365. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-25. สืบค้นเมื่อ 2022-03-04. วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2539
  28. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2022-03-04 – โดยทาง ให้บรรดาสุขาภิบาลตามกฎหมายว่าด้วยสุขาภิบาลที่มีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีฐานะเป็นเทศบาลตำบลตามกฎหมายว่าด้วยเทศบาลในพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ. วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542
  29. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลตำบลท่าผา อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี เป็นเทศบาลเมืองท่าผา". ราชกิจจานุเบกษา. 131 (ตอนพิเศษ 193 ง): 16. วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2557